ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาหมายความว่าอย่างไร|ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาหมายความว่าอย่างไร

ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาหมายความว่าอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาหมายความว่าอย่างไร

ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

บทความวันที่ 25 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10408 ครั้ง


ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาหมายความว่าอย่างไร

คำถาม
           ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาหมายความว่าอย่างไร

คำตอบ
          การที่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้มีดังต่อไปนี้เท่านั้น
          1. การให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
          2. การไถ่จำนอง
          3. หนี้ละเมิดจะให้ถือว่าเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไม่ได้

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2525
           ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมตามที่จำเลยให้การต่อสู้นั้นศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านหรือโต้เถียงเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยจะยกเป็นข้อฎีกาอีกหาได้ไม่
             ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 7,9ให้กรรมการมัสยิดมีหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิด ในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก การฟ้องคดีก็เป็นการจัดการทรัพย์สินของมัสยิดอย่างหนึ่ง เมื่อกรรมการมัสยิดเสียงข้างมากมีมติให้ประธานกรรมการฟ้องคดีนี้ ประธานกรรมการมัสยิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนมัสยิดโจทก์ได้โดยไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก
            ศาลพิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการขอออกโฉนดที่พิพาทของโจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539
           การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดหาใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นไม่เพราะการซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำทรัพย์มาขายมิใช่เป็นการซื้อจากสถานที่ซึ่งมีร้านค้าเสนอขายแก่คนทั่วไปหรือมิใช่ซื้อจากที่ชุมชนแห่งการค้า

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547
          โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดินคืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
           ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2542

           คำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการเข้าเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) อันทำให้มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58(1) และ (3)การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ฟ้องผู้ร้องสอดก็ตาม คำสั่งให้ขับไล่ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)หาใช่เกินคำขอไม่
          การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและผู้ร้องสอดนั้นก็เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลยผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นจึงไม่ถูกต้อง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก