ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกคนใดตายที่เหลือจัดการมรดกได้หรือไม่|ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกคนใดตายที่เหลือจัดการมรดกได้หรือไม่

ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกคนใดตายที่เหลือจัดการมรดกได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกคนใดตายที่เหลือจัดการมรดกได้หรือไม่

ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกคนใดตายที่เหลือจัดการมรดกได้หรือไม่

บทความวันที่ 6 ก.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 15845 ครั้ง


ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกคนใดตายที่เหลือจัดการมรดกได้หรือไม่

คำถาม
           ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกคนใดตายที่เหลือจัดการมรดกได้หรือไม่

คำตอบ
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553

            แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองบัญญัติว่า "เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการได้โดยลำพับ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้" ก็มีความหมายถึงผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมาก หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อการฟ้องคดีเพื่อจัดการทรัพย์มรดกเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมารตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้ ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปเพียงสองคนโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่มีอำนาจจะจัดการได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2514
             ข้อความในวรรคสอง (ของมาตรา 1715) นั้น  สืบเนื่องมาจากข้อความในวรรคหนึ่ง คำว่า" ถ้ามีผู้จัดการหลายคน" ในวรรคสองนั้น หมายถึงผู้จัดการซึ่งตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น  ไม่เกี่ยวถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรมทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมระบุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกของตนนั้นก็เนื่องจากเจ้ามรดกไว้วางใจบุคคลนั้น  แม้จะตั้งผู้จัดการมรดกไว้หลายคนก็ดี  เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว  ทายาทจะร้องขอต่อศาลให้ตั้งแบุคคลอื่นแทนผู้ที่ตายไปนั้นย่อมทำไม่ได้ เพราะขัดกับคำสั่งของผู้ทำพินัยกรรม ฉะนั้น  เมื่อมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้น กฎหมายจึงบัญญัติให้อำนาจผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่คนเดียวดำเนินการในการจัดการมรดกได้โดยลำพัง  ไม่เหมือนกับผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งโดยไม่มีพินัยกรรม เพราะทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลตั้งผู้ใด  จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกในกรณีที่ศาลตั้งให้บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดก  ก็โดยเห็นว่าไม่เป็นการสมควรที่จะให้บุคคลเดียวเป็นผู้จัดการมรดกตามลำพัง  ดังนั้น เมื่อผู้จัดการมรดกร่วมกับโจทก์ถึงแก่ความตาย ทายาทของเจ้ามรดกอาจยื่นคำร้องขอให้ผู้อื่นเข้าเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับโจทก์ต่อไปก็ได้  โจทก์จะจัดการต่อไปตามลำพังคนเดียว  โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกตามลำพัง  ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลไม่มีอำนาจจะจัดการได้  เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ เหมือนการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม"
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

สามีตาย. ศาลแต่งตั้งให้ภรรยาและแม่สามีเป็นผู้จัดการมรดกร่วม. ต่อมาแม่สามีตาย  ภรรยาสามารถจัดการกับมรดกของสามีเลยได้หรือไม่

โดยคุณ ทิพย์ 28 ส.ค. 2558, 00:32

ความคิดเห็นที่ 1

 สามีเสีิยชีวิต ตัวเองซึ่งเป็นภรรยาตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกและแม่ผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ถ้าภรรยาผู้ตายไปมีสามีใหม่ จะมีผลอะไรบ้างกับการเป็นผู้จัดการมรดก

โดยคุณ 22 ต.ค. 2557, 11:04

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก