การแสดงเจตนาซ่อนเร้น|การแสดงเจตนาซ่อนเร้น

การแสดงเจตนาซ่อนเร้น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การแสดงเจตนาซ่อนเร้น

การแสดงเจตนาใด แม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมา

บทความวันที่ 29 ต.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11127 ครั้ง


การแสดงเจตนาซ่อนเร้น

          การแสดงเจตนาใด แม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมา การแสดงเจตนานั้นไม่เป็นโมฆะ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7602/2553
          จำเลยทำบันทึกข้อตกลงระบุข้อความว่า "จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามเช็คที่ฟ้องจำนวน 431,103 บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนี้จำนวน 1,565,486 บาท ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ และจำเลยจะผ่อนชำระแก่โจทก์" โดยบันทึกดังกล่าวมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนบริษัท ซ. ย่อมแสดงให้เห็นถึงการที่จำเลยทำบันทึกข้อตกลงเป็นส่วนตัวยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำนวน 1,565,486 บาท อีกคนหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งคือโจทก์จะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของจำเลยว่าจะชำระหนี้เพียงบางส่วน หนี้ส่วนที่เหลือจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาให้มีผลผูกพันบริษัท ซ. อันจะเป็นเหตุให้การแสดงเจตนาตกเป็นโมฆะตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 154 จำเลยจึงต้องผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลง จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยหรือบริษัท ซ. คนใดคนหนึ่งได้ การที่โจทก์ไม่เลือกใช้สิทธิบังคับเอาแก่บริษัท ซ. จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
         โจทก์ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต ปรากฏว่าไม่พบทรัพย์สินของจำเลยแต่อย่างใด และจำเลยเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 อีก 3 คดี กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยเสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) (8) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2543
         โจทก์กลัวว่าจำเลยจะไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารจึงให้จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ยึดถือไว้โดยไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินกันจริง สัญญากู้ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินแก่โจทก์
          เมื่อจำเลยอ้างถึงสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาสัญญาจำนอง สำเนาสัญญาค้ำประกัน และสำเนาสัญญากู้เงินถามค้านพยานโจทก์ โจทก์ก็มิได้คัดค้านสำเนาเอกสารนั้น ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536
          ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ความว่า ในการอันใดถ้าประโยชน์ทางได้เสียของนิติบุคคลฝ่ายหนึ่งกับของตัวผู้จัดการอีกฝ่ายหนึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่กันในการอันนั้น ผู้จัดการเป็นอันไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนได้ การที่ ส.ผู้จัดการโจทก์สาขาลอง กับ ป. ต้องการขายลดเช็คให้โจทก์เอง โดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คนั้นส.ผู้จัดการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ตามมาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) และความรู้ของ ส. ผู้จัดการโจทก์ดังกล่าวจะถือเป็นความรู้ของโจทก์ด้วยไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกับ ส. ผู้จัดการโจทก์และ ป. ขายลดเช็คให้โจทก์ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาต่อโจทก์ด้วย อายุความฟ้องร้องตามสัญญาขายลดเช็ค ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก