ความหมายของบุตรชอบด้วยกฎหมาย|ความหมายของบุตรชอบด้วยกฎหมาย

ความหมายของบุตรชอบด้วยกฎหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความหมายของบุตรชอบด้วยกฎหมาย

บุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 47 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร

บทความวันที่ 13 ก.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11017 ครั้ง


ความหมายของบุตรชอบด้วยกฎหมาย


            บุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 47 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร  และบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว หมายถึงอะไรคะ

    
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
         การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ ที่สามารถนำมาลดหย่อนเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47 (1)(ค) กับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกัน กล่าวคือ จะต้องเป็นบุคคลที่บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ถ้าหากบุตรเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน บุตรย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่ฝ่ายเดียว บุตรจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร  หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แล้วแต่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1546,1547
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

 ปัจนุบันสมรสกับสามีและกำลังตั้งท้องได้4เดือนกว่าๆแต่สามีได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กผุ้หญิงอยุ่ก่อนหน้าสมรสและก่อนจะท้องปัจจุบันมีปัญหากับสามีเรื่องเด็ก(ลูกเลี้ยง)เพราะเขาก็มีแม่ที่อุปการะอยุ่แล้วแต่สามีไม่ยอมตัดขาดหน่ำซ้ำยังจะยกทรัพย์สินส่วนตัวให้ลูกเลี้ยงอีกจนดิฉันคิดไม่ตกเลยว่าบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่กำลังเกิดจะมีสิทธิอะไรในทรัพย์ส่วนตัวของบิดาตนช่วยตอบดิฉันให้หายข้องใจหน่อยค่ะเพราะคำพูดจากสามีแต่ละคำคือไม่ต้องการลูกในท้องต้องการอุปการะลูกเลี้ยงต่อไปซึ้งกำลังโตเป็นสาวด้วย

โดยคุณ สิริกร บำรุงญาติ 5 ธ.ค. 2558, 12:23

ความคิดเห็นที่ 2

 มีลูกกับสามีคนแรกก มาจดทะเบียนกับสามีคนที่2 ลูกกำลังเรียนอยู่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ไหมค่ะ

โดยคุณ ปาริภัทร 26 ก.พ. 2557, 11:42

ความคิดเห็นที่ 1

มีปัญหาเรียนถามทนายค่ะ เนื่องจากมารดาของข้าพเจ้า ได้รู้จักกับบุคคลอื่น ซึ่งไม่มีความสัมพันธุ์กันแต่ประการใด บุคคลอื่นนี้ ได้เกิดชอบลูกสาวของข้าพเจ้า (เป็นผู้หญิงค่ะ) และต้องการเลี้ยงดู ส่งเรียนหนังสือ โดยได้ตกลงกับมารดาของข้าพเจ้าว่า จะเอาไปดูแล ส่งเรียน และจะพามาหาแม่เด็กทุกวันอาทิตย์ ถ้าแม่เด็กคิดถึงก็ให้โทรไปหาได้ ไม่ได้ให้ยกเป็นลูกของเขา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวนี้ เป็นเป็นความเห็นชอบของแม่ข้าพเจ้ากับบุคคลอื่น โดยที่บุคคลคนนี้ไม่เคยคุยกับข้าพเจ้าโดยตรง และตอนนี้ลูกของข้าพเจ้าได้ไปอยู่กับบุคคลผู้นี้ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - ปัจจุบัน พ.ศ.2554  ตั้งแต่ลูกไปอยู่กับบุคคลอื่น ข้าพเจ้าได้เจอลูกแค่เพียงครั้งเดียว เวลาโทรหาก็ปิดเครื่องบ้าง หรือไม่ก็รับสาย แต่บอกว่าติดธุระ ไม่มา  ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกทรมานใจมาก อยากเจอลูก คิดถึงมาก อยากได้ลูกกลับมาเลี้ยงเองเหมือนเดิม ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะยากจนก็ตาม มีความรู้สึกเหมือนโดยกีดกัน ข้าพเจ้าจึงอยากสอบถามคุณทนายว่า เราสามารถเอาลูกกลับมาได้เลยมั้ยค่ะ จะมีความผิดอะไรมั้ย

โดยคุณ รจนพรรณ 18 ส.ค. 2554, 16:42

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก