ถือเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหรือไม่|ถือเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหรือไม่

ถือเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถือเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหรือไม่

คนที่ขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในขณะนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าหรือไม่อย่างไร

บทความวันที่ 25 ม.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3197 ครั้ง


ถือเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหรือไม่


            คนที่ขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในขณะนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าหรือไม่อย่างไร เพราะในขณะจับกุมมีแค่การกล่าวหาที่อ้างว่าสินค้าที่พบเป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ใดๆ ว่าเป็นจริงตามที่กล่าวหาหรือไม่ ในขณะนั้นตำรวจจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ที่ขายสินค้าอยู่ได้กระทำความผิด


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์

            1. เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดซึ่งหน้าอันเป็นความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ โดยการที่ผู้ต้องหาขาย มีไว้เพื่อขายหรือเสนอขายสินค้าอันเป็นงานที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว ก็ย่อมเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 80 วรรคหนึ่ง จึงเข้าข้อยกเว้นที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับผู้นั้นได้โดยไม่จำต้องมีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78(1)
           2. ส่วนการพิสูจน์ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นงานซึ่งละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจวินิจฉัยพิจารณาพิพากษาชี้ขาดของศาลซึ่งเป็นองค์กรตุลาการต่อไป
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ท่านทนายก็ยังไม่ยอมฟันธงว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือไม่  เพราะที่ถามคือเวลานั้นผู้มีอำนาจจับก็ยังไม่สามารถรู้ได้ว่าสินค้านั้นถูกทำมาโดยละเมิดจริง มีเพียงคำกล่าวหาของฝ่ายผู้เสียหายยืนยัน  ความผิดลักษณะนี้ไม่เหมือนกับความผิด วิ่งราว  ทำร้ายร่างกาย เล่นการพนัน ซึ่งเป็นความผิดที่ชัดเจนในตัวอยู่แล้ว  ต่างจากสินค้าที่ทำโดยละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า 

โดยคุณ ไพโรจน์ สุวรรณชาติ 10 มี.ค. 2556, 22:55

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก