การรับสภาพหนี้มีได้เฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น|การรับสภาพหนี้มีได้เฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น

การรับสภาพหนี้มีได้เฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การรับสภาพหนี้มีได้เฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น

ถ้าลูกเป็นลูกหนี้ ให้พ่อและแม่มารับสภาพหนี้แทนได้หรือไม่

บทความวันที่ 26 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 21793 ครั้ง


การรับสภาพหนี้มีได้เฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น

คำถาม
           ถ้าลูกเป็นลูกหนี้  ให้พ่อและแม่มารับสภาพหนี้แทนได้หรือไม่

คำตอบ
          ไม่สามารถทำได้ การรับสภาพหนี้มีได้เฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น
          
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540
            ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้นแต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2547
           การรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้ให้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องกระทำก่อนที่หนี้จะขาดอายุความ จำเลยชำระหนี้ภายหลังขาดอายุความแล้วจึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แต่มีผลเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกร้องเงินที่ชำระไปคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/14 
อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1)  ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
(2)  เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
(3)  เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
(4)  เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
(5)  เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

1.การรับสภาพหนี้หากผู้กู้ลงชื่อเพียงคนเดียวหรือ2-3 คน จะถือว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทั้งหมดหรือไม่
2.จังหวัดให้นายอำเภอลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ได้หรือไม่
โดยคุณ ณัฐริกา วงค์สวัสดิ์ 20 มี.ค. 2562, 10:52

ความคิดเห็นที่ 1

เนื่องจากภรรยาของผมปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว(25 ก.พ.2553) เมื่อเดือนเมายน 2552 ได้ค้ำประกันเงินกู้ของนายวุฒิ  สุทธิศาสตร์ ซึ่งกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพชรบูรณ์ แล้วหนีหายไปไม่ชำระหนี้แก่สหกรณ์ฯ ในขณะที่ภรรยาของผมค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผม ต่อมา10 พ.ย.2552 ผมกับภรรยาจึงได้จดทะเบียนสมรสกัน หลังจากนั้น 25 ก.พ. 2553 ภรรยาผมก็เสียชีวิตลง และผมจึงได้ไปติดต่อเพื่อขอชำระหนี้ในส่วนที่ภรรยาผมเป็นหนี้อยู่กับสหกรณ์ จนหมดหนี้ในส่วนของภรรยาของผม กการชำระหนี้เป็นการผ่อนชำระเมื่อผมได้รับเงินที่ได้ตามสิทธิของภรรยาผมที่ได้จากทางราชการ ประมาณเดือน ก.ค.หรือส.ค.2553 ทางสหกรณ์แจ้งให้ผมไปรับเงินฌาปนกิจซึ่งทางสมาชิกได้รวบรวมเพื่อช่วยเหลือทายาทของสมาชิกที่เสียชีวิต ทางสหกรณ์จึงได้แจ้งให้ผมทราบว่าภรรยาของผมได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของนายวุฒิ  สุทธิศาสตร์  และให้ผมทำบันทึกรับทราบไว้เป็นหลักฐาน ต่อมาทางสหกรณ์ฯได้แจ้งผมและผู้ร่วมค้ำประกันอีก 5 คนไปทำบันทึกตกลงว่าจะยินยอมรับชำระหนี้โดยแบ่งเฉลี่ยจำนวนเท่า ๆ กัน จากยอดเงินประมารณ 1 ล้านบาท 2 แสนเศษ ก็ตกประมาณคนละ 2 แสนบาทเศษ ในขณะที่ภรรยาผมได้ก้เงินสหกรณ์ฯนั้น ระเบียบของสหกรณ์ฯให้สมาชิกทุกคนทำประกันชีวิตไว้ทุกคน เมื่อภรรยาผลเสียชีวิตลงจะได้เงิน 1 แสนบาท และเงินจำนวนดังกล่าวทางสหกรณ์ก็นำไปหักชำระหนี้ในส่วนที่ไปค้ำประกันเงินกู้ของนายวุฒิฯ คงเหลือ 1 แสน 3 หมื่นกว่าบาท ต่อมาทางสหกรณ์ได้ฟ้องร้องให้ผมชำระหนี้จำนวนดังกล่าวโดยใช้หลักฐานบันทึกยินยอมรับใช้หนี้ซึ่งผมได้ทำไว้เป็นมูลเหตุในการฟ้องร้องครั้งนี้ และก่อนหน้านั้น ประมาณเดือน พ.ย.2553 ทางสหกรณ์ได้ทำหลักฐานว่าผมได้โอนเงินเพื่อเป็นการยอมรับและผ่อนชำระให้แก่สหกรณ์จำนวน 1,700.-บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวผมไม่ได้โอนให้แก่สหกรณ์เลย

    จากกรณีเช่นนี้ตัวผมเองจะต้องรับสภาพหนี้จำนวนดังกล่าวหรือไม่ และมีหนทางในการต่อสู้คดีนี้หรือไม่อย่างไร ซึ่งศาลนัดสืบพยาน ในวันที่ 18 พ.ย. 2556 นี้ ปัจจุบันผมเป็นข้าราชการบำนาญ เข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดเนื่องสุขภาพไม่ดี เมื่อ 1 ต.ค.2555

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้อย่างแก่ท่านผู้รู้ที่เมตตา

นายสุเทพ  กึนสี โทร.0858775526 , 0906911530

โดยคุณ นายสุเทพ กึนสี 23 ต.ค. 2556, 11:51

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก