ขายทอดตลาดบ้าน|ขายทอดตลาดบ้าน

ขายทอดตลาดบ้าน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ขายทอดตลาดบ้าน

การขายทอดตลาดบ้านหรือทรัพย์สินอื่นๆ นั้น หากขายไม่ได้ตลอดไป

บทความวันที่ 4 ก.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 934 ครั้ง


ขายทอดตลาดบ้าน

           การขายทอดตลาดบ้านหรือทรัพย์สินอื่นๆ นั้น หากขายไม่ได้ตลอดไป  เพราะไม่มีคนซื้อทาง จ.พ.ค. และเจ้าหนี้เขาจะมีวิธีการปฎิบัติอย่างไรต่อไป เพราะบ้านที่ถูกขายทอดตลาดเป็นบ้านก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว  ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของพ่อผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้        ไม่ใช่ที่ดินของผู้ตายหรือคู่สมรส         ในทางปฏิบัติคงไม่มีใครซื้อ เพราะเจ้าของที่ดินเขาไม่ให้คนอื่นมาอาศัยอยู่แน่นอน  หากใครซื้อก็จะต้องมารื้อทุบเอาไป  ซึ่งมันจะกลายเป็นเศษอิฐเศษปูนหมดไม่มีอะไรเหลือ  และหากเขาจะบอกขายต่อไปเรื่อยๆ ตามระเบียบและลดราคาลงมาจนเจ้าของบ้าน ( คู่สมรสของผู้ตายที่เป็นลูกหนี้ ) สามารถที่จะซื้อเอาไว้เองจะได้เขาจะซื้อเอาไว้เองจะได้หรือไม่  เมื่อขายบ้านและทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนของลูกหนี้และนำไปใช้หนี้หมดแล้ว  หากยังไม่พอเจ้าหนี้จะทำอย่างไรต่อไป  คดีนี้จะถือว่าสิ้นสุดลงไปหรือไม่เพราะลูกหนี้ได้เสียชีวิตไปแล้ว

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
           1. คู่สมรสของลูกหนี้ย่อมมีส่วนได้เสียจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดบ้านของลูกหนี้คู่สมรสนั้น  ย่อมมีสิทธิเข้าประมูลซื้อบ้านนั้นได้  ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
          2. ความตายของลูกหนี้ในการรับผิดทางแพ่ง  ไม่ทำให้หน้าที่ในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต้องสิ้นสุดลงไปด้วยแต่ประการใด  ต่างจากความรับผิดทางอาญา  ซึ่งโทษนั้นให้เป็นอันระงับสิ้นไปด้วย  ความตายของผู้กระทำความผิด และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปโดยความตายของผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 38 และ ป.วิ.อ. มาตรา 39(1) ดังนั้น  ความรับผิดชำระหนี้ของผู้ตาย  จึงย่อมเป็นกองมรดกของผู้ตายตกทอดแก่ทายาทต่อไป  โดยทายาทจะต้องรับผิดชำระหนี้ซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายนั้นให้แก่เจ้าหนี้  แต่ทายาทไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว  กล่าวคือ  ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดให้แก่ตน  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1600 และ 1601  หากทายาทได้รับทรัพย์มรดกจากผู้ตายเพียงเท่าใดก็รับผิดไม่เกินนั้น  ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว  แต่ถ้าหากทายาทไม่ได้รับทรัพย์มรดกเลย  ทายาทก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเลย

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 38
  โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 39 
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1599
เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา 1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

มาตรา 1601  ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก