ตัวอย่างคำพิพากษาคดีละเมิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย|ตัวอย่างคำพิพากษาคดีละเมิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

ตัวอย่างคำพิพากษาคดีละเมิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวอย่างคำพิพากษาคดีละเมิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

ตัวอย่างคำพิพากษาคดีละเมิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

บทความวันที่ 4 พ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7065 ครั้ง


ตัวอย่างคำพิพากษาคดีละเมิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย


1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2540
           ตามสัญญาให้บริการเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จะต้องให้บริการเป็นผู้ประสานงานส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่ระบุไว้เพื่อขอความช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และเมื่อปรากฏว่าเครื่องส่งสัญญาณเอส.โอ.เอส. ที่จำเลยที่ 2 ติดตั้งไว้ที่เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท. ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ข้อมูลของจำเลยที่ 2 เนื่องจากถูกคนร้ายงัดทำลายเข้าไปในเครื่องบริการเงินด่วนแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2ละเลยไม่แจ้งเหตุร้ายต่อไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อขอความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาต่อธนาคาร ท. ผู้ซื้อบริการ แต่การที่จำเลยที่ 2 ละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อธนาคาร ท. คู่สัญญาเพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยวินาศภัยในความเสียหายของเงินสดในเครื่องบริการเงินด่วน ของธนาคาร ท. ที่ถูกคนร้ายลักไป ได้ใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาว่าหากจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ท. สัญญาให้บริการเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคาร ท. เพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัญญา ที่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคาร ท.ในกรณีที่ทรัพย์สินของธนาคารถูกโจรกรรม ธนาคาร ท.คงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 3 ที่กำหนดให้ธนาคาร ท. ได้รับการประกันตามขอบข่ายของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ค.ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุว่า ธนาคาร ท.ผู้ใช้บริการเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้น ธนาคาร ท.จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไปได้ และโจทก์ย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคาร ท. มาฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ได้

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2538
         โดยปกติการละเว้นกระทำไม่ถือว่าเป็นการกระทำอันจะเป็นละเมิดเว้นแต่เป็นการละเว้นกระทำในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นจึงจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันจะเป็นละเมิด ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเงินพ.ศ.2528หมวด2ข้อ6กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินฉะนั้นจำเลยที่2ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินขึ้นซึ่งเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ13คือทำหลักฐานรับจ่ายเงินรับผิดชอบเงินที่รับและจ่ายรับจ่ายเงินให้ถูกต้องตามหลักฐานการรับจ่ายทำงบแสดงยอดเงินรับจ่ายและคงเหลือเสนอต่อผู้มอบเงินไปจ่ายซึ่งหากจำเลยที่2จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินขึ้นโอกาสที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นหัวหน้านายทหารการเงินและเบียดบังเอาเงินของโจทก์ที่จำเลยที่1ได้รับมอบมาเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของหน่วยงานของโจทก์ไปก็จะไม่มีหรือยากขึ้นการที่จำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อจึงเป็นผลโดยตรงให้จำเลยที่1เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปเป็นการละเว้นกระทำในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543
           มาตรฐานของความปลอดภัยในการจัดตั้งสระว่ายน้ำจะต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์ในการช่วยชีวิต จำเลยเป็นเจ้าของสระว่ายน้ำเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเก็บค่าบริการจากผู้มาใช้บริการก็ต้องยึดถือตามมาตรฐานนั้นด้วย ยิ่งก่อนหน้านี้ก็มีผู้มาใช้บริการจมน้ำในสระว่ายน้ำของจำเลยมาแล้ว จำเลยยิ่งควรต้องเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น แต่จำเลยมิได้ปรับปรุงแก้ไข ถือว่าละเว้นปฏิบัติในสิ่งซึ่งตามวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการสระว่ายน้ำควรต้องปฏิบัติ แม้จำเลยจะปิดประกาศไว้ที่สระว่ายน้ำว่าผู้มาใช้บริการสระว่ายน้ำ ผู้ปกครองของผู้มาใช้บริการสระว่ายน้ำจะต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบด้วยตนเองก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิด เมื่อจำเลยไม่ระมัดระวังทำให้ไม่มีผู้เข้าช่วยเหลือเด็กชาย ภ. ซึ่งจมน้ำได้ทันท่วงทีและถูกต้อง ทั้งไม่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่จะปฐมพยาบาล ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานานจนสมองพิการจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย
          หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว เด็กชาย ภ. มีอาการทางสมองพิการ แขนขาชักเกร็งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องให้ยาลดอาการทางสมองและหากมีอาการเกร็งก็ต้องทำกายภาพบำบัดทุกวันเด็กชาย ภ. จะต้องอยู่ในสภาพช่วยเหลือตนเองไม่ได้เช่นนั้นตลอดไปค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันต้องเสียไปเนื่องจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตเป็นคนละส่วนกับค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปก่อนแล้วและไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกัน ทั้งเมื่อเด็กชาย ภ. อยู่ในสภาพไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานโดยสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลย หาใช่ไกลเกินเหตุไม่ โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในการสูญเสียความสามารถในการประกอบการงานได้

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2532
           จำเลยเข้าเวรรักษาราชการตาม หน้าที่ และปฏิบัติอย่างที่เคยปฏิบัติมาก่อน กับได้ ใช้ ความระมัดระวังตาม วิสัยเช่น วิญญูชนทั่วไปจะพึงปฏิบัติในการดูแล ทรัพย์สินของตน แล้ว เมื่อปรากฏว่าคนร้ายได้ เล็ดลอดเข้าไปในอาคารโรงเรียน และงัดประตูเก็บเครื่องพิมพ์ดีดลักเอาเครื่องพิมพ์ดีดของโรงเรียนไปในขณะที่จำเลยทั้งสามนอนหลับ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เครื่องพิมพ์ดีดของโรงเรียนสูญหาย.

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2534
            ขณะโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมโจทก์ไปราชการต่างจังหวัด รองอธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้รักษาการแทนอธิบดีย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์และมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนโจทก์ได้เช่นเดียวกับอธิบดีตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายนพุทธศักราช 2515 ข้อ 42 วรรคสอง และข้อ 44 วรรคแรก รองอธิบดีจึงมีอำนาจลงนามในใบแต่งทนายความให้ฟ้องได้โดยมิต้องมีการมอบหมายจากอธิบดี ผู้แทนของกรมโจทก์คืออธิบดี จังหวัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกรมโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมิใช่ผู้แทนของโจทก์ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดนั้นจะถือว่าโจทก์รู้ยังไม่ได้ อธิบดีกรมโจทก์ได้รู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดเมื่อวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มีหน้าที่อยู่เวรยาม แต่ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนมสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปราชการที่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงไปราชการโดยไม่แจ้งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าเวรทราบตามระเบียบซึ่งกำหนดว่า ผู้ใดไม่สามารถอยู่เวรวันใดได้ให้แจ้งหัวหน้าทราบ จึงไม่มีการจัดเวรยามอยู่รักษาการณ์ เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์ถูกคนร้ายลักไป การที่จำเลยที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องมีตามที่กำหนดไว้โดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 จัดเวรยามแทนในเมื่อตนจะต้องไปราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาไม่อาจมาอยู่เวรยามตามกำหนด จึงเป็นเหตุโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นของโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2523
           การที่ข้าราชการละเว้นไม่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติราชการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของทางราชการนั้น อาจทำให้ข้าราชการต้องรับผิดในทางวินัยก็จริง แต่จะถือเป็นหลักแน่นอนตายตัว ว่า เมื่อข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยแล้วต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 เสมอไป หาได้ไม่การที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดต่อโจทก์นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าการที่จำเลยกระทำผิดวินัยนั้นเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้โจทก์เสียหาย
          จำเลยรับราชการเป็นครู อาจารย์ใหญ่ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นครูเวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ควบคุมคนยามมิให้ละทิ้งหน้าที่แต่ต้องมาอยู่เวรที่โรงเรียนและนอนในห้องที่โรงเรียนจัดไว้ คืนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้มาอยู่เวร คงมีแต่ภารโรงทำหน้าที่เป็นคนยาม ระหว่างอยู่ยามรักษาการณ์คนยามได้หลับยาม คนร้ายจึงได้งัดเข้าไปลักทรัพย์ในโรงงานที่ 4 และที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ห่างจากห้องที่ครูเวรนอนออกไปถึง 50 เมตร และ 250เมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้อยู่เวรจะล่วงรู้ได้ ถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ดังกล่าวขึ้นได้ เพราะไม่มีหน้าที่เป็นคนยามคอยตรวจตราเฝ้าขโมย การที่โรงเรียนถูกลักทรัพย์ จึงไม่ใช่ผลโดยตรง จากการที่จำเลยไม่มาอยู่เวร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2551
          รถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุดติดหน้ากระจกรถยนต์ตามระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดำเนินการแลกบัตรหรือให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ของผู้ขับรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออกอาคารชุด คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 4 ทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณป้อมยามของทางเข้าออกอาคารชุดเห็นแล้วว่ารถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุด มิได้เรียกให้หยุดรถเพื่อแลกบัตรหรือให้ผู้ขับรถยนต์แจ้งชื่อ ที่อยู่ตามระเบียบ กลับปล่อยให้รถยนต์ของโจทก์แล่นผ่านออกไปอันเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องของจำเลยที่ 4 เป็นการประมาทเลินเล่อกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก