เปิดเสื้อให้ดูคล้ายชักอาวุธมีด ผิดหรือไม่|เปิดเสื้อให้ดูคล้ายชักอาวุธมีด ผิดหรือไม่

เปิดเสื้อให้ดูคล้ายชักอาวุธมีด ผิดหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เปิดเสื้อให้ดูคล้ายชักอาวุธมีด ผิดหรือไม่

  • Defalut Image

เดินเข้าไปในห้องพักของผู้อื่นในยามวิกาล แล้วเปิดเสื้อให้ดูพร้อมกับทำท่าคล้ายจะชักอาวุธมีด

บทความวันที่ 26 ก.ค. 2561, 17:10

มีผู้อ่านทั้งหมด 1778 ครั้ง


เปิดเสื้อให้ดูคล้ายชักอาวุธมีด ผิดหรือไม่

            เดินเข้าไปในห้องพักของผู้อื่นในยามวิกาล แล้วเปิดเสื้อให้ดูพร้อมกับทำท่าคล้ายจะชักอาวุธมีด จากนั้นหยิบเอาทรัพย์ไป การเปิดเสื้อดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญแล้วว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 7583/2560 
          แม้จำเลยจะมิได้พูดจาข่มขู่หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่เดินเข้าไปในห้องพักอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายเวลาวิกาล แล้วเปิดเสื้อให้ดูพร้อมทำท่าคล้ายกับจะชักอาวุธลักษณะเป็นมีดปลายแหลมจนทำให้ ภ. รู้สึกตกใจกลัว เกรงว่าจะถูกทำร้ายและไม่ล้าขัดขืน จากนั้นจำเลยหยิบคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คไปจึงเป็นการที่จำเลยแสดงอาการขู่เข็ญ ภ. แล้วว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายในขณะเดียวกันกับลักทรัพย์หรือใกล้ชิดกับการลักทรัพย์ หรือใกล้ชิดกับการลักทรัพย์ต่อเนื่องเป็นเหตุการณ์เดียวกัน 
         ขณะเกิดเหตุ อ. ไปที่ห้องพักของเพื่อนซึ่งอยู่ใกล้เคียงหรือเยื้องกับห้องพักที่ อ. กับ ภ. เช่าอยู่ แม้ อ. ไม่ได้ส่งมอบการครอบครองหรือฝากคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คไว้กับ ภ. จึงเป็นกรณีที่ อ. ให้ ภ. ช่วยดูแลคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คชั่วคราวเฉพาะเหตุหรือชั่วระยะเวลาที่ อ. ไปห้องพักของเพื่อน ถือว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คยังอยู่ในความครอบครองของ อ. เมื่อจำเลยชิงทรัพย์ดังกล่าวไป อ. เป็นผู้เสียหาย มิใช่ ภ. เป็นผู้เสียหายตามฟ้อง 

ตัวบทกฎหมายที่อ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
 มาตรา 339

 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
           ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท
          ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา 335 หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท
          ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
          ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท
         ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

ที่มา บทบรรณาธิการ รวมคำบรรยาย เนติภาค 1 สมัยที่ 71  เล่มที่ 8 
ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700, 081-6161425

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก