กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือยังไม่ได้ชำระราคา|กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือยังไม่ได้ชำระราคา

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือยังไม่ได้ชำระราคา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือยังไม่ได้ชำระราคา

หากขายรถยนต์ให้เพื่อนและตกลงซื้อขายกัน ยังไม่ได้มีการส่งมอบ

บทความวันที่ 27 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3414 ครั้ง


กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือยังไม่ได้ชำระราคา

คำถาม
          หากขายรถยนต์ให้เพื่อนและตกลงซื้อขายกัน  ยังไม่ได้มีการส่งมอบ  และยังไม่ได้ชำระราคา  ถามว่ากรรมสิทธิ์เป็นของใคร

คำตอบ
          ถึงแม้ยังไม่ได้ชำระราคาแต่ตกลง กรรมสิทธิ์โอนไปทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2527
          หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าว ให้แก่ผู้ซื้อพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นราคาเงิน 700,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระ และผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดิน รายนี้เสร็จแล้ว แสดงว่าโจทก์(ผู้ขาย) ยอมรับว่าจำเลย (ผู้ซื้อ) ได้ชำระเงินค่าที่ดินทั้งหมดให้โจทก์แล้ว ในวันทำสัญญา การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำ หนังสือขายที่ดินดังกล่าว โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเงิน ค่าที่ดินเพราะจำเลย ไม่มีเงิน จำเลยได้ตกลงกับ ส. เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อันแท้จริงว่าจะนำมาชำระให้ ส. ที่สำนักงานบริษัทของส. ภายใน 7 วันนั้น เป็น การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่พิพาทเป็นการต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้อง ฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ ได้รับชำระราคาที่ดิน ที่ขายพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยเป็นเงิน 700,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาดังกล่าว
           เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาทและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การซื้อขายย่อมเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อในทันที เมื่อได้ทำสัญญากันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 การชำระราคาทรัพย์สินที่ขายเป็นเพียงข้อกำหนดของ สัญญาเท่านั้น หาใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ สัญญาซื้อขายไม่ สมบูรณ์ไม่

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก