ข้อกำหนด ข้อห้ามในการเที่ยวอุทยานช่วงเทศกาลปีใหม่|ข้อกำหนด ข้อห้ามในการเที่ยวอุทยานช่วงเทศกาลปีใหม่

ข้อกำหนด ข้อห้ามในการเที่ยวอุทยานช่วงเทศกาลปีใหม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อกำหนด ข้อห้ามในการเที่ยวอุทยานช่วงเทศกาลปีใหม่

ช่วงเทศกาลปีใหม่ หลายคนชอบที่จะเดินทางไปเที่ยวทางภาคเหนือตอนบน

บทความวันที่ 29 ธ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1786 ครั้ง


ข้อกำหนด ข้อห้ามในการเที่ยวอุทยานช่วงเทศกาลปีใหม่

            เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 2554  ทนายคลายทุกข์มีความห่วงใยในสวัสดิภาพของพี่น้องประชาชน  เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล ต้องเดินทางไปพักผ่อน  มีการสัญจรไปมาบนท้องถนนมาก  และบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือในช่วงเทศกาลปีใหม่  ทนายคลายทุกข์จึงได้รวบรวมเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่ท่านจะขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงโทรศัพท์ ของ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์ ที่ท่านจะขอความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน โทร .081-912-5833       

            โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ  ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2514  เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา  18  แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ  พ.ศ.  2504  อธิบดีกรมป่าไม้โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกระเบียบไว้  ดังต่อไปนี้
 ข้อ  1.  ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2533 “
     ข้อ  2.  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่  15  เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป
      ข้อ  3.  ให้ยกเลิกระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2514 บรรดาระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
      ข้อ  4.  บุคคลซึ่งเข้าไปหรือใช้สถานที่ต่าง ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติต้องปฏิบัติ ดังนี้
 (1)  ห้ามมิให้นำยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดังหรือควันดำผิดปกติวิสัยเข้าไป
 (2) การขับขี่ยานพาหนะต้องปฏิบัติตามกฎ หรือเครื่องหมายจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้ การจอดยานพาหนะต้องไม่กีดขวางทางจราจร
 (3) การเข้าออกให้กระทำได้เฉพาะตามเส้นทางที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้ และเมื่อถึงด่านตรวจต้องหยุดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจก่อน
 (4) ห้ามนำสารเคมีที่มีพิษตกค้างตามบัญชีสารเคมีท้ายระเบียบนี้เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน
 (5)  การอาบน้ำหรือลงไปในลำน้ำ ให้กระทำได้เฉพาะบริเวณที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้
 (6)  การเล่นกีฬา ให้กระทำได้ในบริเวณที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้
 (7)  การพักแรมค้างคืนโดยการจอดยานพาหนะนอน ใช้เต็นท์ กระโจม รถพ่วง หรือโดยวิธีอื่น ๆ ให้กระทำได้ในบริเวณที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้
 (8)  การก่อไฟเพื่อการใด ๆ ให้กระทำได้เฉพาะในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้และต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เมื่อเลิกใช้แล้วต้องดับไปให้เรียบร้อย
 (9)  การใช้สถานที่เพื่อการใด ๆ ต้องมิให้เป็นการเสื่อมเสียศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม และต้องไม่ส่งเสียงอื้อฉาว หรือกระทำการอันเป็นการรบกวนหรือเป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่คนหรือสัตว์
 (10)  การเดินเที่ยวชมธรรมชาตินอกทางถาวร ให้ใช้เส้นทางที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดหรือทำเครื่องหมาย
 (11)  เมื่อเกิดเหตุหรืออันตรายใด ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้พบเห็นแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบโดยด่วน เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที
 ข้อ  5.  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อื่นหรือตนเองหรือจะเป็นการรบกวนหรือเดือดร้อนรำคาญแก่คนหรือสัตว์หรือจะทำให้เสียหายแก่สภาพธรรมชาติหรือสิ่งอื่นใด พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งห้ามมิให้ผู้นั้นกระทำการดังกล่าวต่อไปได้
 ข้อ  6.  ให้อธิบดีกรมป่าไม้รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมป่าให้เป็นที่สุด

ประกาศ ณ วันที่  14  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2533
(ลงนาม) ไพโรจน์ สุวรรณกร
(นายไพโรจน์ สุวรรณกร)
อธิบดีกรมป่าไม้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก