ยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยให้โอนแก่พี่น้อง ในภายหลังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่|ยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยให้โอนแก่พี่น้อง ในภายหลังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่

ยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยให้โอนแก่พี่น้อง ในภายหลังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยให้โอนแก่พี่น้อง ในภายหลังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่

ยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยให้โอนแก่พี่น้อง ในภายหลังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่

บทความวันที่ 6 ก.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1831 ครั้ง


ยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยให้โอนแก่พี่น้อง  ในภายหลังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่


คำถาม
          ยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยให้โอนแก่พี่น้อง  ในภายหลังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่


คำตอบ
คำพิพากษาฎีกาที่ 11228/2553 

            นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องคู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม  นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฎออกมาโดย ไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย  ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะทำนิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้  ในเรื่องของนิติกรรมอำพรางจึงต้องมีสองนิติกรรม  แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้โจทก์ตกลงทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเพียงนิติกรรมเดียว  การให้ดังกล่าวมิได้เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับจำเลยเพื่อปกปิดนิติกรรมอีกนิติกรรมหนึ่งแต่อย่างใด เพียงแต่โจทก์อ้างมีข้อตกลงเพิ่มเติมในสัญญาไว้ว่าจำเลยต้องไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินพิพาทแล้วโอนให้แก่พี่น้องทุกคนในภายหลังเท่านั้น  สัญญาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตามคำฟ้อง จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ และหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง กรณีก็เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 วรรคหนึ่ง  กรณีนี้โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทุกคนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์ตามสัญญา มิใช่มาฟ้องเพิกถอนสัญญาให้แล้ว  บังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้  ดังนี้  แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่ามีข้อตกลงให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนจริง กรณีก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนได้  เพราะจะเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่ามีข้อตกลงให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนหรือไม่  เพราะไม่มีผลทำให้คดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก