การแบ่งมรดกในกรณีไม่มีพินัยกรรม|การแบ่งมรดกในกรณีไม่มีพินัยกรรม

การแบ่งมรดกในกรณีไม่มีพินัยกรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การแบ่งมรดกในกรณีไม่มีพินัยกรรม

ตาของกระผมท่านได้เสียชีวิตลง โดยที่ท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมใดๆ เลย

บทความวันที่ 5 ก.ย. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 79279 ครั้ง


การแบ่งมรดกในกรณีไม่มีพินัยกรรม

     ตาของกระผมท่านได้เสียชีวิตลง โดยที่ท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมใดๆ เลย โดยท่านมีทรัพย์สิน เช่น ที่นา ที่ไร่ เป็นต้น และเมื่อท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ด้วยความเชื่อใจกันระหว่างพี่น้องที่คลอดตามทันมา จึงไม่ได้มีการจัดสรรปันส่วนของมรดกดังกล่าวให้เรียบร้อย และแล้วเรื่องก็เกิดขึ้นเมื่อลุง (พี่ชายของแม่) กลับแสดงความเป็นเจ้าของของที่ดินทั้งหมดของตาแต่เพียงผู้เดียว  โดยไม่แแบ่งให้พี่หรือน้องคนอื่นๆ เลย และเมื่อน้องๆ มาขอให้มีการแบ่งมรดกให้เรียบร้อย ลุงกลับปฏิเสธที่จะดำเนินการ  เพราะแกจะเก็บไว้คนเดียว กระผมอยากจึงอยากทราบดังนี้
     1. การแบ่งมรดกในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรมนั้น ต้องแบ่งอย่างไรครับ
     2. การที่ลุงไม่ยอมให้มีการแบ่งมรดกโดยยึดครองเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ มีความผิดหรือไม่ชอบหรือไม่
     3. จากข้อ 2 ถ้ามีความผิดหรือไม่ชอบ บรรดาลูกของตาคนอื่นๆ สามารถดำเนินการอย่างใดได้บ้าง
     4. หากมีการแต่งตั้งทนายเพื่อฟ้องร้องคดี และเมื่อชนะคดีเราสามารถกำหนดให้ลุงของกระผมไม่ต้องได้รับมรดกเลยได้หรือไม่
     5. เนื่องจากกระผมและครอบครัวไม่ได้เป็นคนมีเงินอะไรมากนัก แต่ก็อยากได้รับความเป็นธรรมและมรดกของตาที่เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ทำมาหากิน กระผมจะขอรับควมช่วยเหลือจากทนายความฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยๆ ได้จากที่ไหนบ้างครับ

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
     1.การแบ่งทรัพย์มรดก  กรณีที่คุณตาเจ้ามรดกตาย  โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  ตามกฎหมายให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหลายแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1620  ดังนั้น  ทายาทโดยธรรมของคุณตาที่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่บุตรของคุณตา  ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานทายาทโดยธรรม ที่มีสิทธิได้รับมรดกลำดับที่ 1  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1) คุณลุงและน้อง ๆ  ต่างมีสิทธิได้รับมรดกของคุณตาโดยแบ่งในส่วนเท่า ๆ กัน
     2.เมื่อคุณลุงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเพียงคนเดียวไม่ยอมแบ่งให้แก่น้อง ๆ  ซึ่งเป็นทายาทด้วยกัน  ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของน้อง ๆ  ถือว่าคุณลุงได้กระทำการยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น  คุณลุงจึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้มรดกเลยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1605  ดังนั้น  เมื่อการกระทำของคุณลุงดังกล่าว  เป็นการโต้แย้งสิทธิของน้อง ๆ  น้อง ๆ และรวมทั้งคุณแม่ของท่าน  ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกของคุณตาเอาจากคุณลุงที่ครอบครองไว้นั้น  เพื่อให้แบ่งกันระหว่างทายาท  ภายใน 1 ปี  นับแต่เจ้ามรดกตาย  หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
     3. เมื่อน้อง ๆ ได้ฟ้องคดีมรดกเรียกทรัพย์มรดกดังกล่าว  ก็สามารถที่จะฟ้องคุณลุงที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกไม่ให้ได้รับมรดกเลย   เนื่องจากการกระทำของคุณลุงเป็นการกระทำผิดทางแพ่งต่อทายาทอื่น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
     4. เมื่อท่านและครอบครัวประสงค์ที่จะขอรับความเป็นธรรม  แนะนำให้ท่านเข้ามาพบทีมงานทนายความทนายคลายทุกข์ได้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1605
  ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น
มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น

มาตรา 1620  ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1)  ผู้สืบสันดาน

มาตรา 1754  ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 111

คุณพ่อได้เสียชีวิตอย่างกระทันหัน ขณะได้อยู่กินกับภรรยาคนที่ 3 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) แต่มีบุตรด้วยกัน 1 คน อายุประมาณ 21 ปี ไม่มีพินัยกรรม
 
คุณแม่ซึ่งเป็นภรรยาคนที่ 1ได้เสียชีวิตไปก่อนนี้ 5 ปีแล้ว (มีทะเบียนสมรส) มีบุตรสาว  2 คน คือหนู กับ น้องสาว ซึ่งแต่งงานแล้วทั้งคู่ค่ะ

ส่วนภรรยาคนที่ 2 มีทะเบียนสมรสแต่หลังจากของคุณแม่ (คงที่เรียกว่าจดทะเบียบสมรสซ้อน )มีบุตรชาย       2 คน แต่งงานแล้วทั้งคู่ค่ะ
ทรัพทย์สินเท่าที่ทราบ
1 บ้านที่คุณพ่ออาศัยอยู่กับภรรยาคนที่ 3 ซึ่งเป็นชื่อของคุณพ่อและภรรยา
2.บัญชีธนาคาร 
3.รถยนต์
4.พระพุทธรูป  พระเครื่อง

จึงขอเรียนถามว่าใครจะมีส่วนในทรัพทย์สินตามกฎหมายของคุณพ่อบ้างน่ะค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
โดยคุณ ธิดา 1 เม.ย. 2564, 14:57

ความคิดเห็นที่ 110

ขอเรียนถาม เกี่ยวกับการแบ่วมรดกผู้ตาย(มารดา) มารดามีเงินสด 3600000 บาท สามีคือพ่อเป็นผู้จัดการมรดก ในครอบครัวมีลูก 3 คน การแบ่งเงินมรดกนี้แต่ละคนจะได้คนละเท่าไร(ตามที่กฏหมายกำหนด)  ขอบคุณมา ณ ที่นี้

โดยคุณ วิวัฒน์ ฟุ่มเฟื่อง 3 ก.พ. 2564, 13:12

ความคิดเห็นที่ 109

สอบถาม ถ้าบิดาเกิดเสียชีวิตโดยไม่มีพินัยกรรมทรัพย์จะตกเป็นของใคร  มีพี่น้อง2คน พี่ชายเสียชีวิตไปแล้วแต่มีลูกที่จดทะบียน 2คนแลพ่อยกที่ให้ปลูกบ้านไปแล้ว แต่พี่สะใภ้และหลานไม่เคยมาสนใจพ่อเลย เขาจะยังได้ทรัพย์อยู่หรือไม่ และถ้าไม่ต้องการใหเขาได้ทรัพย์ไปต้องืำอย่างไร

โดยคุณ Jung 18 ก.ค. 2562, 21:07

ตอบความคิดเห็นที่ 109

การยกให้เป็นสิทธิ์ของทางเจ้าของที่ครับ ส่วนการทายาทที่มีสิทธิ์ได้มรดกแทนที่คือ ต้องตายก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ถ้าผู้ตายซึ่งเป็นทายาทมีลูกก็มีสิทธิ์รับมรดกในส่วนของผู้ทายที่เป็นทายาทได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ก.ค. 2562, 13:58

ความคิดเห็นที่ 108

ตอนนี้คุณพ่อทุกข์ใจมาก เนื่องจากที่ดินมีชื่อ2 คน คือชื่อพ่อและชื่อลุง(พี่ชายพ่อ)ไม่มีภรรยาไม่มีลูกและพ่อมีพี่น้องคลานตามกันมา8คนร่วมพ่อ ที่ดินโฉนดใบเดียวแต่เขียนแบ่งสัดส่วนชัดเจนไว้ที่หัวโฉนด ที่ดินทั้งหมดมี8950 ส่วน แบ่งให้ลุง 2700ส่วน=6ไร่กว่า ของพ่อ6250ส่วน=15ไร่กว่ททั้งหมด22ไร่1งาน50 ตารางวา และพ่อกับลุงได้แบ่งขายที่ดินนี้ พ่อบอกขาย10ไร่ ลุงบอกขาย5 ไร่ แต่ตอนขายไม่ได้มีการเขียนหลักฐานไว้ว่าพ่อขายเท่าไหร่เหลือสัดส่วนเท่าไหร่ ลุงขายเท่าไหร่เหลือสัดส่วนเท่าไหร่ มีแต่การเขียนว่าขาย ไป15 ไร่ เหลือ7ไร่ และเปิดบัญชีที่ใช้ในการขายเป็นชื่อร่วมกันอีก ชื่อ

พ่อและชื่อลุง หลังจากขายเสร็จได้2-3ปี ลุงเสียชีวิต พ่อเป็นผู้จัดการมรดก ลุงไม่มีลูกและภรรยา พ่อมีพี่น้อง8 คนรวมพ่อแต่เสียชีวิตไปแล้ว6 คนรวมลุงที่มีชื่อในที่ดิน ตอนนี้พ่อจะแบ่งที่ดินในส่วนของลุงที่เหลือจากการขายไปแล้ว1 ไร่กว่าให้กับทายาทคือหลานๆพ่อคือลูกๆของพี่ชาย เท่าๆกันและจะแยกที่ดิน5ไร่กว่าของพ่อที่เหลือจากการขายแล้วออกมา ไปติดต่อกรมที่ดิน ขอรังวัดแบ่ง1ไร่กว่าของลุงให้ทายาทและ5ไร่กว่าของพ่อให้กับลูกๆคือตัวเราแต่กรมที่ดินแจ้งว่าที่ดินส่วนของพ่อยังไงก็ต้องมีชื่อลุงที่เสียชีวิตแล้วอยู่ดี เพราะเป็นชื่อร่วม ไม่สามรถแบ่งแยกได้เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าของใครเหลือเท่าไหร่. เพราะตอนขายไม่ได้ระบุว่าใครขายเท่าไหร่เหลือเท่าไหร่ ที่นี้ถ้าพ่อแบ่งส่วนของลุงให้ทายาทคนอื่นๆแล้ว แล้วในส่วนของพา ยังมีชื่อลุงอีก พ่อก็กลัวว่าต่อไป หลานๆพ่อก็จะสามารถมาฟ้องร้องเอาที่ดินในส่วนของลุงได้อีก เพราะยังมีชื่อลุงอยู่ 


1.พ่อจะต้องทำยังไงดีค่ะ จะกันส่วนของตัวเองออกมาเป็นชื่อพ่อคนเดียวก็ทำไม่ได้ต้องมีชื่อลุงด้วย

2.แล้วหลานๆพ่อสามารถฟ้องร้องพ่อจะเอาที่ดินลุงได้อีกไหมค่ะ

3.หลักฐานการขายที่ดินไม่ได้เขียนชัดเจนว่าใครขายเท่าไหร่ มีแต่สมุดบัญชีที่เปิดร่วมกันเป็นหลักฐานได้

ไหมค่ะ 

มืด8ด้าน ขอความช่วยเหลือ กรุณาตอบให้ได้รับความกระจ่างแจ้งหน่อยนะค่พ




ขอบคุณมากค่ะ


โดยคุณ ชลดา ช่างเหล็ก 16 ก.ค. 2562, 08:23

ความคิดเห็นที่ 107

ผมแต่งงานกับภรรยา  จดทะเบียนสมรส  ทรัพย์สมบัติทั้งหมดเป็นชื่อภรรยา  พ่อของผมเสียชีวิตแล้ว  เหลือแต่แม่  รบกวนสอบถามว่า  ถ้าผมเสียชีวิต  ผมจะมีมรดกไหมครับ

โดยคุณ ฉัตรชัย 23 มิ.ย. 2562, 18:04

ความคิดเห็นที่ 106

สอบถามครับ ทีดินของปู่ ได้ยกให้ พ่อผมเป็นผู้จักการมรดก แต่พ่อผมมีพีน้อง 5คน แต่ทางพ่อผม ได้เอาโฉนดทีดินไปจำนำยืมเงินกับน้องไว 1แสนบาท โดยไม่มีการเขียนสัญญาอะไร มีแค่พี่น้องรับรู้ด้วนกันทั้ง5คน แค่พูดกันว่า มีเงินวันไหนก็มาไถ่เอาโฉนดคืน พร้อมกับเงินทียืมไป1แสน มาคืน  แต่ทีนี้ตัวพ่อผมและน้องก็ต่างเสียชีวิต แล้วตอนนี้ โฉนดใบนั้นจึงอยู่กับลูกสาวของน้องพ่อ ชึ่งเขาบอกว่า ถ้ายากได้คืน ให้เอาเงิน 4แสนบาทมาไถ่ถอนเอา  แต่โฉนดใบนั้น ยังเป็นชื้อพ่อผม อยู่  แต่โฉนดใบนี้ยังไม่ได้แบ่งแยก แต่พ่อผมเป็นผู้จัดการมรดกทั้งแปลง  แต่แค่มีการคุยกันในญาติพีน้องว่าคนไหนจะได้จุดไหนแค่นั้น  ผมเลยยากจะถามว่า ถ้าพ่อผมเป็นผู้จักการแต่เสียชีวิตแล้ว นั้น แล้วคนต่อไปทีจะมารับช่วงต่อมรดกส่วนนี้  1.จะเป็นในส่วนญาติพี่น้องพ่อ หรือเป็นใครครับ

                  2.และถ้าผมยากได้ทีดินในสวนทีพ่อผมไปจำนำไวคืนต้องทำอย่างไรครับ

โดยคุณ อภิชาติ เชื้อกุณะ 12 มิ.ย. 2562, 02:16

ตอบความคิดเห็นที่ 106

การกู้ยืมเงินถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ไม่สามารถฟ้องร้องได้ ส่วนการรับมรดกแทนที่ ทายาทลำดับที่ 1 , 3 , 4 , 6 ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตายให้ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นรับมรดกแทนที่

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 10 ก.ค. 2562, 14:21

ความคิดเห็นที่ 105

1.ในการจัดการมรดก....ถ้าลูกอีกคนไม่มาเซ็นยินยอม จะทำอย่างไร..

2.เค้าอาจเซ็นยินยอมก็ต่อเมื่อเค้าจะต้องได้ที่ดินและบ้าน

  3.เค้าไม่เชื่อใจว่าพี่น้องจะให้จริง...เลยทำบันทึกข้อความแนบท้าย..ควรพิจารณาอย่างไรดีค่ะ


โดยคุณ ณัฐฐิกานต์. ชนะกุล 24 พ.ค. 2562, 13:59

ตอบความคิดเห็นที่ 105

ในกรณีการแบ่งมรดกถ้าหากมีข้อพิพาทสามารถขอให้ศาลเป็นผู้แบ่งได้ ร้องต่อศาลได้เลยครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 13 มิ.ย. 2562, 09:56

ความคิดเห็นที่ 104

แม่เสียชีวิตไปแล้วแต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้แม่มีลูก6คนมีรายได้จากการทำหอพักน้องจะฟ้องขอแบ่งมรดก ทรัพสินและรายได้จากหอพักต้องโดนอายัดไว้ก่อนมั้ยค่ะ และน้องที่ฟ้องไม่เคยมาดูแลพ่อแม่เลย

โดยคุณ ธารารัตน์ ตันเจริญ 14 พ.ค. 2562, 16:15

ตอบความคิดเห็นที่ 104

สามารถฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ ส่วนทรัพย์สินรายได้จากหอพัก ไม่สามารถยึดไว้ก่อนได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 19 มิ.ย. 2562, 09:29

ความคิดเห็นที่ 103

ขออนุญาตสอบถามเพื่อเกี่ยวกับการแบ่งมรดกค่ะ

เนื่องจากคุณย่าของฉันได้เสียชีวิต โดยคุณปู่ยังมีชีวิต และมีบุตร 3 คน คือ คุณลุง คุณอา และพ่อของฉันค่ะ(คนที่อยู่กับคุณย่า คุณปู่ คือ คุณอากับสามีเค้า) คุณลุงอยู่อีกอำเภอหนึ่ง ส่วนคุณพ่อและครอบครัว อยู่ กทม.ค่ะ โดยจะกลับไปตามเทศกาลค่ะ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ หรือ มีงานสำคัญๆ หรือ ท่านใดป่วย คุณพ่อกับคุณแม่ก็จะกลับไปค่ะ


อย่างเช่นคุณย่าก่อนท่านเสีย เกิดจากท่านล้มจนเดินไม่ได้ คุณพ่อและคุณแม่ก็ลงไปดูท่านตลอดนับเดือน จนท่านหมดลม


ประเด็นเรื่องนี้เนื่องจากคุณย่าได้สั่งเสียไว้ก่อนจะสิ้นลมว่า คุณย่ามีเงินอยู่ให้เอาไว้จัดงานและจะได้จาก ธอส. ให้ลูกแบ่งกัน


พอจบงานเรียบร้อยคุณพ่อเลยไปไถ่ถามกับคุณอา เรื่องเงิน ธอส. แต่กลับถูกปฎิเสธ คุณอากล่าวว่าไม่แบ่งให้ เพราะว่าคุณอาเป็นคนดูแลคุณย่า และ คุณปู่ เขาควรได้รับไว้ทั้งหมด และอีกส่วนหนึ่งคือที่ดินของคุณย่า ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่จะไปดำเนินการแบ่งให้ลูกๆ ทั้ง 3 แต่ยังไม่ได้ทำสักที จนท่านเสีย คุณพ่อก็ถามคุณอาอีก แต่ก็ถูกปฎิเสธเช่นกัน โดยเหตุผลก็เช่นเดิม คือ ทางคุณพ่อไม่เคยไปช่วยปลูกข้าว เกี่ยวข้าว เขาไม่ให้


จากเรื่องราวข้างต้นดิฉันอยากเข้าใจว่า จริงๆ แล้วเหตุผลที่คุณอากล่าวมานั่น มันมีผลต่อทางกฎหมายที่ใช้การแบ่งมรดกได้หรือไม่ค่ะ โดยความรู้สึกส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของคุณอา ดูไม่ยุติธรรม จริงๆ มีเงินอีกหลายส่วนที่คุณย่าได้รับจากการเสียชีวิต เช่น กองทุนหมู่บ้านต่างๆ แต่คุณพ่อก็บอกว่าไม่ได้สนใจ ถือว่ายกให้คุณอา แต่ส่วนเงิน ธอส. กับที่ดิน คุณย่าได้กล่าวไว้ก่อนสิ้นลม จึงได้ไปไถ่ถาม แต่กลับถูกปฎิเสธ


รบกวนขอความรู้ และ สิ่งที่สามารถกระทำได้ให้ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อยค่ะ


ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

โดยคุณ ปณิชา 4 มี.ค. 2562, 14:08

ความคิดเห็นที่ 102

ขอรบกวนปรึกษาค่ะ

สามีของดิฉันซื้อบ้านในปี 2535 โดยกู้เงินจากธนาคารและยังคงผ่อนอยู่ ต่อมาปี 2537 ได้จดทะเบียนสมรสกับดิฉัน ในปี 2543 สามีต้องการการเงินปรับปรุงบ้านและใช้จ่ายในครอบครัว จึงยื่นขอกู้เงินเพิ่มและธนาคารได้เปลี่ยนสัญญาเงินกู้ใหม่ โดยมีชื่อสามีและดิฉันเป็นผู้ร่วมในสัญญากู้เงินฉบับใหม่ ดิฉันและสามีก็ได้ผ่อนชำระหนี้ร่วมกัน ต่อมาปี 2559 สามีของดิฉันป่วยหนักและเสียชีวิต ดิฉันจึงรับภาระผ่อนบ้านเพียงผู้เดียวจนถึงปัจจุบัน หลังจากสามีเสียชีวิตลูกของภรรยาเก่า 4 คน(ภรรยาเก่าหย่าแล้ว)พร้อมทนายความ ได้มาขอแบ่งทรัพย์สินโดยอ้างเป็นเป็นสินส่วนตัวของสามีดิฉัน เขาบอกว่าตามกฎหมายบ้านหลังนี้ต้องหารเป็น 6 ส่วน ดิฉันมีลูก 1 คน ดิฉันและลูกจะได้รับเพียงสองส่วนเท่านั้น และยังคงมีหนี้ในธนาคารอีก ดิฉันคิดว่าไม่ยุติธรรมสำหรับดิฉัน ดิฉันและลูกทุกข์ใจมาก เพราะพวกเขาต้องการขายบ้าน ดิฉันและลูกก็ต้องย้ายออก ขอความเมตตาจากท่านช่วยกรุณาให้ความกระจ่างต่อดิฉันด้วย ขอกราบขอบพระคุณท่าน ณ โอกาศนี้

โดยคุณ สุพัฒนา 22 ธ.ค. 2561, 16:46

ตอบความคิดเห็นที่ 102

ขอเรียนสอบถามครับ กรณีคุณตาเสียชีวิต ไม่ได้ทำพินัยกรรม มีทรัพย์สินคือ1.ที่ดิน 2.เงินฝากในบัญชี(บัญชีมี2ชื่อ คือ ตาและแม่ของผม สามารถเบิกเงินจากบัญชีนี้ได้ทั้งคู่) ซึ่งคุณตาไม่มีคู่สมรสและทายาท มีพี่น้องร่วมสายเลือด 6 คนรวมคุณตาแต่พี่น้องเสียชีวิตไปแล้ว 3 คน เรียนสอบถามว่า 1. ทรัพย์สินทั้งหมดจะถูกแบ่งให้พี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด โดยแบ่งเท่ากันใช่ไหมครับ 2.บัญชีเงินฝากที่แม่ของผมสามารถเบิกได้ถือเป็นมรดกไหมครับ แม่ของผมมีสิทธิ์ในเงินจำนวนนี้อย่างไรครับ 3.ผมควรดำเนินการอย่างไรต่อไปครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

โดยคุณ Bee 28 ก.พ. 2562, 12:14

ตอบความคิดเห็นที่ 102

ทายาทที่จะมีสิทธิรับมรดกจากผู้ตาย ต้องเป็นทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 คือ ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย  (6) ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635  ส่วนทรัพย์มรดกที่จะต้องแบ่งระหว่างสามีภริยาต้องเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474  คือ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส  (2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส


โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 3 ม.ค. 2562, 10:43

ความคิดเห็นที่ 101

กรณี ตากับยายแต่งงานกัน พี่ของยายแบ่งที่ดินให้ยาย (ตามี2 คน)ขนะที่พี่ของยายแบ่งที่ดินให้อยู่กับตาคนแรกที่ยังมีชีวิตและมีบุตรด้วยกัน 2 คน และปัจจุบันตาคนแรกเสียชีวิต ได้มาแต่งงานกับตาคนที่ 2 มีบุตรกับตาคนที่ 2 ด้วยกัน 4 คน ที่ดิน มี 14 ไร่ กรณีนี้ ใครที่จะสามารถรับสิทธิ์ กรณีนี้ ยาย เสียชีวิต ตาคนที่ 2 ยังมีชีวิต หรือถ้าหากแบ่งกัน ใครที่จะได้รับสิทธิ์ ของยาย หรือต้องแบ่งกันเท่าๆกัน 
โดยคุณ คงเดช 26 พ.ย. 2561, 16:22

ความคิดเห็นที่ 100

ทวดที่เป็นพ่อแม่ของคุณตาได้แบ่งที่ดินให้ตาและยายประมาณ 30 ไร่ ซึ่งเป็นชื่อของยาย แต่หลังจากที่ตาเสียชีวิตลง ลูกของน้องสาวคุณตา(ตาเป็นลุงของคนนั้น) เขาอยากได้ที่ดินโดยขู่จะฆ่าและทำร้ายร่างกายคุณยาย คุณยายจึงยกที่ดินให้ ในขณะนั้นดิฉันยังเป็นเด็กไม่รู้เรื่องอะไร แต่ตอนนี้อยากได้ที่ดินคืน เพราะทางฝั่งคุณตาไม่ได้อะไรเลยนอกจากที่ดินที่สร้างบ้านอยู่ตอนนี้ ลูกของทวดหรือพี่น้องของตาทุกคนได้ที่ดินหรือมรดกไปทุกคนเป็นที่ดินหลายสิบไร่ ดิฉันคิดว่ามันไม่ยุติธรรมกับครอบครัวของดิฉัน ดิฉันสามารถฟ้องร้องได้ไหมคะ แล้วจะต้องไปที่ศาลไหน เตรียมอะไรไปบ้าง ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าค่ะ

โดยคุณ วริฐิรา 6 มิ.ย. 2561, 13:07

ความคิดเห็นที่ 99

รบกวนสอบถามนะคะ กรณีของยาย ปลูกบ้านในที่ดินของพ่อแม่ร่วมกับพี่ชาย แต่พ่อแม่เสียแล้ว พี่ชายได้ยึดเอาโฉนดไปรับมรดกเพียงผู้เดียว สมัยก่อนยายก็ไม่รู้เรื่องกฎหมายจึงไม่ทันเค้า มีแต่การขอให้แบ่งแต่พี่ชายบ่ายเบี่ยง ปัจจุบันพี่ชายยายเสียชีวิตแล้ว ที่ดินนี้จึงตกเป็นของลูกของพี่ชาย แต่ยายยังพักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังนั้น โดยขอเจรจากับลูกของพี่ชายแต่เค้าก็ไม่ยอมแบ่งให้ อย่างนี้เราจะทำอะไรได้ไหมค่ะ

โดยคุณ ปุญชรัสมิ์ 25 พ.ค. 2561, 16:25

ความคิดเห็นที่ 98

เรื่องมรดกที่ดินค่ะ คือย่าของดิฉันเสียเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่มีพินัยกรรม ย่าฉันมีบุตร2คน พ่อดิฉันเป็นคนลูกคนน้อง แต่เสียชีวิตก่อนที่ย่าจะเสียหลายปีแล้ว ซึ่งดิฉันเป็นบุตรของพ่อ เมื่อย่าเสียชีวิตลงดิฉันมีสิทธิรับมรดกแทนพ่อมั้ยค่ะ
โดยคุณ สมบัติ 18 พ.ค. 2561, 10:58

ความคิดเห็นที่ 97

คุณปู่เสียชีวิต มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน มีลูก 7 คน (กับย่าที่เสียชีวิตแล้ว) มีลูกอีก 1 คน (กับย่าใหม่ที่จดทะเบียนสมรส)  คุณปู่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  ลูกๆ ต้องการจัดแบ่งที่ดิน  จำเป็นต้องจัดตั้งผู้จัดการมรดกไหมค่ะ?  (ถ้าพี่น้องตกลงกันเองได้)  และถ้าไม่มีการดำเนินเรื่องจัดแบ่งใดๆ มีระยะเวลาไหม? ว่าที่ดินจะตกเป็นของใคร?

โดยคุณ Nickii 9 พ.ค. 2561, 17:30

ตอบความคิดเห็นที่ 97

1. ต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อทำหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกแบ่งให้กับทายาทเสมอครับ 

2. หากผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดกภายในเวลาอันสมควรตามมาตรา 1728 และมาตรา 1732 ทายาทสามารถขอศาลให้ถอนผู้จัดการมรดกได้ ตามมาตรา 1727

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 6 มิ.ย. 2561, 14:53

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก