ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย|ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย

  • Defalut Image

  1. สอบสวนนอกเขตอำนาจฎีกาที่ 518/2506

บทความวันที่ 26 มี.ค. 2561, 14:57

มีผู้อ่านทั้งหมด 1244 ครั้ง


ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฏหมาย

            1. สอบสวนนอกเขตอำนาจฎีกาที่ 518/2506
            2. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไม่เป็นไปตามมาตรา 18 วรรคสาม มาตรา 19 วรรคสองฎีกาที่ 1974/2539
            3. สอบสวนความผิดต่อส่วนตัวโดยผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ฎีกาที่ 7409/2553
            4. การสอบสวนบางส่วนที่ทำโดยพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวนถือว่าการสอบสวนทั้งคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายฎีกาที่ 371/2531
            มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายเรื่องการสอบสวนสอบถามได้ที่ 081-6252161 ,02-9485700

คำพิพากษาฎีกาอ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2506

           จำเลยมีที่อยู่ ถูกจับ และเหตุเกิดในเขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนอำเภอหนึ่งหากพนักงานสอบสวนอำเภออื่นเป็นผู้สอบสวน จำเลยจะคัดค้านอำนาจสอบสวนหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนนั้นกลับเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายได้เท่ากับไม่มีการสอบสวนพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539
            ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบางบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคหนึ่ง(3)(4)และวรรคสองฉะนั้นพันตำรวจโทว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ก)การที่พันตำรวจโทว. ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้วพันตำรวจโทว. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้นแต่พันตำรวจโทว. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ข)ได้เมื่อพันตำรวจโทว. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา140และ141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2553
           โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานยึดแผ่นวีซีดี และ ซีดีคาราโอเกะ เพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสอง 430 แผ่น และที่ไม่ปรากฏเจ้าของลิขสิทธิ์อีก 21 แผ่น เป็นของกลาง ตามคำฟ้องแสดงว่าของกลาง 21 แผ่น ดังกล่าวยังไม่มีผู้เสียหายไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับของกลาง 21 แผ่น นี้ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในส่วนนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีอาญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120 และ 121 วรรคสอง จึงฟังไม่ได้ว่าของกลางทั้ง 21 แผ่น เป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ให้คืนของกลาง 21 แผ่น แก่เจ้าของ
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2531
            การสอบสวนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ประกอบด้วยมาตรา 18 เมื่อเหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ ม. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน เมื่อไม่มีเหตุอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสองที่จะทำให้ ม. มีอำนาจสอบสวนได้ ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 128 บัญญัติไว้การสอบสวนพยานผู้กล่าวหาของ ม. จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ จ.พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้จะสอบสวนจำเลย ทำแผนที่เกิดเหตุ ตรวจสถานที่เกิดเหตุและทำบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุ ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่าจ. เห็นว่าการสอบสวนเฉพาะส่วนของตนเป็นการสอบสวนเสร็จแล้วตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 การสอบสวนของ จ. เป็นการสอบสวนเพียงบางส่วนของคดี เมื่อการสอบสวนทั้งคดีรวมการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้ด้วย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 และไม่เป็นการสอบสวนตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย ข้อที่ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย.
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก