สัญญาเช่าซื้อต้องมีคำเตือนผู้ค้ำประกัน|สัญญาเช่าซื้อต้องมีคำเตือนผู้ค้ำประกัน

สัญญาเช่าซื้อต้องมีคำเตือนผู้ค้ำประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัญญาเช่าซื้อต้องมีคำเตือนผู้ค้ำประกัน

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

บทความวันที่ 7 ก.พ. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 6754 ครั้ง


สัญญาเช่าซื้อต้องมีคำเตือนผู้ค้ำประกัน

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ได้ยกเลิกประกาศเรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 และประกาศให้ใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2555 แทน มีผลใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556  ซึ่งรายละเอียดของสัญญานั้นจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติมจากประกาศเดิม เช่น กรณีผิดนัดชำระติดต่อกัน 3 งวด ให้สถาบันการเงินแจ้งล่วงหน้า 30 วัน หากยังไม่ชำระสามารถยึดรถ  ส่วนการประมูลขายทอดตลาดนั้นสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันภายใน 7 วันเช่นเดียวกับผู้ซื้อ  ขณะเดียวกันต้องแจ้งวัน เวลา สถานที่ รวมทั้งรายละเอียดเงินส่วนเกินหรือหนี้สินส่วนขาดภายหลังจากประมูลแล้ว 15 วัน  ถ้าหากผู้เช่าซื้อปิดงวดบัญชีก่อนครบสัญญา ให้ผู้เช่าซื้อรับเงินดอกเบี้ยในอนาคตคืนจากสถาบันการเงิน 50% เช่นเดียวกับกรณีรถสูญหายหรือถูกขโมยซึ่งถือเป็นการยกเลิกสัญญา

โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ที่ใช้ควบคุมสัญญาธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีลักษณะไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับรายละเอียดที่เกี่ยวกับราคาที่เช่าซื้อ อัตราดอกเบี้ย การผ่อนชาระ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การคิดคำนวณเงิน ค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระ การแจ้งชื่อผู้ทำการขายรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ให้เช่าซื้อแก่บุคคลอื่น วัน เวลา สถานที่ที่ทำการขาย ราคาที่ขายได้ มูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ และรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขาย รวมทั้งกรณีผู้ให้เช่าซื้อมีความประสงค์จะนำเงินค่างวดของผู้เช่าซื้อมาหักชำระค่าเบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม ค่าติดตามรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อ ค่าทนายความ และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วย กับการที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ หรือการกลับเข้าครอบครองรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อของผู้ให้เช่าซื้อ เนื่องจากมีการบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือแก่ผู้เช่าซื้อ การให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อที่ใช้สิทธิซื้อ ตามมูลหนี้ที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ก่อนที่ผู้ให้เช่าซื้อนำออกขายให้แก่บุคคลอื่นหรือผู้เช่าซื้อ มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย การกำหนดให้มีข้อความเป็นภาษาไทยหัวเรื่องว่า คำเตือนสาหรับผู้ค้ำประกันและสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อของผู้ให้เช่าซื้อ ให้สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อกำหนดไม่ให้ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายกำหนดให้ผู้เช่าซื้อรับการโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อหรือรับภาระผูกพันใดๆ เพิ่มเติมจากสัญญาเช่าซื้อ โดยผู้เช่าซื้อมิได้ยินยอมเป็นหนังสือ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้เสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควรและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคยิ่งขึ้น

ประกาศฉบับใหม่ของสคบ. สัญญาค้ำประกันต้องมีคำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกัน จะมีความรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อในสาระสำคัญ ดังนี้

1. ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อจะระงับสิ้นไป

2 ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อภายในวงเงินที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระกับผู้ให้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ และอาจต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยหรือค่าสินไหมทดแทนอื่นๆ อีกด้วย

3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับผู้เช่าซื้อ

4. เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องและบังคับให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ทั้งหมดที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระ โดยผู้ให้เช่าซื้อไม่จำต้องเรียกร้องหรือบังคับเอาจากผู้เช่าซื้อก่อน

5. ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิดแม้ผู้ให้เช่าซื้อยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้เช่าซื้อ

นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ผู้ค้ำประกันยังมีหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน

            ในฐานะที่ผมเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้กับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งสถาบันการเงิน มีความเห็นว่าประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา พ.ศ.2555 มีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยขอนำเสนอเป็นรายประเด็นดังนี้

1.      ทำให้ผู้ให้เช่าซื้อไม่สามารถเอาเปรียบผู้บริโภคได้ ที่เห็นได้ชัดเจนคือการนำเงินค่าปรับค่างวดไปชำระ

ค่าปรับหรือดอกเบี้ยก่อน ไม่สามารถทำได้แล้ว ถึงแม้ ป.พ.พ. มาตรา 329 จะให้ทำได้ แต่เมื่อประกาศดังกล่าวห้ามไว้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงต้องปฏิบัติตามประกาศ กล่าวคือ ถ้าจะนำเงินค่างวดไปหักค่าปรับต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อทราบก่อน

2.      หลังจากยึดรถก่อนขาย ประกาศเดิมแจ้งแค่ผู้เช่าซื้อให้ทราบว่าถ้าประสงค์

จะซื้อให้ติดต่อมาภายใน 7 วันเพื่อซื้อ แต่ประกาศใหม่ต้องแจ้งทั้งผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันด้วย เพราะมีหลายคดีที่ผู้ค้ำประกันไม่รู้เรื่องอะไรเลย ทั้งที่ไฟแนนซ์ยึดรถไปตั้งนานแล้ว วันดีคืนดีมีหมายศาลมาติดที่บ้าน จึงรู้ว่าผู้เช่าซื้อไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อ และรถถูกยึดไปแล้ว ถึงตอนนั้นแล้วก็สายเกินแก้ ไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว รถก็ขายไปแล้ว แทนที่จะไปเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อเอารถมาใช้ต่อ หรือขายเพื่อบรรเทาความเสียหายก็ไม่ทันแล้ว จะต้องเสียประวัติ ถูกฟ้องร้องในชั้นศาล ไม่สามารถกู้เงินได้ หรือขอสินเชื่อได้อีกต่อไป

3.      ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเสียหาย ค่าทวงหนี้ ค่าติดตาม ค่ายึดรถ

ประกาศฉบับนี้เพิ่มคำว่า “ประหยัด” เข้าไป ถึงแม้จะจ่ายจริง ผู้ให้เช่าซื้อหรือไฟแนนซ์ต้องจ่ายอย่างประหยัด จะจ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ได้ เช่น การว่าจ้างบุคคลภายนอกมายึดรถ ค่าจ้างยึดรถก็ต้องไม่สูงกว่าสถาบันการเงินอื่น เป็นต้น ข้อนี้ก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้บริโภค

            ท่านใดที่เป็นผู้ให้เช่าซื้อหรือท่านใดที่เป็นผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกัน ถ้ายังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สอบถามมาได้ที่คอลัมน์นี้  ยินดีให้คำแนะนำทุกเรื่องครับ

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 9

 ผมเป็นผู้ค้ำประกันรถจักรยานยนต์ ต่อมาลูกหนี้ธนาคารกรุงฯ ยึดรถจากลูกหนี้เนื่องจากผิดนัดชำระจำนวน 3 งวด ลูกยินยอมคืนรถให้ธนาคารฯ ขายทอดตลาดแล้วยังมีส่วนต่างที่ต้องชำระอีก 28,835.41 บาท (ขายทอดตลาดได้ 23,000 บาท) ผมในฐานะผู้ค้ำประกันได้รับแจ้งผลขายรถฯ โดยที่ผมไม่เคยได้รับทราบขั้นตอนปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นลายลักษรมาก่อนเลยครับ/เคยได้รับแต่การผิดนัดชำระค่างวดรถครับ///กระผมต้องทำอย่างไรดีครับ///กฎหมายใหม่ใช้ได้ป่าวครับ

โดยคุณ อิทธิชัย 13 ก.ค. 2559, 13:34

ความคิดเห็นที่ 8

 ผมได้ค้ำประกันรถจักรยานยนต์ให้กับลูกชายของเพื่อน เมื่อปี 54 หลังจากนั้นก็ไม่ได้สนใจเพราะคิดว่าคงไม่มีอะไร จนมาเมื่อ 18/มค/59 ได้รับจดหมายจาก บ.ฐิติกร แจ้งว่าผู้เช่าและผู้ค้ำผิดสัญญาเช่าซื้อ คั้งแต่งวดที่ 2-36 เป็นจำนวนเงิน ห้าหมื่นกว่าบาท ผมไม่เคยมีหนังสือจากเต้าหนี้แจ้งให้ทราบเลยระหว่าง ผู้เช่าซื้อผิดรัดชำระ ตอนนี้ บ.ฐิติกร ยังไม่ฟ้องมาครับ

โดยคุณ จสอ.ชอบ 16 ก.พ. 2559, 08:26

ความคิดเห็นที่ 7

 ผ่อนรถกับธนาคารแห่งหนึ่งมา5ปีเข้าปีที่หกรถป้ายแดงนะค่ะสัญญาเช่าซื้อ72เดือนผ่อนเดือนละ8600เมื่อเดือนสค58ทางธนาคารให้ปรับปรุงโครงสร้างหนีใหม่โดยเสนอให้ผ่อนน้อยลงเหลือเดือนละ3838ก้อตกลงทำสัญญา48งวดและเริ่มผ่อนชำระค่างวดมา6งวดแล้วค่าปรับเบี้ยล่าช้าก้อจ่ายพร้อมค่างวดทุกงวดพอมางวดที่7มีพนักงานโทรมาบอกว่าต้องเสียค่าธรรมเนียม535ที่ผ่อนช้าเลยมาสามวันแล้วในสัญญาไม่มีระบุอย่างนี้มีด้วยหรอค่ะ

โดยคุณ ชนธิชา 11 ก.พ. 2559, 12:18

ความคิดเห็นที่ 6

 ผ่อนรถกับธนาคารแห่งหนึ่งมา5ปีเข้าปีที่หกรถป้ายแดงนะค่ะสัญญาเช่าซื้อ72เดือนผ่อนเดือนละ8600เมื่อเดือนสค58ทางธนาคารให้ปรับปรุงโครงสร้างหนีใหม่โดยเสนอให้ผ่อนน้อยลงเหลือเดือนละ3838ก้อตกลงทำสัญญา48งวดและเริ่มผ่อนชำระค่างวดมา6งวดแล้วค่าปรับเบี้ยล่าช้าก้อจ่ายพร้อมค่างวดทุกงวดพอมางวดที่7มีพนักงานโทรมาบอกว่าต้องเสียค่าธรรมเนียม535ที่ผ่อนช้าเลยมาสามวันแล้วในสัญญาไม่มีระบุอย่างนี้มีด้วยหรอค่ะ

โดยคุณ ชนธิชา 11 ก.พ. 2559, 12:17

ความคิดเห็นที่ 5

 เราจะตามคนกู้ที่หนีไปยังไง หรือต้องใช้แทนฟรี ตำรวจก็รับแค่ลงบันทึกไม่ตามให้ เครียดมากๆ

โดยคุณ เป็ด 8 ม.ค. 2557, 19:24

ความคิดเห็นที่ 4

ผมมีเรื่องที่หนักใจมากมาถามท่านผู้รู้ครับ ใครรู้ช่วยตอบกลับ้วยนะครับ

......เรื่องมีอยู่ว่า...เพื่อนผมไปซื้อรถตู้เข้าไฟแนท์ เพื่อนผมผ่อนส่งได้ประมาณ 1 ปี กว่า ในสัญญาต้องผ่อนส่ง 48 งวด ในช่วงระหว่างผ่อนส่งรถนี้เพื่อนผมถูกจับข้อหามียาเสพติดครอบครอง ยาบ้า แล้วรถก็ถูก ปปส.ภาค 5 ยึดไป กรุงเทพ ฯ ถามผู้รู้ว่า ผู้ค้ำประกันรถจะทำอย่างไงดี มีความผิดอย่างไร แล้วผมต้องดำเนินอย่างไรบ้าง ชอบตอบทีครับ กลุ้มใจมากครับเพราะยังค้างอยู่ 3 แสนกว่าบาทน่่ะ

โดยคุณ อาโก 25 พ.ย. 2556, 14:34

ความคิดเห็นที่ 3

ขอบคุณครับ  ต่อไปคงใช้ กฏหมายใหม่ใช่ใหมครับ

โดยคุณ ชวนินทร์ 5 พ.ย. 2556, 15:11

ความคิดเห็นที่ 2

 ขอบคุณค่ะ 

     ตั้งแต่  1 ม.ค 56 เป็นต้นไปเราต้องใช้สัญญาเช่าซื้อแบบใหม่เท่านั้น หรืออนุโลมให้ใช้สัญญาเช่าซื้อแบบเดิมไปก่อนได้ค่ะ เพราะบางคนไม่ทราบประกาศแบบใหม่คงใช้แบบเดิมกัน จะมีผลต่อสัญญาเช่าซื้อและคนค้ำประกันหรือเปล่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ mam 27 เม.ย. 2556, 11:21

ความคิดเห็นที่ 1

ขอขอบคุณครับผม

โดยคุณ narin tungcharoen (สมาชิก) 9 ก.พ. 2556, 06:58

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก