ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษา เป็นพระภิกษุต้องลาสิกขาหรือเปล่า|ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษา เป็นพระภิกษุต้องลาสิกขาหรือเปล่า

ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษา เป็นพระภิกษุต้องลาสิกขาหรือเปล่า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษา เป็นพระภิกษุต้องลาสิกขาหรือเปล่า

ผมมีคดีลักทรัพย์ศาลชั้นต้นตัดสิน จำคุก 1 ปี 3 เดือน และได้ยื่นอุทธรณ์มา

บทความวันที่ 14 ก.พ. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3026 ครั้ง


ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษา เป็นพระภิกษุต้องลาสิกขาหรือเปล่า

             ผมมีคดีลักทรัพย์ศาลชั้นต้นตัดสิน จำคุก 1 ปี 3 เดือน และได้ยื่นอุทธรณ์มา  ตอนนี้ศาลชั้นอุทธรณ์นัดฟังวันที่ 1 มีนาคม ผมอยากทราบว่า คดีผมจะออกมาแบบไหนแต่
            1. ผมได้ทำการชดใช้ให้เจ้าทุกข์และเจ้าทุกข์ไม่ได้ติดใจเอาความ
            2. เป็นคดีแรก  และตอนนี้ผมบวชเป็นพระ 
             วันขึ้นศาสลต้องลาสิกขาหรือเปล่า  ผมต้องนำอะไรไปบ้าง

 

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
             1. คดีอาญาความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดินไม่อาจยอมความกันได้ แม้ท่านจะได้ชดใช้โดยการคืนทรัพย์สิน หรือราคาที่ผู้เสียหายต้องสูญเสียโดยที่เขาไม่ได้ติดใจเอาความอย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่ท่านรู้สึกถึงความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเข้าเหตุบรรเทาโทษที่ศาลมีอำนาจลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ท่านผู้นั้นได้ ตาม ป.อ.มาตรา 78
            2. เมื่อท่านไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน และคดีนี้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร จะพิพากษาว่าท่านมีความผิด แล้วกำหนดโทษ แต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวไปตาม ป.อ.มาตรา 56
            3. กรณีที่จำเลยไม่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในระหว่างการพิจารณาของศาล ไม่เป็นเหตุยกเว้นการลงโทษหากศาลมีคำพิพากษาว่ามีความผิดและลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา แต่การไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่ต้องลาสิกขา แต่หากศาลพิพากษาว่ามีความผิดโดยไม่รอการลงโทษจำคุก พระจำเลยก็ต้องลาสิกขาบทเพื่อมารับโทษในทางโลกต่อไป
 
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 56
ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิดหรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้น มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้น ศาลอาจกำหนดข้อเดียว
หรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ หรือจัดให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่เจ้าพนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร
(2) ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ
(3) ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก
(4) ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด
(5) เงื่อนไขอื่นๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู หรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก
เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามความในวรรคก่อนนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอของผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควรศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขข้อใด ตามที่กล่าวในวรรคก่อนที่ศาลยังมิได้กำหนดไว้เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้

มาตรา 78  เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก