ขายที่ดินและมอบการครอบครองถือว่าสละเจตนาครอบครอง|ขายที่ดินและมอบการครอบครองถือว่าสละเจตนาครอบครอง

ขายที่ดินและมอบการครอบครองถือว่าสละเจตนาครอบครอง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ขายที่ดินและมอบการครอบครองถือว่าสละเจตนาครอบครอง

ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์เพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน หากผู้ซื้อครอบครองที่ดิน

บทความวันที่ 21 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1618 ครั้ง


ขายที่ดินและมอบการครอบครองถือว่าสละเจตนาครอบครอง


            ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์เพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน  หากผู้ซื้อครอบครองที่ดินตลอดมาจนเลยเวลาห้ามโอนแล้ว  สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ เพราะต้องห้ามตามกฎหมายมิให้โอนที่ดินพิพาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 12473/2553 (ประชุมใหญ่)
          การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่ ป. และมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โดยมิได้กลับเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินอีก แสดงว่า จำเลยที่ 1 สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377  วรรคหนึ่ง  แล้วแม้ ป. จะได้ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์ดเพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน ป. ไม่ได้ สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิโดยบทบัญญัติแห่ง ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ  แต่เมื่อ ป.และโจทก์ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาได้ร่วมกันครอบครองที่ดินตลอดมาจนเลยเวลาห้ามโอนแล้ว  ก็ยังครอบครองที่ดินอยู่ จึงถือได้ว่า ป. และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 นับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน  จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปแบ่งแยกโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ได้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10  จึงไม่มีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 9 ไม่อาจนำที่ดินพิพาทบางส่วนได้จดทะเบียนจำนอง
           สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท  การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมายจึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่


   

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก