วางมัดจำโดยผู้ขายออกใบรับเงิน แต่ข้อตกลงจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายในภายหลัง ริบเงินมัดจำได้หรือไม่|วางมัดจำโดยผู้ขายออกใบรับเงิน แต่ข้อตกลงจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายในภายหลัง ริบเงินมัดจำได้หรือไม่

วางมัดจำโดยผู้ขายออกใบรับเงิน แต่ข้อตกลงจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายในภายหลัง ริบเงินมัดจำได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

วางมัดจำโดยผู้ขายออกใบรับเงิน แต่ข้อตกลงจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายในภายหลัง ริบเงินมัดจำได้หรือไม่

วางมัดจำโดยผู้ขายออกใบรับเงิน แต่ข้อตกลงจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายในภายหลัง ริบเงินมัดจำได้หรือไม่

บทความวันที่ 9 ก.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3048 ครั้ง


วางมัดจำโดยผู้ขายออกใบรับเงิน  แต่ข้อตกลงจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายในภายหลัง  ริบเงินมัดจำได้หรือไม่


คำถาม
             วางมัดจำโดยผู้ขายออกใบรับเงิน  แต่ข้อตกลงจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายในภายหลัง  ริบเงินมัดจำได้หรือไม่


คำตอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553

           ใบรับเงินมีข้อความว่า "จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน" เห็นได้ว่า ใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดทำขึ้นภายหลังภายใน 30 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ" ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปรากศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำจึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก