หนี้หลายธนาคารรวมกันฟ้องได้หรือไม่|หนี้หลายธนาคารรวมกันฟ้องได้หรือไม่

หนี้หลายธนาคารรวมกันฟ้องได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หนี้หลายธนาคารรวมกันฟ้องได้หรือไม่

เป็นหนี้บัตรเครดิตเจ้าละประมาณ 2-3 หมื่นบาท ประมาณ 4 ราย

บทความวันที่ 28 ม.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 18291 ครั้ง


หนี้หลายธนาคารรวมกันฟ้องได้หรือไม่

 

          1. เป็นหนี้บัตรเครดิตเจ้าละประมาณ 2-3 หมื่นบาท ประมาณ 4 ราย เจ้าหนี้จะรวมตัวกันและอายัดทรัพย์สินเราได้หรือไม่ หรือว่าต้องแยกของแต่ละแบงก์ไป 
          2. พี่สาวใช้ชื่อดิฉันผ่อนรถอยู่ เหลืออยู่อีก 10 งวด ก็หมดแล้ว เจ้าหนี้จะยึดรถคันนี้ได้หรือเปล่า
          3.กรณีมีที่ดินเป็นทรัพย์สิน แต่เป็นที่ดิน สปก 4-01 ทางเจ้าหนี้จะสามารถยึดทรัพย์ได้หรือไม่
          4.หากเจ้าหนี้จะทำการยึดทรัพย์ เราต้องเป็นหนี้จำนวนเท่าไหร่คะ เจ้าหนี้ถึงจะยึดทรัพย์สินเราได้

 

 

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
           1. เมื่อธนาคารเจ้าหนี้บัตรเครดิต เป็นเจ้าหนี้ต่างรายกัน และมูลหนี้แม้จะเป็นหนี้บัตรเครดิตเหมือนกัน แต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ ไม่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้จึงไม่อาจร่วมฟ้องด้วยกันได้ ต่างคนต้องแยกฟ้องกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59
          2. แม้รถที่เช่าซื้อจะเป็นชื่อของท่าน ก็มีชื่อเป็นผู้เช่าซื้อฐานเป็นตัวแทนของพี่สาวซึ่งเป็นตัวการเช่าซื้อที่แท้จริง หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดรถคันนี้เพื่อบังคับชำระหนี้ พี่สาวซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริง ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ก่อนเอารถออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288
           3. ที่ดิน สปก.ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิเข้าทำกิน ย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ เป็นที่ดินของรัฐที่จัดสรรให้ราษฎรใช้ประโยชน์ทำกินเท่านั้น เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำยึดที่ดินประเภทนี้ชำระหนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 282
          4. กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนหนี้ที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์ไว้ ดังนั้น แม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ชำระหนี้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213,214 และ ป.วิ.พ.มาตรา 55,271,276,278

 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 213
  ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่

มาตรา 214 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 733 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 55
  เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 59  บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีแต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลแห่งความคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้
(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดย หรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดย หรือทำต่อ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ
(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ใช้ถึงคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย

มาตรา 271  ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา)มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

มาตรา 276 ถ้าศาลเห็นว่าคำบังคับที่ขอให้บังคับนั้นได้ส่งให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว และระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว และคำขอนั้นมีข้อความระบุไว้ครบถ้วนให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้ทันที หมายเช่นว่านี้ ให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ เว้นแต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นจะได้นำหมายไปให้แก่เจ้าพนักงานเอง ส่วนลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้ส่งสำเนาหมายให้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้จัดการส่งแต่ถ้ามิได้มีการส่งหมายดังกล่าวแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องแสดงหมายนั้น
ในกรณีออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าศาลสงสัยว่าไม่สมควรยึดทรัพย์สินนั้น ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ขอยึดวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรในเวลาที่ออกหมายก็ได้ เพื่อป้องกันการบุบสลายหรือสูญหายอันจะพึงเกิดขึ้นเนื่องจากการยึดทรัพย์ผิด
ในกรณีที่ออกหมายบังคับคดีให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายนั้นตามมาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ศาลกำหนดการบังคับคดีเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี

มาตรา 278  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งภาคนี้ว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี นับแต่วันที่ได้ส่งหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือถ้าหมายนั้นมิได้ส่งนับแต่วันออกหมายนั้นเป็นต้นไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางและออกใบรับให้กับมีอำนาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ และมีอำนาจที่จะเอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด ทั้งมีอำนาจที่จะจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้นและดำเนินวิธีการบังคับทั่ว ๆ ไปตามที่ศาลได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดี รวมทั้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีได้โดยให้ถือเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้รับผิดในการรักษาไว้โดยปลอดภัย ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือเอกสารทั้งปวงที่ยึดมาหรือที่ได้ชำระหรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานตามหมายบังคับคดี
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบันทึกแล้วรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งวิธีการบังคับทั้งหลายที่ได้จัดทำไป และรายงานต่อศาลเป็นระยะ ๆ ไป
ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหมายให้บุคคลอื่นปฏิบัติการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้หักค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายนี้ เพื่อให้กรมบังคับคดีพิจารณาจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคสี่โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มาตรา 282  ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่ง ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินให้พอชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัด และขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ คือ
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์
(2) โดยวิธีอายัดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งสิทธิทั้งปวงอันมีอยู่ในทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งบุคคลภายนอกจะต้องส่งมอบหรือโอนมายังลูกหนี้ตามคำพิพากษาในภายหลัง และเมื่อได้ส่งมอบหรือโอนมาแล้ว เอาทรัพย์สินหรือสิทธิเหล่านั้นออกขายหรือจำหน่าย ในกรณีเช่นว่านี้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจะยึดบรรดาเอกสารทั้งปวงที่ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ในอันที่จะได้รับส่งมอบหรือรับโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่ามานั้น
(3) โดยวิธีอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาในภายหลัง แล้วเรียกเก็บตามนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะยึดบรรดาเอกสารทั้งปวงที่ให้สิทธิแก่ลูกนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระเงินเช่นว่านั้น
(4) โดยวิธียึดเอกสารอื่น ๆ ทั้งปวง เช่น สัญญากระทำการงานต่าง ๆ ซึ่งได้ชำระเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแล้ว ซึ่งการบังคับตามสัญญาเช่นว่านี้อาจทวีจำนวนหรือราคาทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเพื่อที่จะนำบทบัญญัติแห่งมาตรา 310(4) มาใช้บังคับ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ทรัพย์สินที่เป็นของภรรยาหรือที่เป็นของบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัดและเอาออกขายได้ตามที่บัญญัติไว้ข้างบนนี้

มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 ถ้าบุคคลใดกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ดังที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
เมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแล้ว ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา เว้นแต่
(1) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนวันกำหนดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงินต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้ในคำสั่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับ เนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
(2) ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์และมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีเหตุอันควรฟัง หรือถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า
คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 7

 เป็นหนี้บัตรมาหลายปี(เกิน10ปี)ไม่รู้โดนฟ้องบ้างหรือเปล่าแต่กำลังจะได้รับมอบที่ดินถ้ารับมอบมาจะโดนยึดไหมค่ะ

โดยคุณ อ้อย 20 ธ.ค. 2559, 16:06

ความคิดเห็นที่ 6

 บ้านของพี่สาวตั้งอยู่ในที่ดิน สปก 4-01บังเอิญว่าพี่สาวไปค้ำประกันรถให้คนๆนึง แล้วโดนฟ้องยึดทรัพ เค้าสามารถยึดบ้านพี่สาวได้ป่าวค่ะพี่สาวเปนเจ้าบ้านค่ะ

โดยคุณ 6 ก.ย. 2559, 08:48

ความคิดเห็นที่ 5

 บ้านของพี่สาวตั้งอยู่ในที่ดิน สปก 4-01บังเอิญว่าพี่สาวไปค้ำประกันรถให้คนๆนึง แล้วโดนฟ้องยึดทรัพ เค้าสามารถยึดบ้านพี่สาวได้ป่าวค่ะพี่สาวเปนเจ้าบ้านค่ะ

โดยคุณ 6 ก.ย. 2559, 08:43

ความคิดเห็นที่ 4

 ตอนนี้ปิดบัตร2ใบผ่อนบัตร3ใบผ่อนบ้านจนอยากจะขายบ้านแล้วเพราะไม่มีเงินทั้งแม่และลูกเจ้าหนี้ก็ทวงไม่อยากค้างชำระแต่ก็ไม่รู้จะหาเงินได้ที่ไหนแบะถ้าต้องการสมัครขายประกันต้องทำอย่างไร

โดยคุณ คนมีหนี้ 30 ส.ค. 2558, 09:59

ความคิดเห็นที่ 3

หากเป็นหนี้แล้วถูกฟ้องจะต้องทำอย่างไรและผ่อนหนี้อยู่หลายใบ 

โดยคุณ คนมีหนี้ 30 ส.ค. 2558, 09:54

ความคิดเห็นที่ 2

เรียน คนมีหนี้

ผมเป็นหนี้บัตรเครดิต บัตรเงินสด ฯลฯ จำนวน 21 บัตร หนี้ประมาณ ล้านกว่าบาท หยุดส่งเมื่อเดือนกันยายน 2556 ได้ขอเจรจาเพื่อขอส่วนลดในการปิดหนี้กับเจ้าหนี้แต่ละแห่งได้ส่วนลดประมาณ 20 ถึง 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ปิดไปแล้ว 13 บัตร เหลืออีก 8 บัตร ถ้าฟ้องศาลเจ้าหนี้อาจเจรจาลดเงินดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าติดตามทวงถามให้ แต่เงินต้นทางเจ้าหนี้มักไม่ค่อยลดครับพยายามเจรจาขอส่วนลดประมาณ 40 กว่า ไม่เกิน 50 % หากส่งสัยหรือต้องการตัวอย่างความช่วยเหลือให้โทรมาหาผมที่ 0922817181 และต้องการทำธุรกิจประกันภัยรถเสริมรายได้เพื่อไปใช้หนี้ก็ยินดีรับสมัครสมาชิกรายได้ 12 % จากเบี้ยสุทธิ สำหรับ พรบ.ประมาณ 33 % หากแนะนำสมาชิกเพิ่มก็มีรายได้ค่าแนะนำ 1 %

                                      ปลัดศรชัย  ค้ามีผล  ที่ว่าการอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

                                     เบอร์ที่ทำงาน 043217099 ต่อ 2 ครับ หรือส่งไลน์มาหาผมตามเบอร์นี้ก็ได้ยินดีให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในฐานะสมาชิกชมรมหนี้บัตรเครดิตแห่งประเทศไทยครับลองเข้าไปศึกษาข้อมูลในเว็บไซต์โดยพิมพ์ว่า "ชมรมหนี้บัตรเครดิตแห่งประเทศไทย" ที่ กูเกิ้ลครับ

โดยคุณ ปลัดศรชัย ค้ามีผล 4 มี.ค. 2557, 21:48

ความคิดเห็นที่ 1

อยากเรียนถามครับ ถ้ากรณีเป็นหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดทั้งหลาย หลายใบ แล้วไม่ได้ชำระเลยเพราะตกงานมาหลายปี มีการโทรทวงถาม ทางเราก้อตอบไปว่ายังตกงานอยู่ไม่มีรายได้ จนกระทั่งวันนึงได้งานแล้ว แต่เงินก้อยังไม่พอที่จะผ่อนชำระให้ได้ เพราะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเนื่องจากมีลูกที่เพิ่งคลอดออกมาได้ไม่กี่เดือน ถ้าเป็นอย่างนี้เราสมควรจะทำอย่างไรครับ เพื่อไม่ให้ทางเจ้าหนี้มาอายัดเงินเดือนเรา เพราะถ้ายึดไปครอบครัวรวมทั้งตัวผมจะหาเงินที่ไหนกิน เคยเจอยึดมาครั้งนึง ธ.กรุงเทพครับ เงินเดือนเข้าธ.นี้ แล้วเขายึดเลย ขอคุยเพื่อให้คืนมาส่วนหนึ่ง จะได้มาใช้จ่าย แล้วจะทยอยผ่อนหนี้ให้ทุกเดือน ทางเจ้าหนี้ก้อไม่คืนครับ จึงทำให้ต้องตกงานอีกรอบ เพราะไม่มีเงินเดินทางไปทำงาน ไปหยิบยืมใครก้อไม่ให้ เพราะเขาก้อลำบากเหมือนกัน คราวนี้พอได้งานใหม่อีกรอบ กลัวจะเจอประวัติซ้ำรอยเดิมอีก ผมควรจะทำอย่างไรครับ ในความคิดผม จะขอติดต่อทุกบัตรทุกรายที่เป็นหนี้อยู่ เพื่อที่จะผ่อนชำระ โดยพึ่งคำสั่งศาล จะดีไหมครับ เนื่องจากเงินเดือนเราประมาณ 19000 และมีค่าใช้จ่ายอีก ค่าห้องรวมน้ำไฟ ก้อประมาณ 5000 ค่ากินค่าใช้ส่วนตัวกับแฟน ค่านมลูกอีก ก้อคงจะ 7000-8000 เพราะแฟนก้อตกงานอยู่ ถ้าศาลให้สั่้งให้ผ่อนหรือยกหนี้ ศาลจะพิจารณาจากตรงไหนบ้างครับ ขอคำปรึกษาด้วยนะครับ ขอบคุณครับล

โดยคุณ คนมีหนี้ 24 ม.ค. 2557, 14:44

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก