การเรียกค่าจ้างว่าความจากทรัพย์สินที่พิพาทในคดีตกเป็นโมฆะ|การเรียกค่าจ้างว่าความจากทรัพย์สินที่พิพาทในคดีตกเป็นโมฆะ

การเรียกค่าจ้างว่าความจากทรัพย์สินที่พิพาทในคดีตกเป็นโมฆะ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเรียกค่าจ้างว่าความจากทรัพย์สินที่พิพาทในคดีตกเป็นโมฆะ

ปัจจุบันมีสำนักงานทนายความทำสัญญาจ้างว่าความ โดยเรียกค่าจ้างเป็นร้อยละของทุนทรัพย์

บทความวันที่ 19 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10632 ครั้ง


การเรียกค่าจ้างว่าความจากทรัพย์สินที่พิพาทในคดีตกเป็นโมฆะ

           ปัจจุบันมีสำนักงานทนายความทำสัญญาจ้างว่าความ โดยเรียกค่าจ้างเป็นร้อยละของทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้อง ถือว่าเป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ บังคับใช้ไม่ได้  ถึงแม้จะไม่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528  ก็ตาม
           ท่านใดมีปัญหาต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องทนายความ  ปรึกษาได้ที่ 02-9485700

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2543
           วิชาชีพทนายความมีลักษณะผูกขาดที่ทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการ ย่อมมีพันธกรณีต่อสังคมที่ต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องกับหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ในส่วนการปฏิบัติหน้าที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแก่คู่ความดุจเป็นเจ้าหน้าที่ของศาล ทนายความไม่พึงทำสัญญากับลูกความในลักษณะที่ตนเองมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันอีกร้อยละ 5ของทุนทรัพย์สินสมรสที่จำเลยจะได้รับ เป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดีไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และการวางระเบียบข้อบังคับแก่ทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความกับความสมบูรณ์ของสัญญาระหว่างทนายความและลูกความเป็นคนละส่วนกัน ที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอย่างพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2477 และ พ.ศ. 2508 มีผลเพียงว่าสัญญาลักษณะนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความแต่หามีผลให้ข้อสัญญาดังกล่าวกลับมีความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7337/2548
           สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นเพียงแต่คู่สัญญาตกลงว่าจ้างและรับจ้างแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้นและผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตามนั้น เมื่อจำเลยได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแล้ว แม้สัญญาจ้างว่าความจะมิได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำพยานบุคคลมาสืบยืนยันว่าได้มีการตกลงค่าจ้างไว้เป็นจำนวนเท่าใด
          ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันร้อยละ 7.5 ของราคาทรัพย์สิน และถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง เช่นนี้ ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความ หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8439/2548
           สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นอัตราร้อยละ 10 จากจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยได้รับเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษา แสดงว่าค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับค่าทดแทนที่จำเลยได้รับ หากจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนจากจำเลย จึงมีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้ามีส่วนได้ส่วนเสียทางทรัพย์ในผลแห่งคดีความของจำเลยซึ่งเป็นลูกความ แม้จะไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่ก็เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2544
          พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และประกาศข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความดังเช่น พระราชบัญญัติทนายความสองฉบับแรก (ที่ยกเลิก) ฉะนั้น สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทที่ระบุว่า "คิดค่าทนายความร้อยละ 20 ของยอดทุนทรัพย์ 17,188,356 บาท โดยชำระค่าทนายความเมื่อบังคับคดีได้ กรณีบังคับคดีได้เพียงบางส่วนก็คิดค่าทนายความบางส่วนที่บังคับคดีได้ และถ้าคดีมีการยอมความกันคิดค่าทนายความร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ยอมความ" จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ
           สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทไม่มีข้อใดที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชคและไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน เป็นข้อแพ้ชนะกันระหว่างโจทก์จำเลย แต่เป็นสัญญาจ้างทำของที่โจทก์ต้องลงแรงว่าต่างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นลูกความ จึงหาใช่เป็นการพนันขันต่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 853 ไม่
           เมื่อโจทก์เป็นทนายความฟ้อง ร. และ ค. แล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ต่อมา ร. และ ค. ผิดสัญญา โจทก์ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ดำเนินการบังคับคดี ซึ่ง ร. และ ค. ได้นำเงินมาวางชำระที่ศาลแล้ว ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยได้ดำเนินการบังคับคดีแล้ว ซึ่งต่อมา ร. และ ค. ได้วางเงินชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะถูกจำเลยฟ้องคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้โดยการว่าจ้างทนายความคนอื่นหรือเพราะการบังคับคดี ยึดทรัพย์ก็ตาม ถือว่ามีการบังคับคดีและจำเลยได้รับชำระหนี้แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6919/2544
           การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงให้เงินรายละ 400,000 บาทและจำเลยที่ 4 ตกลงให้เงินจำนวน 300,000 บาท แก่โจทก์เป็นค่าทนายความนั้นหมายถึงกรณีที่ฝ่ายจำเลยชนะคดีมรดกแล้วไม่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นที่ดิน แต่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นเงินที่ได้มาจากการขายที่ดินพิพาทนั่นเอง ซึ่งจำเลยทั้งสี่จะต้องแบ่งให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในบันทึกข้อตกลง บันทึกข้อตกลงจึงถือได้ว่าเป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความเมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกความชนะคดีเท่านั้นหากจำเลยทั้งสี่ตกเป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์ย่อมไม่ได้รับส่วนแบ่งตามข้อตกลง อันมีลักษณะเข้าทำนองซื้อขายความกัน
           วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการผู้ที่ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการจรรโลงความยุติธรรมในสังคม ทนายความจึงไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตนในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลคดีโดยตรงในทำนองซื้อขายความกันย่อมไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
           แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความฯ จะมิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญาระหว่างทนายความกับลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมีความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542
           นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 นั้น นอกจากเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยแล้วยังมีกรณีที่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า แม้การกระทำนั้นจะไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง ตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้เลย แต่ถ้าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วนิติกรรมนั้นก็ย่อม ตกเป็นโมฆะเช่นกัน แม้การที่โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยโดยใช้ วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้ จากคู่ความนั้นจะไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 สัญญาจ้างว่าความจึงไม่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุ ดังกล่าวก็ตาม แต่สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท ซึ่งเดิมโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกันเลยการที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน 200 ตารางวาอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมทำให้ โจทก์เป็นผู้เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวโดยตรง เพราะ หากจำเลยต้องแพ้คดีแล้ว โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความเนื่องจาก จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์จะได้รับส่วนแบ่ง เป็นค่าจ้างตามฟ้องนั้นทั้งแปลง ดังนี้ สัญญาจ้างว่าความฉบับพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิในการดำเนินคดีของจำเลย มาจัดการให้โดยขอรับส่วนแบ่งจากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าตอบแทน เมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่น เป็นความกันวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2539

            ข้อตกลงตาม สัญญาจ้างว่าความที่ให้โจทก์เป็น ทนายความของจำเลยในคดีฟ้องขับไล่โดยจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีกับให้โจทก์ออกเงินทดรองเป็นค่าขึ้นศาลค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุดถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืนโจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2492
            โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าโจทก์จ่ายเงินให้จำเลยในการที่จำเลยจะหาทนายฟ้องนายหมะ เรื่องแย่งกรรมสิทธิที่ดิน 6 แปลง ถ้าแพ้คดีนายหมะ เงินที่โจทก์จ่ายไปเป็นพับ ถ้าคดีชนะจำเลยยอมมอบกรรมสิทธิที่ดิน 6 แปลงให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ต้องเลี้ยงดูจำเลยจนตลอดชีวิตร ดังนี้ เป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยตกลงให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ ซึ่งคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนในมูลคดีนั้น ๆ ย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น อันเป็นความกัน นับว่าเป็นการขัดแก่ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.ม.แพ่ง มาตรา 113
(อ้างฎีกา 510 / 2468)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2545
           จำเลยเป็นผู้อาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาท มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีที่ ล. มารดาโจทก์ฟ้องบังคับให้ ท. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ล. การที่จำเลยกับ ล. ทำสัญญากันระบุว่า ล. จะจดทะเบียนแบ่งแยกโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในคดีที่ ล. พิพาทกับ ท. ให้แก่จำเลยกับให้เงินสดอีก 100,000บาท แก่จำเลยเพื่อตอบแทนที่จำเลยไปเบิกความเป็นพยานให้แสดงว่าจำเลยยอมไปเบิกความเป็นพยานโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่จะได้รับดังกล่าวเป็นการตอบแทน จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นความของบุคคลอื่น จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม จำเลยจึงฟ้องแย้งบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้
           โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2494
           ทำสัญญายกที่ดินให้แก่เขาเพื่อตอบแทนในการที่เขาออกเงินและวิ่งเต้นให้เป็นความกับบุคคลอื่นจนได้ที่ดินมานั้น แม้สัญญายกให้นี้จะตกเป็นโมฆะโดยขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดีแต่ก็ยังเข้าลักษณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่ว่าบุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตาม กฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162 - 1164/2497
           สัญญามีข้อความว่า " ที่ดินมรดกเรื่องนายคำ ร้องคัดค้านนายอ่องซึ่งเป็นส่วนของนางเทียบนายแว้นั้นข้าพเจ้าเป็นน้องนางเทียบนายแว้เป็นผู้รับมรดกที่ดินรายนี้ ข้าพเจ้ายอมยกที่ดินรายนี้มีเท่าใดให้นายอ่องทั้งสิ้น เพราะข้าพเจ้าได้รับเงินนายอ่องไป410บาทโดยขายให้นายอ่อง จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ" ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามธรรมดา
           การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
           ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วนแต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้เพราะไม่มีทางบังคับชำระได้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. ม.237

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

อยากสอบถามเรื่องค่าทนายความเรื่องแบ่งสินสมรสค่ะ..คือเราจ้างทนายสองท่านฟ้องแบ่งสินสมรส 50 ล้านบาทจากอดีตสามีแต่แล้วคดีจบที่ชั้นไกล่้กลี่ยอดีตสามีจ่ายสองล้านห้าแสนบาท..ในสันยาจ้างทนายคิด 20%  แต่คดีจบชั้นไกล่กลี่ยและก้อไม่ได้รับเงินตามยอดทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องและก้อได้จ่ายค่าคดีไป 20% เป็นเงิน 50,0000 บาท แต่ตอนนี้ทนายยังมาขอค่าทนายเพิ่ม..อย่างนี้เราต้องจ่ายมั้ยค่ะ..

โดยคุณ ชิตาภัทร 25 มี.ค. 2562, 13:12

ความคิดเห็นที่ 1

ขออนุญาตคัดค้านครับ ท่านอาจารย์ครับ

การคิดค่าว่าความเป็นร้อยละของ "ทุนทรัพย์" แตกต่างจากการคิดค่าว่าความเป็นร้อยละของ "ยอดเงินที่ได้รับชำระ" นะครับ

กรณีที่ 1 การคิดจากทุนทรัพย์ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และไม่ผิดกฎหมายแน่นอน เพราะไม่ว่าจะแพ้หรือชนะคดี ก็ต้องจ่ายเงินเป็นร้อยละตามทุนทรัพย์ เช่น ฟ้องคดีทุนทรัพย์ 1 ล้าน คิดค่าทนายความ 10% ของทุนทรัพย์ คือ 1 แสน แบบนี้ได้ครับ เพราะถือว่าลูกความต้องจ่าย 1 แสนให้ทนาย ไม่ว่าผลคดีจะออกมาอย่างไร

ส่วนกรณีที่ 2 คิดค่าทนายความจากยอดเงินที่ได้รับชำระ อันนี้ผิดเต็มๆ ครับ เพราะถือเป็นการยุยงส่งเสริมให้เป็นความกัน นอกจากนี้ยังถือว่าตัวทนายความเอาตัวเองเข้าไปมีส่วนได้เสียในคดี ยกตัวอย่างเช่น คิดค่าทนายความ 10% จากยอดเงินที่ได้รับชำระ หากฟ้อง 1 ล้าน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ 1 ล้าน ทนายความจึงจะได้เงิน 1 แสน แบบนี้ผิดแน่ๆ เพราะทนายดันทำตัวเป็นผู้มีส่วนได้เสียซะเองครับ

ด้วยความเคารพครับ

โดยคุณ ทนายไอซ์ 17 มิ.ย. 2558, 10:39

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก