ค้ำประกันเงินกู้กับBANK|ค้ำประกันเงินกู้กับBANK

ค้ำประกันเงินกู้กับBANK

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค้ำประกันเงินกู้กับBANK

ถ้าเราเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคาร ผู้กู้ไม่จ่ายเงินเลย แต่ยังมีชีวิตอยู่

บทความวันที่ 28 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 22929 ครั้ง


ค้ำประกันเงินกู้กับBANK

          ถ้าเราเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคาร  ผู้กู้ไม่จ่ายเงินเลย แต่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่สาบสูญ ค้างธนาคารมา 9 ปี จนดอกเบี้ยทบต้น  ในกรณีผู้กู้ไม่ไปติดต่อทางธนาคารเลย สรุปว่าผู้ค้ำต้องรับผิดชอบใช่มั๊ยค่ะ มีทางออกอื่นมั๊ย

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
         การที่ท่านเป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้  ตามกฎหมายย่อมเป็นกรณีที่ท่านได้ผูกพันตนต่อธนาคารเจ้าหนี้  เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ผู้กู้ไม่ชำระหนี้นั้น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 682  โดยท่านในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน  ก็ต่อเมื่อลูกหนี้ผู้กู้ได้ผิดนัดชำระหนี้  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686
          ดังนั้น  เมื่อธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ท่านรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน  ท่านก็ย่อมมีสิทธิเกี่ยงการชำระหนี้ตามกฎหมายได้ 3 ประการคือ
1.  เกี่ยงให้ธนาคารไปเรียกให้ลูกหนี้ผู้กู้ชำระหนี้เงินกู้ก่อนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 
2.  ท่านย่อมมีสิทธิพิสูจน์ต่อธนาคารเจ้าหนี้ได้ว่า  ลูกหนี้ผู้กู้นั้นมีทางที่จะชำระหนี้ได้และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้น  จะไม่เป็นการยาก  หากท่านพิสูจน์ได้นั้นแล้ว  ตามกฎหมายได้กำหนดให้ธนาคารเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน  ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 689
3.  และถ้าหากธนาคารเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ผู้กู้  ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ฯลฯ  ยึดถือไว้เป็นประกัน  เมื่อท่านร้องขอให้ธนาคารบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน  ตามกฎหมายจึงกำหนดให้ธนาคารจะต้องให้ชำระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน  ตาม ป.พ.พ มาตรา 690
          ดังนั้น  สิทธิเกี่ยงให้ธนาคารเจ้าหนี้ไปเรียกบังคับชำระหนี้แก่ลูกหนี้ผู้กู้ก่อน  จึงเป็นสิทธิเกี่ยงตามกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ท่านในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน  กรณีจึงเป็นทางออกของท่าน  ในอันที่จะใช้สิทธิเกี่ยงดังกล่าวได้ตามกฎหมาย

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 686
ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น

มาตรา 688  เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้  ผู้ค้ำประกันจะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต

มาตรา 689 ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดั่งกล่าวมาในมาตราก่อนนั้นแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทางที่จะชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน

มาตรา 690  ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชำระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 14

เรื่อง จาก เงิน กอง ทุน หมู่ บ้าน หนู ปัญหา ทางอำเภอจึงส่งพัฒนากรแะธนาคารมาร่วมแก้โดยมีมติให้ธนาคารปล่อยกู้เงินเพื่อมาชดใช้หนี้สินดังกล่าวแต่เปลี่ยนจากรายปีเป็นผ่อนส่งตามกำหนดธนาคารจนกว่าจะหมด หนูได้เป็นผู้ค้ำประกันให้บุคคลโดยทราบยอดหนี้ตอนกู้คือ15000บาท แต่วันนี้มีจดหมายฟ้องมายอดกู้ทั้งสิ้น54000บาท ไปสอบถามธนาคารมีคำตอบว่าให้ยอมรับหนี้สินไปเถอะเนื่องด้วยธนาคารได้นำหนี้ในส่วนอื่นที่ผู้กู้เป็นหนี้กับธนาคารมารวมด้วย #หนูอยากทราบว่าการที่ธนาคารปล่อยยอดเพิ่มโดยไม่แจ้งผู้คำ้ประกันได้หรอค่ะ แล้วมีการเปลี่ยนยอดไม่ต้องเซ็นเอกสารใหม่ได้หรอค่ะ  """ในฐานะผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์โต้แย้งอะไรได้บ้าง"""หนูอายุ28ปีไม่ทราบกฏหมายเลยช่วยเหลือหนูหน่อยเถอะค่ะ  ธนาคารบอกมาแก้ปัญหาให้ชาวบ้านแต่กลับสร้างหนี้สินให้หนูเพิ่มโดยที่ไม่รุ้ตัวซึ่งปัจจุบันหนูไม่ได้ทำงานอะไรเลยไม่มีรายได้  ช่วยแก้ไขปัญหาให้หนูด้วยค่ะ

โดยคุณ โชติกา 9 เม.ย. 2561, 16:28

ความคิดเห็นที่ 13

ลูกหนี้ต้องผิดนัดชำระ เป็นเวลานานเท่าใดคะ เจ้าหนี้ถึงจะมาเอาคืนจากผู้ค้ำ

โดยคุณ ผู้ค้ำตกยาก 21 พ.ย. 2560, 08:46

ตอบความคิดเห็นที่ 13

ผิดนัดงวดแรก และเจ้าหนี้ส่งหนังสือแจ้งให้ท่านทราบว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็สามารถฟ้องท่านได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 1 ธ.ค. 2560, 11:29

ความคิดเห็นที่ 12

รบกวนสอบถามค่ะพอดีดิฉันค้ำประกันเงินกู้ธ.ออมสินให้เพื่อนเป็นแบบกลุ่ม 3คนค่ะจู่ๆก็มีจดหมายจากสำนักทนายความส่งมาที่บ้านค่ะให้ไปใช้หนี้แทนเพื่อน ทำอะไรไม่ถูกเลยค่ะโทรไปถามเพื่อนบอกส่งบ้างไม่ส่งบ้างให้เค้าเข้ามาคุยปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารก็ไม่มาค่ะ ติดต่อยากมากเหมือนจะหนีหนี้อ่ะค่ะทั้งๆที่เค้าก็มีทรัพสินนะคะอย่างนี้ถ้าดิฉันไม่มีเงินใช้หนี้แทนเพื่อนดิฉันควรทำอย่างไรดีค่ะ หนี้ที่เป็นส่วนของดิฉัน ดิฉันได้ชำระหมดแล้วค่ะติดแค่ยังค้ำเพื่อนอีก 2คนเท่านั้นค่ะ เดือดร้อนมากค่ะ รบกวนช่วยตอบหน่อยนะะคะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ Siraphapa 20 ต.ค. 2560, 09:32

ตอบความคิดเห็นที่ 12

โดนเเบบเดียวกันเลยคะ ต้องไปไกล่เกลี่ยที่ศาล 5 ตค 61 นี้คะ มีวิธียังไงบ้างไหมคะ เงินกู้ 3 คน ธ. ออมสิน

มีเพื่อนที่ทำงานด้านกฎหมายของธนาคารอื่น ให้คำเเนะนำว่า ให้ขอลดดอกเบี้ยเเต่ผ่อนจ่ายเเต่เงินต้นไปก่อนคะ

โดยคุณ Packy 22 ก.ย. 2561, 18:04

ความคิดเห็นที่ 11

จากความคิดเห็นที่10คะวันนี้ไปศาลผู้กู้ไม่ยอมเจรจากับผู้ค้ำเลยเขาไม่ยอมพูดว่าจะรับผิดชอบหนี้ตนเองเลยไม่ยอมแถลงต่อศาลจนทนายผู้ค้ำต้องขอสืบพยานอยากทราบโอกาสที่จะหลุดจากการค้ำประกันไหมคะถ้าผู้ค้ำสู้โอกาสจะเป็นอย่างไรคะกลุ้มมาก...

โดยคุณ สุวินันท์ พรมศิริเดช 9 ต.ค. 2560, 21:24

ความคิดเห็นที่ 10

ค้ำประกันเพื่อน1.7ล้านบาทโครงการสวัสดิการธนาคารออมสินของครูเขาไม่ส่งธนาคารจะฟ้องเราได้ไหมในเมื่อเขายังทำงานอยู่เหมือนเดิมเป็นครูรร.มัธยมของรัฐ

ตอบด้วยคะเดือดร้อนมากจะสู้ดู


โดยคุณ สุวินันท์ พรมศิริเดช 15 ส.ค. 2560, 22:30

ตอบความคิดเห็นที่ 10

หากธนาคารส่งหนังสือแจ้งท่านว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ไม่ว่าลูกหนี้จะยังมีงานทำ มีเงินเดือนหรือทรัพย์สินอยู่หรือไม่ก็ตาม ธนาคารสามารถฟ้องให้ท่านรับผิดในหนี้ดังกล่าวได้ตามปพพ. มาตรา 686 และในกรณีนี้ เนื่องจากท่านเป็นผู้ค้ำประกันเท่ากับว่าท่านเป็นลูกหนี้คนที่สองตามปพพ. มาตรา 680 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 3 ก.ย. 2560, 15:36

ความคิดเห็นที่ 9

 พ่อไปค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารให้คนแถวบ้าน แล้วลูกหนี้ไปติดคุก ประมาณ 2 ปี กับมา เขาไปติดต่ออธนาคาร แล้วทางธนาคารออกหนังสือค้ำประกันการจ่ายหนี้อีกชุดมาให้พ่อเซ็นค่ำประกันใหม่ ไม่ทราบว่ากรณีนี้ จำเป็นมั้ยว่าต้องเป็นผู้ค้ำคนเดิม 

โดยคุณ สารี 7 ก.พ. 2560, 11:09

ความคิดเห็นที่ 8

 ถ้าเราไม่อยากค้ำประกันให้กับเพื่อนเราจะปฏิเสทว่ายังไงดีคะไม่ให้น่าเกียด

โดยคุณ reena 11 พ.ย. 2559, 13:45

ความคิดเห็นที่ 7

 ดิฉันเป็นคนค้ำค่ะ ค้ำให้ผู้ร่วมงานไปกูเงิน ธนาคาร 1ล้าน2 แสนและมีคนค้ำ2คนคือดิฉันกับพี่ที่ร่วมงานอีกคน ตอนนี้ถูกธนาคารฟ้องแล้วลูกหนี้ก็จะลาออกจากราชการ ในฐานะคนค้ำอยากทราบว่า

1ถ้าผู้กู้ยังจดทะเบียนสมรสกะสามี( รับราชการเหมือนกัน) ธ.จะไปเรียกเอากะสามีก่อนมาถึงคนค้ำหรือเปล่า

2แล้วถ้าเค้ามาฟ้องคนค้ำเลยเราจะขอผ่อนจ่ายได้ไหมแล้วถ้าเรามีรถ หรือที่ดินป็นชื่อของเรา เราจะถูกยึดไหม

3.แล้วถ้าเราขอธ.จ่ายบางส่วนแล้วยกหนี้กันไปเลยได้ไหมเพราะเราไม่ได้เอาเงินมาใช้เลยแต่ต้องมาจ่ายแทนคนอื่น จะเป็นไปได้ไหม

โดยคุณ ผู้ค้ำประกันรับเคราะห้ 18 พ.ค. 2559, 20:30

ความคิดเห็นที่ 6

ขอขอบพระคุณมากครับสำหรับข้อมูล เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ 

โดยคุณ 24 มี.ค. 2559, 20:21

ความคิดเห็นที่ 5

ในกรณีเดียวกันแต่ผู้ค้ำได้นำที่ดินมาเป็นหลักประกันด้วย แต่ผู้กู้เสียชีวิตแล้ว แต่ผู้ชำระต่อคือลูกของผู้กู้ ซึ่งระยะแรกผ่อนชำระตามกำหนด ผ่านมาเริ่มไม่ผ่อนชำระ ผู้ค้ำจะทำอย่างไรบ้างคะ หากต้องการที่ดินที่ค้ำประกันคืนหรือยกเลิการค้ำประกันนะคะ

โดยคุณ TATOO 7 ต.ค. 2557, 16:57

ความคิดเห็นที่ 4

ดิฉันก็เป็นอีกคนที่ค้ำประกันเงินกู้กับเพื่อนร่วมงาน จำนวน 400,000 บาท แต่เขาค้ำประกันให้ดิฉันจำนวน 600,000 บาท ที่ ธ.กรุงไทย เป็นข้าราชการท้องถิ่น แต่เพื่อนที่เราผลัดกันค้ำประกันเขาถูกวินัยให้ออกจากราชการ เฉพาะตัวเองต้องผ่อนรถ และชำระเงินกู้อีกมากจนเงินเดือนไม่พอใช้ แต่ต้องแบกภาระหนี้ให้คนอื่น แต่เขายังมีพ่อกับแม่นะคะ ขอคำแนะนำหน่อยนะคะว่าธนาคารจะบังคับให้พ่อกับแม่เขาชำระหนี้แทนลูกได้หรือไม่ ขอบคุณมากนะคะ

โดยคุณ ผู้ค้ำประกันเงินกู้ข้าราชการ 30 ก.ย. 2556, 09:32

ความคิดเห็นที่ 3

 คือ กรณีของดิฉันคือ ดิฉันเป็นลูกหนี้ของแบงค์ๆหนึ่ง และได้ค้างชำระเงินมา11 งวด ซึ่งเป็นเงิน 27000 บาท ซึ่ง ได้นัดชำระเงินคืนเป็น 2 งวด ภายใน 1 เดือน(พ.ค.) ในครั้งแรกดิฉันได้นำเงินไปชำระวันที่ 21 พ.ค.เป็นเงิน 4000 บาท และ ภายในกำหนดระยะเวลานั้น ได้ล่วงเลยมา 4 วันแล้ว ดิฉันจะนำเงินไปจ่ายอีกในวันที่5 มิ.ย. ของเดือนถัดมา แต่ในเวลาดังกล่าว ได้มีหนังสือจาก ทนายส่งมา ถึงดิฉัน ลงวันที่ 22 พ.ค. บอกให้นำเงินไปชำระทั้งต้นและดอกภายใน 7 วัน เป็นเงิน 1 แสนกว่า บาท  ดิฉันอยากทราบว่าจะนำเงินไปจ่ายในจำนวนที่เราคุยกันไว้ได้หรือไม่ เพราะเราไม่สามารถหาเงินแสนได้ใน 7 วัน และจะทำให้คนค้ำติดบุโล หรือไม่ ด่วนมากค่ะ

โดยคุณ ไม่อยากให้มีปัญหาไปถึงคนค้ำ 5 มิ.ย. 2556, 10:29

ความคิดเห็นที่ 2

กรณี ที่หักจากบัญชีเงินเดือนเรา    ธนาคารจะหักจ่ายหนี้แทนจ่ากบัญชีเราได้เลยรึป่าวคับ  ถ้าเรื่องยังไม่ได้ส่งฟ้องศาล    คือ ทางธนาคารจะแนะนำให้ผมกู้เพิ่มเพื่อมาปิด หนี้คนที่หนีหนี้ไปแทนตลอด  ยังไม่ได้มีหมายศาลแต่อย่างใด   ทางธนาคารจะมีสิทธิ์  ทำหนังสือ มาให้หน่วยงาน หักเงินจากบัญชี  ผมเลยได้มั้ยคับ   ขอความกรุณา  ให้ความรู้ทีคับ

โดยคุณ โดนเหมือนกัน 20 พ.ค. 2556, 16:32

ความคิดเห็นที่ 1

ขอบคุณมากค่ะ...ที่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ในการไปขึ้นศาล

ดิฉันได้คำประกันเงินกู้จำนวน  600,000 กว่าบาท  ซึ่งทางธ.กรุงไทย ได้ยืนเรื่องต่อศาลให้ดิฉันผู้ค้ำเป็นจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ผู้กู้ (ซึ่งไม่รู้เขาจะไปขึ้นศาลหรือเปล่า )  ซึ่งดิฉันซึ่งเป็นข้าราชการและมีหนี้สินเฉพาะของตัวเองก็ปาไป 900,000 บาทแล้ว  และต้องไปแบกภาระหนี้ที่ดิฉันไม่ได้ก่อ คือการค้ำประกันเพื่อนร่วมงานซึ่งได้ลาออกไปแล้วนั้น เป็นกังวลมากค่ะ ขอความคำแนะนำที่จะมีประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่ E -mail  และทางโทรศพท์ 080-4056538  ค่ะ

และอีกเรื่องหนึ่งค่ะ  การค้ำประกันของดิฉันมีขึ้นก่อนสมรสและจดทะเบียนค่ะ  จะมีผลต่อสามีไหมค่ะ  กังวลมากค่ะกลัวเขายึดเงินเดือนสามีค่ะ

โดยคุณ ผู้คำประกันซึ่งเดือดร้อนมาก 15 พ.ย. 2553, 12:45

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก