การดำเนินคดีผู้บริโภคโดยอาศัยอำนาจ สคบ.|การดำเนินคดีผู้บริโภคโดยอาศัยอำนาจ สคบ.

การดำเนินคดีผู้บริโภคโดยอาศัยอำนาจ สคบ.

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีผู้บริโภคโดยอาศัยอำนาจ สคบ.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ไม่ใช่เสือกระดาษอย่างที่หลาย ๆ คนคิด

บทความวันที่ 19 ม.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3287 ครั้ง


การดำเนินคดีผู้บริโภคโดยอาศัยอำนาจ สคบ.

          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ไม่ใช่เสือกระดาษอย่างที่หลาย ๆ คนคิด มีคดีตัวอย่างที่ต้องชมเชย สคบ. ในการช่วยเหลือผู้บริโภค ประสบความสำเร็จมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าเป็นองค์กรที่ยังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ เช่น คดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3886/2552 ที่จะนำเสนอรายละเอียดดังต่อไปนี้
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล โดยได้รับความเห็นชอบจากอัยการสูงสุด จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด และจัดทำโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัยแบบทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น บนที่ดินโฉนดเลขที่...ของจำเลย ใช้ชื่อว่า โครงการ...คลอง 2  จำเลยโฆษณาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ทำให้ผู้บริโภค 3 ราย คือ นางสาว บ. , นาง ว. และนาย ส.  กับนางสาว ม. หลงเชื่อเข้าจองและทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลย หลังจากทำสัญญา ผู้บริโภคทั้งสามรายชำระเงินค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลย แต่จำเลยมิได้ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามสัญญาอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภครายอื่นว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการ... คลอง 2 โจทก์เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญา อันเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค จึงมีมติให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดำเนินคดีแพ่งกับจำเลยแทนผู้ร้องเรียน และดำเนินคดีแทนผู้บริโภครายอื่นที่จะมาร้องเรียนด้วย ต่อมาผู้บริโภคทั้งสามรายได้ยื่นเรื่องร้องเรียนแก่โจทก์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยและมอบอำนาจให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยและเรียกเงินคืน เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีหนังสือแจงให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 15 วัน หากไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนดถือว่าจำเลยผิดสัญญาและให้ถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 214,300 บาท แก่นางสาว บ. ชำระเงินจำนวน 87,300 บาท แก่นาง ว. และชำระเงินจำนวน 94,900 บาท  แก่นาย ส. และนางสาว ม. พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2540 วันที่ 14 ธันวาคม 2539 และวันที่ 11 มีนาคม 2541 ตามลำดับ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 214,300 บาท แก่นางสาว บ. ชำระเงิน 87,300 บาท แก่นาง ว. และชำระเงินจำนวน 94,900 บาท แก่นาย ส. และนางสาว ม. ผู้บริโภค พร้อมดอกเบี้ยอัตราอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินที่ต้องชำระแก่ผู้บริโภคแต่ละราย นับแต่วันที่ 4 เมษายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้บริโภคค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า “... คดีสำหรับนาง ว. นาย ส. และนางสาว ม. ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จึงถึงที่สุด ฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์  มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2539 (ที่ถูก พ.ศ.2522) มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่า หากมีการละเมิดสิทธิต่อผู้บริโภคแล้ว  โจทก์สามารถดำเนินคดีแทนผู้บริโภคได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจอีก อันเป็นการยกเว้นหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5) ที่ระบุไว้ชัดว่า การฟ้องคดีนั้นจะต้องมีการมอบอำนาจให้ชัดแจ้งเสียก่อนก็ดี หรือฎีกาว่า นางสาว บ. ทำบันทึกการร้องเรียนและหนังสือมอบอำนาจที่ระบุแต่เพียงให้โจทก์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่ให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีก็ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบนั้น เห็นว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรเข้าดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคหรือเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอัยการ หรือ... เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล และเมื่อคณะกรรมการได้แจ้งไปยังกระทรวงยุติธรรมเพื่อแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจดำเนินคดีตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้” ตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวกำหนดไว้ชัดแจ้งในการที่โจทก์จะดำเนินคดีแก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้สองกรณี กรณีแรก เมื่อโจทก์เห็นควรเข้าดำเนินคดีเอง กรณีที่สอง เมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภค ทั้งนี้โดยอยู่ในเงื่อนไขว่า การดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่า โจทก์ได้รับคำร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิและมีการแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคแล้ว  โดยความเห็นชอบอธิบดีกรมอัยการในขณะนั้นให้เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคและโจทก์ได้แจ้งไปยังกระบวนการยุติธรรมเพื่อแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์อำนาจฟ้องแล้ว โดยไม่จำต้องให้ผู้บริโภคมอบอำนาจแต่อย่างใด  โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
          มีปัญหาต้องวินิจฉันตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับนางสาว บ. เป็นสัญญาต่างตอบแทน และไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้กันไว้ เมื่อนางสาว บ. ยังชำระเงินดาวน์ไม่ครบถ้วน จำเลยย่อมมีสิทธิชะลอการก่อสร้างได้ จะถือว่าจำเลยยังผิดนัดไม่ได้นั้น เห็นว่า สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยและนางสาว บ. จะต้องปฎิบัติการชำระหนี้ให้แก่กันและกัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า นางสาว บ. ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วเป็นเงิน 214,300 บาท  อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยก็ต้องทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำภายในเวลาอันสมควร อันได้แก่การต้องลงมือก่อสร้างบ้านตามที่ตกลงไว้ในสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างบ้าน เช่นนี้ถือว่า จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้เป็นการตอบแทน  จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่วันที่ได้รับหนังสือซึ่งไม่เพียงพอที่จำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว หรือฎีกาว่าหนังสือดังกล่าวบอกเลิกสัญญาโดยไม่ระบุข้อความว่า นางสาว บ.พร้อมที่จะชำระเงินดาวน์ส่วนที่เหลือหากจำเลยก่อสร้างบ้านเสร็จและโอนให้นางสาว บ.ได้ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจเจตนาที่แท้จริงว่านางสาว บ. ต้องการบ้านหรือไม่ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงไม่ชอบนั้น เห็นว่า เมื่อนางสาว บ. ยอมชำระเงินให้แก่จำเลยอันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ต่อจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างบ้านเป็นการตอบแทนเช่นนี้จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาตั้งแต่นั้นมา จึงไม่ต้องคำนึงว่าระยะเวลา 15 วัน ที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าวเป็นเวลาพอสมควรหรือไม่  ส่วนที่หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่ระบุข้อความว่านางสาว บ.พร้อมที่จะชำระเงินดาวน์ส่วนที่เหลือก็ไม่ทำให้หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่ชอบแต่อย่างใด เพราะข้อความดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญของการบอกเลิกสัญญา หนังสือบอกเลิกสัญญาชอบแล้ว จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินคืนนางสาว บ. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น  ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น”
           พิพากษายื่น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก