การซื้อขายกรรมสิทธิ์โอนหรือไม่ มีความสำคัญอย่างไร|การซื้อขายกรรมสิทธิ์โอนหรือไม่ มีความสำคัญอย่างไร

การซื้อขายกรรมสิทธิ์โอนหรือไม่ มีความสำคัญอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การซื้อขายกรรมสิทธิ์โอนหรือไม่ มีความสำคัญอย่างไร

เราไปซื้อไม้จากโรงไม้ และจ่ายเงินให้แก่เจ้าของโรงไม้พร้อมตีตราไม้ไว้เรียบร้อย

บทความวันที่ 22 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1528 ครั้ง


การซื้อขายกรรมสิทธิ์โอนหรือไม่ มีความสำคัญอย่างไร

คำถาม
           เราไปซื้อไม้จากโรงไม้  และจ่ายเงินให้แก่เจ้าของโรงไม้พร้อมตีตราไม้ไว้เรียบร้อย และให้เจ้าของโรงไม้จัดส่งในวันถัดไป  ต่อมาโรงไม้ถูกวางเพลิง เราจะสามารถไปเรียกเงินที่จ่ายค่าไม้กับเจ้าของโรงไม้ได้หรือไม่

คำตอบ
           จำเลยตกลงขายไม้ในโรงเลื่อยให้โจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้วัดไม้ตีตรากรรมสิทธิ์ ได้ไม่ครบตามสัญญาและชำระราคาแล้วนั้นต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในไม้ได้โอนเป็นของโจทก์แล้ว หากไฟไหม้ไม้นั้นเสียหายไปเพราะเหตุอันจะโทษจำเลยมิได้แล้ว การสูญหรือเสียหายก็ย่อมตกเป็นพับแก่โจทก์
           หากมีเงื่อนไขระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยยังต้องรับผิดชอบในไม้ที่ซื้อขายอยู่จนกว่าจะได้ส่งมอบแก่โจทก์ถึงที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้อันเป็นการยกเว้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 และ 460 แล้วโจทก์ก็ต้องยกข้อความในสัญญาข้อนี้ขึ้นกล่าวเป็นประเด็นในฟ้องให้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  339/2506
          จำเลยตกลงขายไม้ในโรงเลื่อยให้โจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้วัดไม้ตีตรากรรมสิทธิ์ ได้ไม่ครบตามสัญญาและชำระราคาแล้วนั้นต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในไม้ได้โอนเป็นของโจทก์แล้ว หากไฟไหม้ไม้นั้นเสียหายไปเพราะเหตุอันจะโทษจำเลยมิได้แล้ว การสูญหรือเสียหายก็ย่อมตกเป็นพับแก่โจทก์
           หากมีเงื่อนไขระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยยังต้องรับผิดชอบในไม้ที่ซื้อขายอยู่จนกว่าจะได้ส่งมอบแก่โจทก์ถึงที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้อันเป็นการยกเว้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 และ 460 แล้วโจทก์ก็ต้องยกข้อความในสัญญาข้อนี้ขึ้นกล่าวเป็นประเด็นในฟ้องให้ชัดแจ้ง
          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาขายไม้สักให้โจทก์ ซึ่งจะต้องส่งมอบลงเรือส่วนหนึ่งส่งมอบถึงโกดังไม้ของโจทก์อีกส่วนหนึ่ง จำเลยรับเงินไปแล้ว 199,135.65 บาท จำเลยส่งไม้ให้โจทก์ไม่ครบอ้างว่าถูกไฟไหม้ คงค้างอยู่เป็นเงิน 133,886 บาท 04 สตางค์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าว
          จำเลยให้การว่า ทำสัญญาขายไม้แก่โจทก์จริง เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ส่งคนมาวัดไม้ตีตรากรรมสิทธิ์ได้ไม้ครบถ้วนตามสัญญาแล้วแต่ได้สั่งรอรับคำสั่งให้ส่งไปเข้าโกดังหรือลงเรือต่อไป จำเลยรับเงินจากโจทก์ตามฟ้อง แต่ต่อมามีผู้วางเพลิงโรงเลื่อยจำเลยไม้ที่ซื้อขายถูกไฟไหม้ไปบางส่วนเป็นเงิน 133,683.07 บาท ซึ่งจำเลยได้ส่งส่วนที่เหลือไปเข้าโกดังโจทก์แล้วเป็นเงิน 36,730.66 บาท
          ในวันชี้สองสถาน โจทก์ส่งสัญญาซื้อขายหมาย จ.1, 2 จำเลยรับว่าได้ทำไว้จริง โจทก์รับว่าจำเลยได้จัดไม้ตามสัญญาตามฟ้องให้โจทก์ครบแล้ว และติดต่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์อย่างที่เคยเจ้าหน้าที่ของโจทก์ส่งคนไปวัดไม้ตีตรากรรมสิทธิ์ได้ไม้ครบตามสัญญาก่อนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2501 ต่อมาวันที่ 25 พฤศจิกายน 2501 มีผู้ลอบวางเพลิงโรงเลื่อยของจำเลย ไฟไหม้ไม้นี้คิดเป็นเงิน 133,683.07 บาท โดยจำเลยไม่ได้ประกันไฟ
          ศาลชั้นต้นเห็นว่า เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ตรวจไม้ที่จำเลยเตรียมไว้ตามสัญญาและตีตราของโจทก์ลงไว้ ถือได้ว่าวัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 และบ่งตัวทรัพย์แน่นอน กรรมสิทธิ์ในไม้ตกเป็นของโจทก์ตาม มาตรา 460 แล้ว เมื่อไม้เสียหายโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลยโจทก์ก็เรียกร้องเอาจากจำเลยไม่ได้ ส่วนเงื่อนไขข้อ 5 ของสัญญาซึ่งมีข้อความว่า ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบไม้ตามสัญญาจนกว่าจะได้ส่งมอบจนถึงที่นั้น ฟ้องของโจทก์อ้างเหตุแต่เพียงในเรื่องจำเลยมิได้ส่งมอบให้แก่โจทก์ มิได้อ้างเหตุให้จำเลยรับผิดตามเงื่อนไขข้อ 5 จึงไม่มีประเด็น จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง
           โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายไม้ให้โจทก์แล้วมิได้ส่งมอบไม้ตามสัญญาจึงเรียกให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยรับเกินจำนวนไม้ที่ส่งมอบแล้ว เมื่อปรากฏว่าไม้นั้นคนของโจทก์ได้ตรวจตีตรากรรมสิทธิ์ครบถ้วนแล้ว กรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 195, 370 และ 460 ซึ่งต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในไม้ได้โอนไปเป็นของโจทก์และได้เสียหายเพราะเหตุอันโทษลูกหนี้มิได้ ต้องตกเป็นพับแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับไม้นั้นจากจำเลย ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ตามเงื่อนไขข้อ 5 ในสัญญาจำเลยต้องรับผิดชอบในไม้จนกว่าจะได้ส่งมอบถึงที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้เป็นการยกเว้น บทบัญญัติมาตรา 370 และ 460 นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยไม่ส่งมอบไม้ตามสัญญาจึงต้องรับผิด เมื่อได้ความว่าการส่งมอบไม้เป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ จำเลยก็หลุดพ้นจากการชำระหนี้ที่โจทก์ถือว่าจำเลยยังต้องรับผิดอยู่ เพราะมีข้อตกลงกันเป็นอย่างอื่นตามสัญญาข้อ 5 ในฟ้องของโจทก์ก็มิได้ยกข้อความในสัญญาข้อนี้ขึ้นกล่าวเป็นประเด็นให้ชัดแจ้ง เมื่อจำเลยให้การอ้างว่าไม่ต้องรับผิดเพราะไม้สูญไป เพราะเหตุที่จำเลยไม่ต้องรับผิดหลังจากที่โจทก์ได้ตรวจคัดเลือกไม้แล้ว และมีการชี้สองสถานโจทก์ก็มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นอ้างให้ได้ความชัดเพื่อประเด็นข้อพิพาทเช่นเดียวกันศาลล่างวินิจฉัยชอบแล้ว
          พิพากษายืน
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก