ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออก นายจ้างให้ออกก่อนถึงกำหนดได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง|ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออก นายจ้างให้ออกก่อนถึงกำหนดได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออก นายจ้างให้ออกก่อนถึงกำหนดได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออก นายจ้างให้ออกก่อนถึงกำหนดได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

ลูกจ้างยื่นใบลาออกจากงานโดยให้มีผลในอนาคต นายจ้างมีสิทธิให้ออกก่อนกำหนดได้

บทความวันที่ 14 มิ.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 8851 ครั้ง


ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออก นายจ้างให้ออกก่อนถึงกำหนดได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง


           ลูกจ้างยื่นใบลาออกจากงานโดยให้มีผลในอนาคต  นายจ้างมีสิทธิให้ออกก่อนกำหนดได้  แต่ต้องจ่ายค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างลาออก (วันที่การเลิกจ้างมีผลตามที่ลูกจ้างแจ้งไว้)
          ท่านใดมีปัญหาเรื่องกฎหมายแรงงาน ให้ท่านส่งสัญญาจ้าง ระเบียบคำสั่งของนายจ้างมาปรึกษาได้ที่ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700 โทรสาร 02-9485477  หรืออีเมล์  [email protected]  (กรุณาใช้ชื่อ-นามสกุลจริงในการขอคำปรึกษา)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10161/2551
            โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นนายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ จึงมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้ และไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจ้างแรงงานย่อมจะมีผลสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 แม้จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่โจทก์ประสงค์โดยโจทก์ไม่มีความผิด ก็มีผลทำให้โจทก์เสียหายเพียงเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันมีผลที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542
          ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการเมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 มีกรณีปรึกษาค่ะ

กรณีลูกจ้างได้ส่งเมล์ลแจ้งความจำนงค์ความชัดเจนในการทำงาน ยืนยันการทำงานต่ออีกสองเดือนและจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอีก 30 วันข้อความนี้ถือเป็นการแจ้งลาออกได้ไหมค่ะและนายจ้างสามารถกำหนดวันลาออกให้พนักงานได้ไหมค่ะเพื่อเตรียมพนักงานทำงานแทนและจะถือเป็นการเลิกต้างไหมค่ะหากนับจาวันที่แจ้งสองเดือน

โดยคุณ อรอุมา แซ่ภู่ 21 เม.ย. 2556, 00:20

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก