การอ้างวิกลจริตเพื่อไม่ต้องรับโทษ|การอ้างวิกลจริตเพื่อไม่ต้องรับโทษ

การอ้างวิกลจริตเพื่อไม่ต้องรับโทษ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การอ้างวิกลจริตเพื่อไม่ต้องรับโทษ

ปัจจุบันมีหลายคดีที่ผู้กระทำความผิดอ้างว่า “บ้า” หรือ “วิกลจริต”

บทความวันที่ 11 ต.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 16526 ครั้ง


การอ้างวิกลจริตเพื่อไม่ต้องรับโทษ

            ปัจจุบันมีหลายคดีที่ผู้กระทำความผิดอ้างว่า “บ้า” หรือ “วิกลจริต” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เริ่มตั้งแต่คดีคุณป้าหมิ่น, ไล่ฟันทีมงานชูวิทย์ ล่าสุดเมียคลั่งไสยศาสตร์ ตัดศรีษะสามี หลายคนสอบถามมาที่โพสต์ทูเดย์ว่า วิกลจริตในขณะกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษจริงหรือ กรณีใดบ้างที่ไม่ต้องรับโทษ ทนายคลายทุกข์ขอสรุปง่าย ๆ ว่าการที่จะได้รับการยกเว้นโทษ กรณีวิกลจริตต้องเข้าองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1.กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้

2.มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน

3.ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 65  ผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น

แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

ตัวอย่างคดีวิกลจริตที่ขึ้นสู่ศาล มีอยู่หลายคดีดังต่อไปนี้

1.จำเลยปัญญาอ่อนถึงขนาดไม่อาจรู้ได้ว่าการตัดต้นไม้หวงห้ามเป็นผิดกฎหมาย กรณีจึงมิใช่จำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ถึงขั้นที่ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาตามมาตรา 59 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2544)

2.จำเลยซึ่งเป็นคนวิกลจริตกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นฐานพยายามฆ่าผู้อื่นฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2545)

3.จำเลยมีอาการป่วยทางจิตคล้ายเป็นโรคจิตเภทโดยมีอาการระแวง จึงไปรับการรักษาที่คลินิกรวม 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายจำเลยบอกแพทย์ที่รักษาว่าหายแล้ว ขอเลิกกินยา แสดงว่าอาการของจำเลยต้องดีขึ้น สามารถพูดจารู้เรื่องแล้ว ก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 เดือน จำเลยเคยนำอาวุธปืนของกลางออกไปใช้แล้วนำกลับไปคืนที่บ้าน ม. ในวันเกิดเหตุจำเลยงัดกุญแจประตูห้องนอน ม. แล้วนำอาวุธปืนของกลางออกไป โดยก่อนไปยังขอเงินภริยาจำเลยเพื่อเติมน้ำมันแล้วขับรถยนต์ออกไป หลังเกิดเหตุมีการใช้อาวุธปืนยิง ป. ผู้ตาย จำเลยยังสามารถขับรถยนต์หลบหนีกลับบ้านได้ ในชั้นสอบสวนจำเลยพูดจารู้เรื่องสามารถพูดโต้ตอบได้ จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดในขณะยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือสามารถบังคับตนเองได้บ้างตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2547)

4.จำเลยได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชกับแพทย์ทางจิตเวช และหลังจากจำเลยสืบพยานไปแล้ว ทนายจำเลยแถลงขอให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชมาวิเคราะห์ว่าจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้คดีของจำเลย และขอหมายเรียกจากศาลไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชประสงค์ที่จะขอให้นำตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรงพยาบาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยกเหตุว่าจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีขึ้นกล่าวอ้างในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดีศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยก่อน โดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์แล้วว่า ในระหว่างการสอบสวนและพิจารณาจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ เหตุที่ทนายจำเลยขอส่งตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรงพยาบาลนั้น ไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 14 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

จำเลยกับผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของจำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ทั้งไม่มีมูลเหตุใดอันเป็นเรื่องรุนแรงพอที่จะทำให้จำเลยต้องฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจำเลยมาโดยตลอด จำเลยเป็นผู้มีอาการทางประสาท โวยวายว่าจะมีผู้อื่นมาฆ่าจำเลย บิดาและมารดาของจำเลยเคยนำจำเลยไปรักษาอาการทางประสาทที่โรงพยาบาล แต่เมื่อไปถึงโรงพยาบาล จำเลยวิ่งหนีไม่ยอมเข้าไปรักษา ก่อนเกิดเหตุ 2 เดือน จำเลยมีอาการคลุ้มคลั่งกลัวคนอื่นจะมาฆ่า ในวันเกิดเหตุน้องชายของจำเลยได้ยินเสียงเอะอะโวยวายของจำเลยว่ากลัวคนจะมาฆ่า และขณะเกิดเหตุมีผู้เห็นจำเลยยืนถือไม้หน้าสามยืนอยู่ข้างเปลที่ผู้ตายนอนและมีเลือดไหลออกจากจมูกของผู้ตายพร้อมกับตะโกนว่าจำเลยฆ่าผู้ตาย และตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้ แม้ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ยังไม่เป็นการชัดแจ้งว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง แต่การที่จำเลยเกิดความหวาดกลัวว่าจะมีคนมาทำร้าย และหลังเกิดเหตุจำเลยวิ่งหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือจิตบกพร่อง แต่ก็เชื่อได้ว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2548)

5.ก่อนเกิดเหตุจำเลยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลประสาทขณะเกิดเหตุอาการป่วยเป็นโรคจิตจากพิษสุรากำเริบขึ้นอีกมีอาการประสาทหลอนหวาดระแวงกลัวคนจะทำร้าย ผู้ตายซึ่งเป็นภริยาอยู่กินกันมาด้วยความเรียบร้อยไม่เคยมีเหตุทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน จึงพาจำเลยไปรักษาที่บ้านบิดาจำเลย ขณะนั่งคุยกันอยู่ที่แคร่ไม้ข้างล่าง จำเลยใช้มีดเชือดคอและฟันทำร้ายผู้ตายมีคนพบจำเลยนั่งงุนงงอยู่ใกล้ ๆ ดังนี้ จำเลยได้กระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ ไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะโรคจิตจากพิษสุราจำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ตามมาตรา 65 วรรคแรก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2527)

ในปัจจุบันเพื่อให้ตนเองพ้นผิด ไม่ต้องรับโทษทางอาญา ยอมรับว่าตัวเองบ้า คนรุ่นใหม่ทำได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งยอมรับว่า “บ้า”

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ถ้าได้ไปโรงบาลจิตตเวศเพราะยาเสพติด มีอาการหูแหวว ประสาทหลอดจะถือว่าบ้าไหมคับ

โดยคุณ pop 6 ส.ค. 2560, 06:32

ตอบความคิดเห็นที่ 3

แนะนำให้โทรสอบถามที่กรมสุขภาพจิตครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 29 ส.ค. 2560, 14:35

ความคิดเห็นที่ 2

 ญาติมีอาการป่วยทางจิตได้รับการรักษามาแล้ว2ครั้งพอหายก็มาทำงานปกติทำงานมาเรื่อยๆก็กลับมามีอาการอีกอย่างนี้ทางบริษัทมีสิทธิเลิกจ้างมั้ยและบริษัทต้องชดเชยอะไรรึเปล่าและแรงงานป่วยทางจิตนี้ต้องำอย่างไร

โดยคุณ วันทนา หงษ์ศรึจันทร์ 18 มิ.ย. 2559, 08:43

ความคิดเห็นที่ 1

 อยากทราบว่า ลูกสาวของดิ ฉันมีอาการป่วยทางจิตโดยอาการกำเริบจากความเครียดได้เข้ารับการรักษาที่โรงบาลจิตเวช แห่ง หนึ่ง เมื่อปี 53 เป็นเวลา 4 ปี แต่ได้ทำการหยุดยาเอง แต่ตลอดระยะเวลาก็มีอาการ เครียด เงียบ แต่ยังสามารถทำงานได้เพราะว่าเปิดบริษัททำที่บ้านและให้ลูกสาวทำเองทำผิดบ้างถูกบ้างก็แก้ไขกันไป แต่มาวันหนึ่งทางหุ้นส่วนไม่พอใจเกิดตรวจสอบบัญชีขึ้นมาเกิดการฟ้องร้องกันเกิดขึ้นลูกสาวมีอาการเครียด ซึ่ม เงียบ และได้เข้ารับการรักษาแต่ทานยาตามแพทย์สั่ง แต่ตลอดระยะเวลาที่ทำเอกสารลูกสาวมิได้มีการทุจริต หรือ  ยักหยอกแต่อย่างใดแต่ทำไปโดยความไม่รอบคอบไม่รัดกุม จนก่อให้เกิดความเสียหายทางบัญชี อยากทราบว่าเราต้องทำอย่างไรคนเป็นแม่หัวใจจะแตกสลายที่เห็นลูกเป็นแบบนี้ และทางหุ้นส่วนกำลังจะดำเนินคดีทางกฏหมาย ขอคำแนะเบื้องต้น หน่อยคะ

โดยคุณ หยก 22 ก.ย. 2558, 18:52

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก