ปลูกบ้านบนที่ดินที่เจ้าของเสียชีวิตไปแล้วต้องทำอย่างไร|ปลูกบ้านบนที่ดินที่เจ้าของเสียชีวิตไปแล้วต้องทำอย่างไร

ปลูกบ้านบนที่ดินที่เจ้าของเสียชีวิตไปแล้วต้องทำอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปลูกบ้านบนที่ดินที่เจ้าของเสียชีวิตไปแล้วต้องทำอย่างไร

บ้านหลังนี้มีเลขที่บ้านปกติ สมัยตั้งแต่คุณย่ามีชีวิตอยู่ แต่ว่าท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมใดๆ

บทความวันที่ 18 ม.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 410 ครั้ง


ปลูกบ้านบนที่ดินที่เจ้าของเสียชีวิตไปแล้วต้องทำอย่างไร

 

 

           บ้านหลังนี้มีเลขที่บ้านปกติ สมัยตั้งแต่คุณย่ามีชีวิตอยู่ แต่ว่าท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมใดๆ ไว้ก่อนเสียชีวิต เพียงแต่ได้แจกแจงให้ลูกๆ ทั้ง 9 คนนั้นรับทราบในส่วนของใครที่จะได้ปลูกบ้านตรงไหนบ้าง แต่ไม่มีได้ลายลักษณ์อักษร ซึ่งก็ได้มีบ้านของคุณลุง และคุณอา ได้ทำการปลูกไปบนพื้นที่ดินตรงนี้ในสัดส่วนของตน ก่อนคุณย่าเสีย ซึ่งคุณย่าน่าจะเป็นคนเซ็นต์อนุญาต ณ ขณะนั้นที่ท่านยังมีชีวิต
           ส่วนในที่ดินของคุณพ่อของข้าพเจ้า ก็คือ ที่ตรงบริเวณบ้านของคุณย่านั่นเอง แต่ว่าเราต้องการที่จะซ่อมแซมบ้านนั้นเนื่องจากว่า ผุพัง แต่พอให้ช่างมาดู ช่างมีความเห็นว่า ควรจะปลูกใหม่เพราะว่า คานด้านบนผุแล้ว ต้องทุบใหม่ทั้งหลัง  คุณแม่ในฐานะที่เป็นเจ้าบ้าน ของบ้านเลขที่ดังกล่าว เพราะว่าก่อนย่าเสีย  เค้าได้มอบให้แม่เป็นเจ้าบ้านของบ้านเลขที่นี้ บนที่ดินพื้นเดียวกัน กับลูกคนอื่นๆของย่า (คุณแม่เป็นลูกสะใภ้) ก็เลยได้ไปยื่นเรื่องกับทางกองช่างโยธา เพื่อขอปลูกบ้าน และขอแบบบ้านฟรีเพื่อประชาชน แต่ว่าทางกองช่างบอกว่า ต้องนำโฉนดที่ดินตัวจริงไปแสดง ถ้าไม่ใช่เจ้าของก็ต้องมีใบยินยอมจากเจ้าของที่ แล้วจะไปให้ใครเซนต์ล่ะค่ะ คุณย่าเสียไปแล้ว
            ย่าเป็นเจ้าของโฉนด ท่านเสียไปแล้วทำอย่างไร แต่ว่าเราจะสร้างบนที่ดินเดิม ไม่ได้ไปล่วงล้ำเขตของพี่น้องคนอื่น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กองช่างก็ถามว่า มีผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตอบว่าไม่มี เพราะว่าทางพี่น้องของพ่อ ไม่ลงรอยกัน และต่างคนต่างเฉยไม่ ดำเนินการเรื่องแบ่งแยกมรดก ตรงนี้ ถ้าตามสิทธิถามว่า ขอบครัวดิฉัน จะสามารถปลูกบ้านบนที่ดินในส่วนของบ้านเลขที่นี้หรือไม่ค่ะ และตอนนี้เราได้ทุบบ้านไปแล้วบางส่วน เนื่องจากว่า ตอนแรก กะจะทำการซ่อมแซม ต่อเติมเท่านั้น กลายเป็นคนไม่มีที่พักอาศัยไปแล้วค่ะ ตอนนี้ร้อนใจมาก

 


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
             ที่ดินดังกล่าว ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของคุณย่าตกได้แก่บุตรทั้ง 9 คน ผู้สืบสันดานทายาทโดยทายาทต่างเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1620,1629(1), 1750

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1620
  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1)  ผู้สืบสันดาน

มาตรา 1750  การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท
ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญา จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 850, 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก