หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ|หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ

หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ

หลังจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย

บทความวันที่ 18 ก.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 23015 ครั้ง


หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ

 

            หลังจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย ได้เสียงเกินครึ่งในสภาผู้แทนราษฎร ด้วยนโยบายอัตราค่าจ่างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างไร้ฝีมือหรือลูกจ้างใช้แรงงาน ในอัตราวันละ  300 บาท และจบปริญญาตรี ค่าจ้างขั้นต่ำ 15,000 บาท  ทำให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ซึ่งผมเป็นวิทยากรประจำของหอการค้าแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานอยู่ด้วย)ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทว่า อาจมีผลกระทบต่อนายจ้างส่วนใหญ่ (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยประมาณร้อยละ 70-80 ทนายคลายทุกข์ จึงขอนำกฎหมายที่เกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตั้งแต่มาตรา 78 มาตรา 90 มานำเสนอดังนี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและถูกกฎหมาย

คณะกรรมการค่าจ้าง

มาตรา 78  ให้มีคณะกรรมการค่าจ้างประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน*เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลสี่คน ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละห้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และข้าราชการกระทรวงแรงงาน*ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเลขานุการ

หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

อำนาจของคณะกรรมการค่าจ้าง

มาตรา 79  คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(3) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

(4) กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ

ค่าจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ

มาตรา 82  การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยมีกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนจึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามมาตรา 79 จะต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดโดยมีกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละสองคนจึงจะเป็นองค์ประชุม และต้องได้มติอย่างน้อยสองในสามของกรรมการที่เข้าประชุม

ในการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือคราวใดถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในวรรคสอง ให้จัดให้มีการประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้แม้จะไม่มีกรรมการซึ่งมาจากฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วมประชุม ถ้ามีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม และต้องได้มติอย่างน้อยสองในสามของกรรมการที่เข้าประชุม

การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะกำหนดให้ใช้เฉพาะกิจการ งานหรือสาขาอาชีพประเภทใด เพียงใด ในท้องถิ่นใดก็ได้

ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละอาชีพตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนดไว้โดยวัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ และความสามารถ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด

หลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

มาตรา87 ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะกำหนดให้ใช้เฉพาะกิจการ งานหรือสาขาอาชีพประเภทใด เพียงใด ในท้องถิ่นใดก็ได้

ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละอาชีพตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนดไว้โดยวัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ และความสามารถ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด

ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 มาตรา 88 ได้ศึกษาข้อมูลและพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 87 แล้วให้คณะกรรมการค่าจ้างประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือโดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ต้องไม่เลือกปฏิบัติกับลูกจ้างไทยและต่างด้าว

มาตรา 89  ประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามมาตรา 88 ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ

ห้ามจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดหากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกและปรับ

มาตรา 90  เมื่อประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนด

ให้พนักงานตรวจแรงงานส่งประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือให้แก่นายจ้างที่อยู่ในข่ายบังคับ และให้นายจ้างนั้นปิดประกาศดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบ ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 18

 ลูกดิฉันทำงานร้านอาหารได้รายวันวันละ200-250นายจ้างบอกทดลองงาน3เดือนจะขึ้นเป็น300แต่ผ่านมาหลายเดือนแล้วค่าจ้างไม่ขึ้นให้วันไหนหยุดไม่ให้เงินพอเข้าใจเพราะเราทำรายวันแต่ผ่านมาหลายเดือนค่าแรงไม่ขึ้นให้ทั้งๆที่ทำงานเท่ากับคนทำรายเดือนคนอื่นในร้านตั้งแต่8:30น-18:30นหยุดไม่จ่ายให้แต่คนทำรายเดือนหยุดไม่หักแถมยังขึ้นเงินเดือนให้กับลูกสาวจะขอลดเหลือ200บอกอยู่ได้ก็อยู่ลูกสาวจำเป็นต้องอยู่ต่อเพราะมีภาระที่ต้องช่วยแม่และครอบครัวบางเดือนไม่พอกินด้วยซ้ำใช้สาระพัดต้องทำสงสารลูกสาวมากจะต้องทำอย่างไรดีค่ะเป็นร้านอาหารเขาชอบอ้างเสมอง่าข่ยไม่ดีทั้งๆที่คนเต็มร้านทุกวันที่จอดรถแทบไม่พอเป็นร้านอาหาร"ร้านกาแฟบ้านลานไทรอยู่โคราชค่ะ

โดยคุณ ป.ปลา 14 มี.ค. 2560, 16:26

ความคิดเห็นที่ 17

 ฉันทำงาน ในสายงาน อาชีวะศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครพนม ซึ่งวิทยาลัยแห่งนี้ เอาเปรียบลูกจ้างและบุคลากรมาก ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด ป.ตรี ต้องได้เงินเดือน 15,000 บาท ซื่ง ลูกจ้างได้ตามจริง แต่ต้องหักคืนวิทยาลัย คนละ2,000 บาท ค่าไรไม่รู้ ฉันจบ ป.ตรี เงินเดือนฉันได้แค่ 8,500 ตอนมาสมัคร นายจ้างบอกว่าจะเพิ่มเงินเดือนให้เป็น 11,000 บาท เมื่อทำงานผ่านโปร 6 เดือน ซึ่งเดือนนี้เป็นเดือนที่ 6 แต่นายจ้างกลับ บอกว่า เรื่องเงินฉันจะต้องให้ผ่านโปรอีก 4 จะเพิ่มให้เป็น 10,000 เหนได้ชัดเจนคะว่ายังมีสถานประกอบการบางแห่ง เอาเปรียบลูกจ้าง อยากให้เข้าตรวจสอบมาก ปล.วิทยาลัยนี้เอาเงินรัฐบาลมากินฟรี และใช้จ่ายส่วนตัว 

โดยคุณ แสนดี 22 ต.ค. 2558, 16:50

ความคิดเห็นที่ 16

 ผมทำงานที่มุลนิธิในเชียงใหม่ทำงานวันละ18ชั่วโมงเงินเดือน6000กินอยุ่กับเขาคุ้มไหมครับ

โดยคุณ 6 ส.ค. 2558, 08:47

ความคิดเห็นที่ 15

 ผมทำงาน ร.พ ได้เงินเดือน 7900 ทำมา 3ปีและครับ มันเกี่ยวกับบรรจุไม่บรรจุรึป่าวครับ ขอท่านที่รู้โปรดอธิบายหน่อย

โดยคุณ 30 ม.ค. 2558, 19:59

ความคิดเห็นที่ 14

 ผมทำงาน ร.พ ได้เงินเดือน 7900 ทำมา 3ปีและครับ มันเกี่ยวกับบรรจุไม่บรรจุรึป่าวครับ ขอท่านที่รู้โปรดอธิบายหน่อย

โดยคุณ 30 ม.ค. 2558, 19:58

ความคิดเห็นที่ 13

ผมทำงานอยู่ร้านๆหนึ่งแต่ได้เงินวันละ 233.33333 บาทต่อวัน  พอถามเจ้าของร้าน  ว่าทำไมจ้างถูกกว่ามาตรฐานที่รัฐกำหนด  คือ  300  เจ้าของร้านก็บอกว่าที่ร้านเราเนี่ยไม่ได้จำทะเบียนเป็นบริษัท ถ้าพี่ขึ้นเป็นบริษัทพี่ถึงจะจ้างน้องในวงเงิน 300  แต่นี้เป็นแค่ร้านเฉยๆ เลยไม่จำเป้นต้องจ้างสามร้อย  และไม่ผิดกฎหมายจริงหรือ  ????

โดยคุณ 8 มิ.ย. 2557, 20:36

ความคิดเห็นที่ 12

ดิฉันทำงานที่บริษัทไฟแนนซ์แห่งหนึ่งในเชียงใหม่ วุฒิปวส.รายวันขั้นตำ300บาทต่อวันทำไมสิ้นเดือนมาถึงได้แค่7800 บาท บริษัททำไมเอา300คูณ26 แบบนี้เราสามารถไปแจ้งที่ใครได้ไม่ได้เงินเดือนตามแรงงานขั้นต่ำ

โดยคุณ ไม่ประสงค์ออกนาม 27 พ.ย. 2556, 19:21

ความคิดเห็นที่ 11

 ดิฉันทำงานในโรงแรมแห่งหนึ่งในจ.เชียงใหม่ ดิฉันทำสัญญากับโรงแรมนี้สองปีเขาเขียนในสัญญานี้นี้ว่าเงินเดือนช่วงฝึกงาน8000แต่พอจ่ายเงินเดือนเขาบอกว่าเงินเดือน6500แล้วในสัญญายังบอกอีกว่าเวลาทำงาน8ชั่วโมงแต่ทำจริงเขาบอกว่า9ชั่วโมงรวมเวลากินข้าวด้วยอย่างนี้เขาผิดไหมค่ะแล้วเรื่องหักภาษีของเงินเดือนต้องหักด้วยเหรอค่ะอยากทราบว่า1.เราสามารถฟ้องกลับได้ไหมค่ะเพราะในสัญญาที่เราเซ็นเป็นอีกแบบหนึ่ง2.เรื่องภาษีของเงินเดือนจำเป็นต้องหักให้โรงแรมเก็บไว้ด้วยเหรอ3.เขาพูดตลอดเวลาว่าเขาไม่ฟ้องแต่ถ้าเราฟ้องมีโอกาสชนะไหม

โดยคุณ พัชรวรินทร์ แแงเกี้ยว 26 พ.ย. 2556, 17:31

ความคิดเห็นที่ 10

คือดิฉันทำงาน เป็นพนักงานบัญชี จากวุฒิการศึกษา ปวส.ได้รับเงินเดือน 14000 บาท กรณีนี้ถือว่าเงินเดือนสูงหรือตำไปไหมค่ะ เพราะแค่รายวันตอนนี้ก็ 300 กว่าแล้ว

โดยคุณ บิว 18 ก.ย. 2556, 13:15

ความคิดเห็นที่ 9

มีแต่คนคิดว่านายจ้างจะจ่ายเราได้มากขนาดไหน

แต่ไม่เคยคิดเลยว่าเราทำงานให้นายจ้างได้มากน้อยแค่ไหน

นี้แหละคือสัจธรรมของมนุษย์

โดยคุณ 24 ก.ค. 2556, 20:52

ความคิดเห็นที่ 8

ดิฉันจบปริญญาตรี แต่ได้รับเงินเดือนอยู่ที่ 10000/เดือน อยากทราบว่า**1.นายจ้างทำผิดกฏหมายไหม 2.ถ้าผิดมีบทลงโทษอย่างไร 3.แล้วลูกจ้างอยางดิฉันจะสามารถร้องเรียนได้ที่ไหน

โดยคุณ ออย 15 ก.ค. 2556, 16:54

ความคิดเห็นที่ 7

 ดิฉันทำงานเป็นพนักงานรายเดือน ได้รับเงินเดือนเดิมอยู่ที่ 7500 ปรับเงินเดือนใหม่เป็น 7800  ทางบริษัทบอกว่าได้ให้ ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 แต่นำไปคูณ 26 วัน แต่คิดเวลาทำงานล่วงเวลา หารด้วย 30 วัน ถูกต้องหรือไม่ และยังกล่าวอ้างว่าพนักงานรายเดือน มีสวัสดิการดีกว่าพนักงานรายวัน เหตุการณ์เช่นนี้เกี่ยวข้องหรือไม่ค่ะช่วยไขข้อคล่องใจให้หหน่อยค่ะ

โดยคุณ pp 25 ก.พ. 2556, 21:47

ความคิดเห็นที่ 6

อยากทราบค่าแรงของ ปวช. ปวส.ตกลงยังไงครับ ตอนนี้ผม ค่าแรง 9000 บาท คับ

ไม่เห็นพูดถึงเลย มีอยู่ในหลักเกณฑ์หรือปล่าว ช่วยตอบด้วยน่ะครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ พิษณุ 6 ม.ค. 2556, 18:47

ความคิดเห็นที่ 5

ผมทำงานเป็นรายเดือนได้ 7500บาท ค่าแรงขึ้นเป็น 7800บาท เขาบอกว่า300 บาทต่อวัน แต่ผมเป็นรายเดือน เขากับเอา 26วันคูณ300บาท ทำไมเขาไม่เอาคูณ30วันอย่างนี้เขาก็คิดให้ผมเป็นรายวันสิคับจะมีวิธิใหนช่วยได้มังคับตอบอีเมล์ด้วยนะคับ

โดยคุณ ทศพล เจิญจวง 4 ม.ค. 2556, 16:22

ความคิดเห็นที่ 4

ดิฉันทำงานมา19ปีกับโรงงานนี้ได้ค่าแรงวันล่ะ396บาทถามว่าค่าแรงขั้นตำขึ้นดิฉันจะได้ปรับขึ้นตามมั้ยคนค่าแรง300กว่ามีประมาณ70%ของที่นี่ฝากให้คิดว่าขั้นตํ่าขึ้นพวกเรามีแต่เสียนายจ้างนั่งหัวเราะนะจะบอกให้

โดยคุณ ละเอียด ถี่ถ้วน 24 พ.ย. 2555, 20:22

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก