ส่วนต่างจากการขายทอดตลาด|ส่วนต่างจากการขายทอดตลาด

ส่วนต่างจากการขายทอดตลาด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ส่วนต่างจากการขายทอดตลาด

ก่อนหน้านี้ได้ซื้อ จยย เป็นเงินผ่อน (ผ่อนได้ราวๆ 3 หมื่นบาทกับ บ.ไฟแนนซ์คะ

บทความวันที่ 23 มิ.ย. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1259 ครั้ง


ส่วนต่างจากการขายทอดตลาด

          ก่อนหน้านี้ได้ซื้อ จยย เป็นเงินผ่อน (ผ่อนได้ราวๆ 3 หมื่นบาทกับ บ.ไฟแนนซ์คะ ) ซึ่งต่อมาผ่อนชำระไม่ไหว  เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี  จึงปล่อยให้บริษัทยึดรถจยยไป และรถได้ถูกขายทอดตลาด ทำให้เกิดส่วนต่างขึ้น ดังนี้คะ
         -  เงินต้นค่า จยย  ประมาณ 47,000 บ.
         -  รถถูกประมูลไปในราคา   28,000 บ.
         -  ทำให้มีส่วนต่างเกิดขึ้นพร้อมดอกเบี้ย 2 หมื่นกว่าบาท ( กรมบังคับคดีโทรมาแจ้ง )
ขออนุญาตเรียนถามดังนี้
          1. บริษัทไฟแนนซ์ ที่เราได้จ่ายค่ารถไปบางส่วนในตอนต้น  ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ เลยหรือคะ  เงินที่เราผ่อนในตอนแรก ประมาณ 3 หมื่นเท่ากับต้องเสียให้บริษัทไปเลยหรือเปล่าคะ
          2.ถ้าตอนนี้เราไม่สามารถชำระเงินส่วนต่างที่เกิดจากการขายทอดตลาดได้ เราสามารถขอผ่อนผันไปก่อนได้หรือไม่คะ ได้มีการกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนไว้หรือเปล่าคะ
          3.รถถูกขายทอดตลาดไปแล้ว ทำไมยังมีการคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
           1.  เมื่อท่านผิดนัดชำระค่างวด 2 งวดติด ๆ กัน  ไฟแนนซ์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่ท่านโดยบรรดาเงินค่ารถที่ท่านได้จ่ายมาแล้วให้แก่ไฟแนนซ์ในตอนต้น  ตามกฎหมายไฟแนนซ์ย่อมมีสิทธิรับเป็นเจ้าของทั้งสิทธิและมีสิทธิกลับเข้าครอบครองรถจักรยานยนต์นั้นได้ด้วย  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574
          2.  เมื่อมีการขายทอดตลาดและมีส่วนต่างที่ท่านต้องชำระให้แก่ทางไฟแนนซ์  และมีเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 383   หากท่านเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน   ท่านก็มีสิทธิขอผ่อนผันกับทางเจ้าหนี้ได้โดยกำหนดระยะเวลาการคืนนั้นอยู่ที่เงื่อนไขการตกลงระหว่างท่านกับไฟแนนซ์
          3.  การคิดดอกเบี้ยหลังจากการขายทอดตลาด  ไฟแนนซ์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างที่ท่านผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 224 
หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้

มาตรา 383  ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป
นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา 379  และ 382 ท่านให้ใช้วิธีเดียวกันนี้บังคับ ในเมื่อบุคคลสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนกระทำหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งอันใดนั้นด้วย

มาตรา 574  ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย
อนึ่ง ในกรณีกระทำผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้น ท่านว่าเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนและกลับเข้าครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่ง

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก