สัญญาจะซื้อจะขายจะโอนสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่|สัญญาจะซื้อจะขายจะโอนสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่

สัญญาจะซื้อจะขายจะโอนสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัญญาจะซื้อจะขายจะโอนสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่

สัญญาจะซื้อจะขายจะโอนสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่

บทความวันที่ 8 ส.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3393 ครั้ง


สัญญาจะซื้อจะขายจะโอนสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่


คำตอบ
         คำพิพากษาฎีกาที่ 2618/2549  ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์  ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และได้มีการขุดดินไปจนครบถ้วนแล้วแต่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าดินอีก 1,232,650 บาท
            ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองมีว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายแก่โจทก์หรือไม่  เห็นว่า ข้อตกลงตามหนังสือโอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ในการปฎิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่มีอยู่แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นแต่เพียงโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอยู่แก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น กรณีมิใช่เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 มาใช้บังคับได้  แต่เมื่อปรากฎว่าภายหลังจากจำเลยที่ 1 โอนสิทธิตาามสัญญาดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 แล้ว  โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำข้อตกลงกันตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน  ระบุว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2  ได้ทำสัญญาซื้อขายดินกันซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ขุดดินของโจทก์ไปครบตามสัญญาแล้ว  จำเลยที่ 2  ยังชำระค่าดินให้แก่โจทก์ไม่ครบตามสัญญา  จำเลยที่ 2 ตกลงจะชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์และโจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานดังกล่าวด้วย  จึงถือได้ว่า ข้อตกลงตามรายงานประจำวัน  เป็นสัญญาที่ทำกันขึ้นระหว่างโจทก์  ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่  เมื่อหนังสือโอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ระบุให้จำเลยที่ 2 จะได้แจ้งเรื่องการโอนสิทธิดังกล่าวไปยังโจทก์ให้ทราบเรื่องและปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกันต่อไป  สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เช่นว่านี้จึงหาได้ทำโดยขืนใจจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้เดิมไม่ ย่อมมีผลให้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้  โดยทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350  ซึ่งทำให้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน  เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 แล้ว  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก