ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารแสดงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์|ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารแสดงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์

ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารแสดงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารแสดงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์

ซื้อขายรถยนต์โดยผู้ขายยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ

บทความวันที่ 20 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10031 ครั้ง


ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารแสดงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์


           ซื้อขายรถยนต์โดยผู้ขายยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ  กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะโอนไปเป็นของผู้ซื้อเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน และหากผู้ซื้อไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง  ผู้ขายเอารถยนต์กลับคืนมาโดยพลการจะมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาฎีกาที่ 9603/2553(ประชุมใหญ่)
           โจทก์ร่วมตกลงซื้อรถยนต์ตู้กับจำเลยในราคา 310,000 บาท  ซึ่งในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า จำเลยตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท  ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540  ส่วนจำนวนที่เหลือจะชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540  สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้แต่ประการใด  จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด  กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 453,458 
          ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์  เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปีและแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น  คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้คันดังกล่าว  ดังนั้น  การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ  จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ  แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมากจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง  แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับให้ชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย  เพราะโจทก์ร่วมค้างชำระค่ารถยนต์แก่จำเลยเพียงประมาณ 20,000 บาท  แต่จำเลยให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท  การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจกท์ร่วมชำระหนี้นั้น  เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง  การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

จะซื้อรถมือสอง แต่พอเห็นเล่มรถ สงสัยว่าทำไมหน้าถึงไม่ครบ โดยไม่มีหน้า 1 กับ 2 เปิดมาก็เผ็นหน้าที่ 3 เลย ท่านใดพอจะช่วยให้หายข้อสงสัยได้ไหมคะ

โดยคุณ แนน 19 มี.ค. 2558, 10:47

ความคิดเห็นที่ 2

หากเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อโอนขายรถให้เเก่บุคคลอื่น ทั้งที่ยังไม่มีสิทธิโอนขาย เช่นยังผ่อนค่างวดไม่หมด/ครบตามจำนวนที่ผู้ให้เช่าทำสัญญาไว้ จึงไม่สามารถทำสัญญาเช่าช่วงต่อไปได้/เปลี่ยนชื่อผู้เช่ารายใหม่ได้ หากปรากฎว่ามีการซื้อขายรถกันระหว่างผู้เช่าซื้อกับบุคคลอื่น มีการส่งมอบรถเเละชำระเงินดาวว์ ตามตกลง ปรากฎว่าผู้เช่าไปเอารถกลับคืนมาจากบุคคลที่ซื้อไป ถามว่าผุ้เช่าซื้อจะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ครับ  รบกวนช่วยเเชร์ความรู้ด้วย ( เป็นกรณ๊ที่เกิดขึ้นจริง )

โดยคุณ พน 24 เม.ย. 2557, 17:47

ความคิดเห็นที่ 1

ดี

โดยคุณ 24 เม.ย. 2557, 17:39

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก