กฎหมายเอาผิดพ่อทำลายข้าวของ ข่มขู่แม่ได้หรือไม่|กฎหมายเอาผิดพ่อทำลายข้าวของ ข่มขู่แม่ได้หรือไม่

กฎหมายเอาผิดพ่อทำลายข้าวของ ข่มขู่แม่ได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กฎหมายเอาผิดพ่อทำลายข้าวของ ข่มขู่แม่ได้หรือไม่

แม่ผมขายของอยู่กับบ้านครับ วันนึงเปิดร้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งจนถึงทุ่มครึ่ง

บทความวันที่ 4 มี.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2740 ครั้ง


กฎหมายเอาผิดพ่อทำลายข้าวของ ข่มขู่แม่ได้หรือไม่

          แม่ผมขายของอยู่กับบ้านครับ วันนึงเปิดร้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งจนถึงทุ่มครึ่ง ส่วนพ่อไม่ทำงานมาเกือบสิบปีแล้วครับ งานที่ร้านก็ไม่ช่วย แถมมาขอเงินแม่ทุกวันอีก วันละห้าร้อยบ้าง สองพันบ้าง บางทีก็สี่พัน แม่ผมเห็นปริมาณเงินที่ขอกับพฤติกรรมพ่อผิดปกติก็เลยไม่ให้ เท่านั้นแหละครับพ่อด่าแม่หน้าร้านต่อหน้าลูกค้าให้อับอาย และเสียใจ จนแม่ต้องยอมให้ ทุกครั้งที่ลูกๆ ให้เงินหรือแม่ให้เงินก็จะออกไปข้างนอกหนึ่งคืน  กลับมาตอนเช้าก็มาขออีก พอไม่ให้ก็ด่าอีก ช่วงหลังๆ เริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ มีการขโมยของในร้านออกไปข้างนอก เช่น นม1ลัง ถังแก๊ส เตาแก๊ส มีการขู่ฆ่าแม่ ทำลายข้าวของในร้าน ขว้างขวดเบียร์ลงมาจากชั้นสองเกือบทุกวัน ลำบากพี่สาวต้องมาเก็บกวาด วันก่อนเพิ่งขว้างไปโดนลูกค้าเลือดไหลเลยครับ ยังดีที่ลูกค้าไม่เอาเรื่อง พอแจ้งตำรวจ ตำรวจก็บอกว่าให้ร้ายแรงกว่านี้ก่อนแล้วค่อยแจ้ง แต่ผมเป็นห่วงแม่กับพี่สาวมากๆ เลยครับ เพราะตัวผมกับพี่น้องคนอื่นทำงานอยู่กรุงเทพ แต่แม่ พี่สาว พ่อ อยู่ต่างจังหวัด หากเกิดอะไรขึ้นไม่สามารถไปห้ามปรามด้วยตัวเองได้ ตอนนี้แม่กับพี่สาวเครียดมากๆ พี่น้องคนอื่นๆ ก็ทนพฤติกรรมพ่อไม่ไหวแล้วครับ อยากจะถาม อ.เดชาว่า
          1.สามารถฟ้องเรื่องที่พ่อ ขู่ฆ่า ทำลายข้าวของ ขว้างปาขวดเบีย ทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่ลูกค้า และคนเดินผ่านไปผ่านมา ได้ไหมครับ ถ้าได้ เป็นคดีอาญารึเปล่าครับ ให้คนที่อยู่ข้างบ้านเป็นพยานได้ไหมครับ พ่อจะได้รับโทษจากความผิดดังกล่าวอย่างไรครับ ไม่อยากให้โทษหนักเกินไปอะครับ แค่ให้ไปสำนึกผิดในคุกซักปีนึงก็พอ
           2.สามารถฟ้องเรื่องที่พ่อขโมยของในร้านได้ไหม เพราะความจริงแล้วยายเป็นเจ้าของร้าน แต่แม่เป็นคนเอาเงินมาลงทุนสินค้าในร้าน ถ้าได้ยายต้องเป็นคนฟ้องรึเปล่าครับ
           3.ถ้าฟ้องหย่าด้วยเหตุผลที่ว่า พ่อไปมีเมียน้อย ทำการด่าทอ ทำลายข้าวของ พฤติกรรมไม่เหมาะสมในฐานะสามี  จะได้ค่าทดแทนประมาณเท่าไรครับ  มีวิธีที่จะทำให้เมื่อหย่าแล้วพ่อไม่ได้ทรัพย์สินจากการหย่าไหมครับ เช่น การเรียกค่าเสียหายจำนวนมากจนต้องเอาสินสมรสมาใช้จนหมด  เพราะ ทรัพย์ที่มีอยู่ตอนนี้ก็เกิดจากแม่หามาทั้งนั้น  พ่อไม่ได้ช่วยอะไรเลย  แถมวันกันยังมาขู่ว่าจะหย่าและจะแบ่งครึ่งทรัพย์สินทั้งหมดอีก
          4.ถ้าก่อนหย่า แม่โอนทรัพย์สินที่เป็นชื่อแม่ทั้งหมดให้ลูกๆ โดยอ้างว่าเป็นทุนให้ลูกเพื่ออนาคต หลังจากหย่าลูกค่อยโอนกลับให้แม่อีกที เพื่อเลี่ยงการแบ่งค่าสินสมรสได้ไหมครับ  จะโดนฟ้องกลับไหมครับเรื่องการเลี่ยงสินสมรส

 

คำแนะนำสำนักงานทนายความ  ทนายคลายทุกข์
           1. พฤติกรรมที่ขู่ฆ่า ทำลายทรัพย์สิน ขว้างปาขวดเบียร์ ลักทรัพย์ ล้วนแล้วแต่เป็นการทำผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายตามความผิดอาญาแต่ละกรณีต่างล้วนมีสิทธิแจ้งความร้องทักข์และดำเนินคดีแก่พ่อได้ตามกฎหมาย
           2. การกระทำของพ่อทั้งหมดทั้งมวล ย่อมเข้าข่ายเป็นการประพฤติชั่ว เป็นเหตุให้แม่ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยามาคำนึงประกอบแล้ว คุณแม่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ ตามเหตุแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1516
          3. แม้ว่าพ่อจะไม่ได้ทำการงานจุนเจือครอบครัว แต่เมื่อจดทะเบียนสมรสกับแม่ ตามกฎหมายแล้วทรัพย์สินที่คู่สมรสแม้แต่ฝ่ายเดียวได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินสมรสที่สามีภรรยาต่างมีส่วนเท่ากัน โดยไม่แยกว่าสินสมรสนั้นฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น เมื่อหย่ากันโดยความยินยอม หรือศาลพิพากษาให้หย่า ก็ต้องแบ่งสินสมรสกันครึ่งหนึ่ง
          4. คุณแม่ไม่อาจหลีกเลี่ยงตามนิติกรรมโอนสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุตร มิฉะนั้น ย่อมไม่มีผลแก่สินสมรสส่วนของพ่อ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก