กรรมตามทันตำรวจกองปราบเรียกรับสินบนผู้ต้องหา|กรรมตามทันตำรวจกองปราบเรียกรับสินบนผู้ต้องหา

กรรมตามทันตำรวจกองปราบเรียกรับสินบนผู้ต้องหา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรรมตามทันตำรวจกองปราบเรียกรับสินบนผู้ต้องหา

กรณีตำรวจกองปราบอ้างว่าเข้าไปล่อซื้อยาเสพติดจากดาราสาว เอม เจษยา

บทความวันที่ 11 ก.พ. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1680 ครั้ง


กรรมตามทันตำรวจกองปราบเรียกรับสินบนผู้ต้องหา


           กรณีตำรวจกองปราบอ้างว่าเข้าไปล่อซื้อยาเสพติดจากดาราสาว เอม เจษยา และอ้างว่าพบยาเสพติดที่ดาราสาว การล่อซื้อในทางปฏิบัติทำดังนี้
          1. ต้องมีสายลับหรือจับผู้ค้ายาหรือผู้เสพและบังคับให้ติดต่อทางโทรศัพท์กับผู้ต้องหาเป็นอันดับแรก
          2. หลังจากนั้นนัดหมายส่งมอบยาเสพติดและชำระราคา
          3. ผู้ค้ายาที่ถูกล่อซื้อจะต้องเตรียมยาเสพติดไว้ให้สอดคล้องกับธนบัตรที่ล่อซื้อ
          4. ธนบัตรที่ล่อซื้อ ถ้ามีเวลาเพียงพอและเพื่อความโปร่งใส ก็ควรจะนำธนบัตรไปลงประจำวันไว้ล่วงหน้า
          5. การล่อซื้อ ขณะเข้าจับกุมต้องเป็นการจับกุมคาหนังคาเขา หมายถึง จับคนค้ายาเสพติดได้พร้อมของกลางและธนบัตรล่อซื้อ จึงจะเรียกว่าการล่อซื้อยาเสพติด
           6. การล่อซื้อยาเสพติดเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานตามความจำเป็นเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดผู้ต้องหา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(10) ซึ่งตำรวจสามารถกระทำได้
           ในอดีตที่ผ่านมา มีผู้ต้องหาคดียาเสพติด ร้องเรียนมาที่ทนายคลายทุกข์จำนวนมากว่า ตำรวจบางนายเข้าไปล่อซื้อยาเสพติดและมีการรับสินบนจากผู้ค้ายาเสพติด คล้ายๆ กับกรณีที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ แต่ผู้ค้ายาไม่เอาเรื่องเพราะมีการลดจำนวนยาให้ win win ทั้งสองฝ่าย หมายถึง สมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คดีนี้เจอผู้ต้องหาไม่ยินยอมเลยซวย เรียกว่ากรรมตามสนอง ทำชั่วไม่ต้องรอชาติหน้า ได้เห็นแน่ชาตินี้เหมือนคดีนี้ โทษของตำรวจเหล่านี้ถือว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และมีความผิดทางอาญา ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และมีการเรียกรับสินบนและปล่อยตัวผู้กระทำความผิดไป มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 149 (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1138/2505) (ตำรวจเริ่มต้นใช้อำนาจโดยชอบ มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 หากเริ่มต้นโดยไม่ชอบ กล่าวคือ ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิด แต่ไปแกล้งจับเขา เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 599/2505))

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 148 
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

มาตรา 149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 
ในประมวลกฎหมายนี้
            (10) “การสืบสวน” หมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก