การบันทึกเสียงการประชุมใช้เป็นพยานหลักฐานได้|การบันทึกเสียงการประชุมใช้เป็นพยานหลักฐานได้

การบันทึกเสียงการประชุมใช้เป็นพยานหลักฐานได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบันทึกเสียงการประชุมใช้เป็นพยานหลักฐานได้

ปัจจุบันการประชุมทางธุรกิจ มีการบันทึกการประชุมทั้งภาพและเสียง ในระหว่างการประชุม

บทความวันที่ 21 ก.พ. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7339 ครั้ง


 

การบันทึกเสียงการประชุมใช้เป็นพยานหลักฐานได้
 
          ปัจจุบันการประชุมทางธุรกิจ มีการบันทึกการประชุมทั้งภาพและเสียง ในระหว่างการประชุม หลังจากนั้นจึงนำไปถอดเทปเก็บไว้เป็นหลักฐาน เหมือนกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือการสนทนาทางการค้าโดยใช้โทรศัพท์ มีการบันทึกเสียงไว้เกี่ยวกับเงื่อนไขและเงื่อนเวลาทางการค้า หรือการทวงหนี้ของสถาบันการเงิน การขายประกันชีวิตทางโทรศัพท์ การทวงหนี้ของบริษัทมือถือ ปัจจุบันมีการบันทึกเสียงทั้งสิ้น มีคำถามว่า การบันทึกเสียงดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ เพราะคู่สนทนาไม่ทราบว่ามีการบันทึกเสียง เป็นการแอบบันทึกเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทนายคลายทุกข์ขอเรียนว่า ปัจจุบันได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาที 4674/2543 วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สามารถใช้ฟังเป็นพยานหลักฐานได้ 
การที่จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียง ซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้น นับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงิน แม้โจทก์จะไม่ทราบว่ามีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริงและการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้ ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงหรือเอกสารถอดข้อความนั้นเป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 243 วรรคสอง
            กรณีที่ 2 เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่บุคคลที่ 3 ลักลอบแอบบันทึกคำสนทนาของคู่สนทนาทางโทรศัพท์ กรณีเช่นนี้เป็นพฤติกรรมที่ผิดต่อกฎหมาย เพราะมี พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติไว้ว่ากระทำเช่นนี้เป็นความผิด เพราะฉะนั้นถือว่าการบันทึกถ้อยคำสนทนาทางโทรศัพท์ของผู้อื่นนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาว่าเทปหรือซีดีบันทึกเสียงคำสนทนาทางโทรศัพท์ของผู้อื่นที่เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่ 3 แอบลักลอบบันทึกดักฟังเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบต้องห้ามรับฟังเด็ดขาด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา  226 หรือเป็นพยานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาด้วยวิธีการที่ไม่ชอบต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226/1 ซึ่งมีข้อยกเว้นให้ศาลใช้ดุลพินิจรับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีนั้นได้ ความเห็นในทางที่จะปกป้องสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารทางโทรศัพท์เห็นว่า ต้องถือว่าพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ เพราะฉะนั้นต้องห้ามรับฟังโดยเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226 โดยให้เหตุผลว่า ถ้าคู่สนทนารู้ว่ามีการดักฟัง การดักฟังเขาก็จะไม่พูดและไม่เกิดถ้อยคำสนทนานั้น ฉะนั้นการที่เขาพูดเพราะไม่รู้ว่าถูกดักฟัง การดักฟังเกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226 ความเห็นในแนวนี้เป็นความเห็นฝ่ายข้างมาก
            ในทางตรงข้ามเห็นไปอีกด้านหนึ่งว่า คำสนทนาของคู่สนทนาไม่มีผู้ใดบังคับฝืนใจให้ต้องพูด คู่สนทนาสมัครใจโดยชอบการกระทำโดยไม่ชอบของเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่ 3 ที่ไปดักฟังเป็นเพียงการนำกล่องไปใส่พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ   เพราะฉะนั้นเทปหรือซีดีบันทึกเสียงที่ลักลอบดักฟังมานี้จึงเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ  แต่ได้มาด้วยวิธีการอันไม่ชอบ ไม่ต้องห้ามรับฟัง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226 แต่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ.มาตรา 226/1 ตัวอย่างในความเห็นฝ่ายที่สองนี้ เช่น ผู้ที่ดักฟังอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ปกติ แต่ว่าทำผิดเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการตามกฎหมายบางประการ เช่น เจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534   ขออนุญาตศาลดักฟังซึ่งศาลอนุญาตให้ดักฟังได้ 90 วัน ในการดักฟัง 90 วันนั้นไม่ได้ข้อความอะไรที่เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ในวันที่ 91 หรือ 92 เกิดดักฟังได้คำสนทนาของคนร้ายรายนี้ แล้วปรากฏว่า คนร้ายรายนี้เป็นพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ พยานหลักฐานอื่นยังไม่พอรับฟังได้มีแต่เทปบันทึกเสียงที่ดักฟังได้แต่ผิดเงื่อนไขตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้ความเห็นฝ่ายที่ 2 เห็นว่าแม้เจ้าหน้าที่กระทำไม่ชอบก็จริง แต่ไม่ถือว่าร้ายแรง แล้วอาชญากรรมรายนี้กระทบกระเทือนสังคมอย่างร้ายแรงพยานหลักฐานชิ้นนี้ก็เป็นของจริงไม่ได้บิดเบือนตัดต่อ ทำไมถึงต้องตัดทิ้งแล้วปล่อยให้ผู้กระทำผิดอย่างร้ายแรงต่อสังคมลอยนวลเพียงเพราะเจ้าหน้าที่ทำผิดพลาดเล็กน้อยด้วยเหตุนี้ความเห็นฝ่ายที่ 2 จึงพยายามวิเคราะห์พยานหลักฐานชิ้นนี้ว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ เพราะคู่สนทนาได้สนทนากันโดยชอบ เจ้าหน้าที่กระทำผิดกฎหมายเพียงวิธีการได้มาเท่านั้น เพราะฉะนั้นพยานหลักฐานเช่นนี้จึงอยู่ในบังคับ ป.วิ.อ.มาตรา 226/1 ศาลอาจใช้ดุลพินิจยกเว้นให้รับฟังได้ถ้าเห็นว่าความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลกระทบที่มีต่อสังคม และเมื่อรับฟังแล้วจะทำให้ระบบงานยุติธรรมของประเทศเป็นไปได้อย่างเหมาะสม
            ความเห็นทั้งสองฝ่ายยังไม่มีข้อยุติ หรือมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานไปทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   (อ้างอิงคำบรรยายเนติบัณฑิตสภา เล่มที่ 10 บรรยายโดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 การบันทึกเสียง

โดยคุณ นืภาพร 1 ต.ค. 2558, 19:04

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก