การใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการ|การใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการ

การใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการ

หลังจากอัยการสูงสุดพิจารณาสำนวนคดีเลี่ยงภาษีหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีความเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ไม่ยื่นฎีกา

บทความวันที่ 29 ก.ย. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3947 ครั้ง


การใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการ

 

หลังจากอัยการสูงสุดพิจารณาสำนวนคดีเลี่ยงภาษีหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีความเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ไม่ยื่นฎีกา โดยอัยการสูงสุดพิจารณาใน 3 ประเด็น คือ

1.เห็นว่าประมวลรัษฎากรเป็นเพียงมาตรการเสริมใช้ในการจัดเก็บภาษี  ไม่ได้มีเจตนาลงโทษจำคุกผู้ที่ไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระไม่ถูกต้อง

2.คดียังมีข้อสงสัย  ควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

3.โจทก์ไม่มีหลักฐานมายืนยันได้ว่า จำเลยให้การเท็จ

ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันในสังคมกันอย่างกว้างขวางว่า การใช้ดุลพินิจในการไม่ยื่นฎีกาคดีดังกล่าวของอัยการสูงสุดเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการเพื่อจะช่วยเหลือจำเลยหรือไม่ หรือมีการวิ่งเต้นอัยการหรือไม่  ซึ่งส่วนตัวผมเป็นทนายความมา 26 ปี ยังเชื่อมั่นในองค์กรอัยการ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญว่าเป็นกลาง และยังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้  แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะเห็นกับผมด้วยหรือไม่ ผมชักไม่แน่ใจแล้วตอนนี้

ซึ่งที่ผ่านมาอัยการเคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดี  โดยใช้อำนาจตามอำเภอใจมาแล้ว  และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า อัยการมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157  ส่วนการไม่ยื่นฎีกาของอัยการสูงสุดจะมีความผิดหรือไม่ต้องรอดูต่อไป  เพราะมีหลายฝ่ายเตรียมถอดถอนอัยการสูงสุดอยู่โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์

 

ตัวอย่างคดีการใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการในอดีต

- จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ด. ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกของเขตของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง

การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย

ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549)

- แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27 บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย

อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย

การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล

การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91 (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543)

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ดิฉัน อยากทราบว่า คำบรรยายฟ้องของพนักงานอัยการ จะต้องตรงกับ การให้ปากคำในชั้นพนักงานตำรวจหรือไม่ อย่างเช่น การให้ปากคำในชั้นพนักงานสอบสวนบอกว่า " นาย ข. นำเงินไปมอบให้นาย ก. แต่นาย ก. ไม่ยอมรับเงินของ นาย ข. แต่นาย ก. บอกนาย ข. ให้นำเงินไปให้กับ นาย ค. นาย ค. จึงเป็นผู้รับเงินไป" แต่ในคำบรรยายฟ้องในชั้นพนักงานอัยการ บรรยายว่า นาย ก. เป็นผู้รับเงินจากนาย ข. นาย ก.เป็นผู้รับไป

ดิฉันอยากทราบว่า คำบรรยายฟ้อง เป็นจริงหรือไม่ แล้วจะต้องทำอย่างไร ต่อไป

ขอบคุณ

โดยคุณ ท. อุบลฯ 12 ก.พ. 2555, 18:43

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก