คู่มือพนักงานติดตามหนี้|คู่มือพนักงานติดตามหนี้

คู่มือพนักงานติดตามหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คู่มือพนักงานติดตามหนี้

ปรัชญาและจรรยาบรรณในการติดตามหนี้

บทความวันที่ 13 ส.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2374 ครั้ง


คู่มือพนักงานติดตามหนี้
ปรัชญาและจรรยาบรรณในการติดตามหนี้

      ปรัชญาของพนักงานติดตามหนี้  ก่อนอื่นพนักงานติดตามหนี้จะต้องเข้าใจก่อนว่า จะต้องเข้าใจความหมายของคำว่าหนี้ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระให้กับเจ้าหนี้ตามกฎหมาย การติดตามหนี้ พนักงานติดตามหนี้จะต้องมีปรัชญาและจรรยาบรรณในการทำงานและทำงานอยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรม  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ได้บัญญัติไว้ว่า “ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคน  ต้องกระทำโดยสุจริต”  พนักงานติดตามหนี้จะต้องเข้าใจว่าการติดตามหนี้จะต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดในการเร่งรัดให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ด้วยวิธีการที่สุจริต ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือสร้างความรำคาญ หรือสร้างความไม่สบายใจให้กับลูกหนี้  หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมายและอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา
      ภาพลักษณ์ขององค์กรจะเสียไปด้วย ถ้าพนักงานติดตามหนี้ทวงหนี้โดยไม่มีจรรยาบรรณและใช้วิธีการที่รุนแรง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์
      ปัจจุบันรัฐบาลกำลังออกกฎหมายฉบับใหม่ที่เรียกว่า กฎหมายว่าด้วยการทวงหนี้ที่เป็นธรรม ซึ่งจะกำหนดกติกามารยาทที่ค่อนข้างจะรัดกุม ดังนั้นพนักงานติดตามหนี้ของเจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม หากยังไม่มีการทวงหนี้ที่มีระเบียบแบบแผน อาจจะมีปัญหาทางด้านกฎหมายได้ในอนาคต
      ดังนั้นปรัชญาในการทำงานของพนักงานติดตามหนี้ จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งพนักงานติดตามหนี้ทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติในการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต  เนื่องจากปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการติดตามหนี้เป็นจำนวนมาก

                                                                                            อ.เดชา  กิตติวิทยานันท์ 
                                                                                                   วิทยากรฝึกอบรม

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ก็ถูกค่ะ

โดยคุณ สาวบ้านนา (สมาชิก) 7 ม.ค. 2555, 20:45

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก