เลือกตั้งล่วงหน้าต้องอ่านทางนี้ |เลือกตั้งล่วงหน้าต้องอ่านทางนี้

เลือกตั้งล่วงหน้าต้องอ่านทางนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เลือกตั้งล่วงหน้าต้องอ่านทางนี้

ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่นำเสนอบทความเกี่ยวกับ การลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง

บทความวันที่ 20 พ.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7213 ครั้ง


เลือกตั้งล่วงหน้าต้องอ่านทางนี้

 

          ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่นำเสนอบทความเกี่ยวกับ การลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง หรือที่เรียกกันติดปากว่า “การเลือกตั้งล่วงหน้า” นั้น เป็นที่รู้จักมักคุ้นและเพิ่งจะมีในการเลือกตั้งกันเป็นครั้งแรก ก็ในการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 ในการเลือกตั้ง ส.ว. เมื่อปี 2543 และสืบเนื่องเรื่อยมาในการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.และส.ว.ทุกครั้ง
การเลือกตั้งล่วงหน้า แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
          การเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง เช่น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เป็นต้น กลุ่มที่สองได้แก่ ผู้ที่จะต้องเดินทางไปนอกเขตเลือกตั้ง เช่น ไปต่างประเทศ ไปงานบวช งานแต่งงาน ฯลฯ กลุ่มที่สามคือผู้ที่ในวันเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เช่น หมอนัดผ่าตัด เป็นต้น ทำให้กกต.ต้องกำหนดเรื่องของการเลือกตั้งล่วงหน้าไว้เป็น
          การเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด ในส่วนนี้จะเป็นกลุ่มผู้ที่มีชื่อตามทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัดหรือเพิ่งย้ายมาอยู่จังหวัดใหม่ไม่ถึง 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งในจังหวัดที่ตนอยู่ เช่น นายก.เป็นคนอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ แต่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ที่กทม.ไม่ถึง 90 วันก็ต้องไปลงทะเบียนในเขต กทม.ที่ตนเองอาศัยอยู่ แต่ต้องเลือก ส.ส. ที่อยู่ในเขตที่ จ.เชียงใหม่ ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตนั้น
         การเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักรหรือเลือกตั้งต่างประเทศ จะเป็นผู้ที่มีชื่อตามทะเบียนบ้านที่อยู่ในประเทศไทย แต่ได้อาศัยหรือทำงาน หรือเรียนหนังสืออยู่ต่างประเทศและประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งในประเทศที่ตนอาศัยอยู่ ในฐานะที่เป็นคนไทย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง 3 กลุ่มนี้ก็ย่อมจะต้องมีสิทธิและมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย เช่นเดียวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่น ๆ ดังนั้นรัฐธรรมนูญ ปี 40 รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจึงให้สิทธิและอำนวยความสะดวกให้สามารถเข้าถึงการใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่
          ในการเลือกตั้งที่ผ่าน ๆ มา การเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด และ การเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เพราะผู้ที่จะใช้สิทธิดังกล่าวจะต้องลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน การไปใช้สิทธิก็จะได้รับความสะดวกเพราะ ทางกกตจังหวัดสามารถเตรียมการอำนวยความสะดวกได้ทันเนื่องจากทราบจำนวนผู้ลงทะเบียนล่วงหน้าถึง 30 วัน เช่นเดียวกับการเลือกตั้งล่วงหน้าต่างประเทศซึ่งทางสถานทูตและสถานกงสุลก็สามารถเตรียมการจัดหน่วยเลือกตั้งกลางหรือจัดหน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่ รวมทั้งเปิดให้ลงคะแนนทางไปรษณีย์ได้ด้วย นับว่าผู้ใช้สิทธิทั้ง 2 กลุ่มนี้แทบไม่มีปัญหาใด ๆ
          จะมีบ้างก็ ในการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด ที่มีคนลงทะเบียนจำนวนนับแสนคนแต่ทาง กกต.จัดที่เลือกตั้งไว้เพียงแห่งเดียว เช่น ที่จังหวัดสมุทรปราการ จัดไว้ที่โรงเรียนนายเรือทำให้ผู้มาใช้สิทธิต้องแออัดยัดเยียดในการใช้สิทธิ ซ้ำการจราจรก็ติดอย่างหนัก ซึ่งในปีนี้ ได้รับการยืนยันว่า กกต.จังหวัดสมุทรปราการได้จัดเตรียมสถานที่รองรับไว้ถึง 4 แห่ง เพื่อให้กระจายมากขึ้น ทำให้เบาใจได้ในระดับหนึ่งว่าปัญหาเช่นที่เคยเกิดขึ้นน่าจะหมดไป รวมทั้ง กทม. ก็จะจัดให้มีการยื่นได้ทุกสำนักงานเขต กทม.
          อย่างไรก็ดี ในการเลือกตั้งล่วงหน้าครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่ไว้วางใจระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่กังขาว่าการเลือกตั้งล่วงหน้า โดยเฉพาะการเลือกตั้งล่วงหน้าประเภท “ในเขตเลือกตั้ง” อาจจะเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้าได้ จึงแก้ไขกฎหมายเลือกตั้ง กำหนดให้ เลือกตั้งล่วงหน้าเพียง 1 วัน และต้องมีการลงทะเบียนก่อนจึงจะสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เป็นการให้สิทธิตามความจำเป็น มิใช่ใช้หลัก “อำนวยความสะดวก” อย่างที่เคยเป็นมา
          การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนับว่า “เข้าทาง” กกต.อยู่ไม่น้อย เพราะ กกต.เคยจัดสัมมนาระดมความเห็นเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ต่างเห็นตรงกันว่า เพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้ดี มีประสิทธิภาพ ควรให้มีการลงทะเบียน ซึ่งนอกจากจะสามารถจัดเตรียมบัตรเลือกตั้งได้อย่างเหมาะสมพอดีกับผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ยังจะลดวงจรขบวนการซื้อเสียงล่วงหน้าที่อ้างว่าติดธุระในวันเลือกตั้ง แล้วในช่วง “วอล์กอิน” มาขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าก่อนเพื่อนคนอื่น จึงเป็นอันว่าในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ผู้จะใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าต้องยื่นขอลงทะเบียนก่อน
          อย่างไรก็ตามข้อเสนอหนึ่งที่ทาง กกต.ขอแก้ไข แต่ทั้งสองสภาไม่เห็นด้วย คือ กกต.ต้องการให้การลงทะเบียนให้มีผลเพียงครั้งเดียว หากจะขอเลือกตั้งล่วงหน้าใหม่ก็ต้องลงทะเบียนใหม่นั้น เรื่องนี้ จึงอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคน 2 ล้านเศษ ที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธินอกเขตจังหวัด หรือนอกราชอาณาจักรไว้ในการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อ 23 ธันวาคม 2550 และ การเลือกตั้ง ส.ว. ในวันที่ 2 มีนาคม 2551 ซึ่งป่านนี้บางคนอาจจะเรียนจบ หรือย้ายที่ทำงาน หรือย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม หรือเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้ว หากประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิตามที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน ก็จะต้องลงทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2554 มิฉะนั้นก็ต้องไปลงคะแนนยังที่เลือกตั้งกลางของจังหวัด หรือสถานทูตหรือสถานกงสุลในประเทศที่ตนได้ลงทะเบียนไว้

เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นลงทะเบียนนอกเขตจังหวัด
-  ต้องเตรียมแบบฟอร์มคำขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด (ขอรับได้ที่ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งหรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือโหลดได้จาก www.ect.go.th) โดยเข้าไปที่ สื่อประชาสัมพันธ์ และเข้าไปที่แบบฟอร์ม แล้วกดโหลด จะได้ แบบ ส.ส. 42
-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หมายเหตุ กรณีนี้ สามารถยื่นรวมกันเป็นกลุ่มได้ โดยใช้คำแบบ ส.ส.42/ก หรือทำเป็นหนังสือที่มี ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง และจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน

วิธีการยื่นคำขอลงทะเบียนนอกเขตจังหวัด
          สามารถยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น ก็คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตของ กทม. นายอำเภอ หรือปลัดเทศบาล โดยมีวิธีการยื่น 3 ทาง คือสามารถยื่นด้วยตนเอง หรือทำหนังสือมอบหมายให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอื่นดำเนินการแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ (ดูตราประทับต้นทางเป็นสำคัญ)

ระยะเวลาในการลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2554
          การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านตามทะเบียนบ้าน ที่ต้องเดินทางออกนอกเขตไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ในวันเลือกตั้ง ก็สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.ล่วงหน้า ได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องยื่นคำขอลงทะเบียนต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่่น ในวันที่ 12 พฤษภาคม-16  มิถุนายน 2554 ณ สถานที่ที่ กกต.เขต กำหนด เช่น สำนักงาน กกต.เขต หรือที่ว่าการอำเภอ เป็นต้น
           ส่วนการลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ต่างประเทศต้องขอลงทะเบียนใช้สิทธินอกราชอาณาจักร ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน (ระหว่างวันที่ 10 พ.ค.-2 มิ.ย. 54) ไปลงคะแนนล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม-26 มิถุนายน 54 ณ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลหรือลงคะแนนทางไปรษณีย์  (ตามที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลกำหนด)

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หรืออ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=680&contentID=139819

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8

 ถ้าการเลือกตั้งล่วงหน้าไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้แล้วมาเลือกตั้งซ่อมล่วงหน้าหลังการเลือกตั้งทั่วไป มีบทบัญญัติชองกฎหมายการเลือกตั้งข้อไหนมารองรับบ้าง เพราะเพิ่งเจอเป็นครั้งแรก แล้วแบบนี้ จะให้มีการเลือตั้งล่วงหน้าทำไม ทำไมไม่ให้มีการเลือตั้งย้อนหลังครับ

โดยคุณ อิน 31 ม.ค. 2557, 19:00

ความคิดเห็นที่ 7

 ถ้าเสียสิทธิืั้ที่สวนหลวง โดนปิด แล้วไม่ได้แจ้งความไว้ จะทำยังไง ให้เลือกตั้งวันที่ 2 ได้ค่ะ

อยากเลือกตั้งอ่ะค่ะ 

โดยคุณ ืnoppawan 29 ม.ค. 2557, 11:55

ความคิดเห็นที่ 6

เคยลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดไว้ค่ะ เลยอยากถามว่าถ้าภายหลัง จังหวัดที่มีชื่อเราในทะเบียนบ้านมีการเลือกตั้ง สท. สจ. ฯลฯ เราจำเป็นต้องกลับไปเลือกตั้งที่จังหวัดนั้นหรือป่าวคะ ถ้าไม่สามารถไปได้จะเสียสิทธิ์อะไรบ้างคะ

โดยคุณ คุณสงสัย 19 ก.ย. 2556, 18:46

ความคิดเห็นที่ 5

ไม่สามารถไปลงเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดใน 26มิ.ย.54ได้  แล้วจะยังมีสิทธ์ ไปลงเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.54  ได้หรือไม่

โดยคุณ วรวุธ วงษ์คำเขียว 24 มิ.ย. 2554, 12:35

ความคิดเห็นที่ 4

คนไทยดอทคอม(www.khonthai.com) เช็คการใช้สิทธิของตัวเองได้ค่ะ

เคยไปลงไว้เมื่อ4ปีที่แล้วไม่ต้องไปลงใหม่ค่ะ ไปใช้สิทธิเขตเดิม

โดยคุณ JJ 4 มิ.ย. 2554, 02:05

ความคิดเห็นที่ 3

อยากทราบเหมือนกันค่ะว่าเคยลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตไว้แล้วเมื่อปี50 ปีนี้ลงไม่ทันสามารถไปใช้สิทธ์ได้ไหมตอบด้วยนะคะ อยากไปใช้สิทธิแต่ลากลับบ้านไม่ได้ค่ะ

โดยคุณ moopink 3 มิ.ย. 2554, 21:32

ความคิดเห็นที่ 2

ผมเคยลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าไว้เมื่อปี 2550 แต่ปีนี้ผมลงไม่ทัน

แล้วผมจะมีสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าหรือป่าวคับ   ขอบคุณล่วงหน้าคับ

โดยคุณ สถิตย์ 3 มิ.ย. 2554, 11:53

ความคิดเห็นที่ 1

ขอบคุณค่ะ

แต่ว่าวันนี้โทรไปสอบถามเทศบาล(หลายๆที่) ตอบไม่เหมือนกัน และได้รับคำตอบว่า "ยังไม่ได้รับหนังสือ  ถ้าไม่มีหนังสือมา เราก็ยังไม่ดำเนินการ"   วันนี้ 27 พ.ค.แล้วนะคะ 

แต่กำหนดให้ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตภายใน 2 มิ.ย.  อืมม... ราชการไทยเมื่อไรจะก้าวหน้า...ทั้งๆที่เวลารับคนเข้าทำงาน  ก็สอบแข่งขัน คัดแต่คนเก่งไม่ใช่หรอคะ   โดยเฉพาะแถวๆ สมุทรปราการเนี้ยค่ะ  บ่าย2 แล้วยังไม่กลับเข้ามาทำงาน  ประชาชนจะพึ่งกามั่งไม่ได้เลย...เฮ้อ

โดยคุณ *** 27 พ.ค. 2554, 13:07

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก