พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ 16 พฤษภาคม 2553|พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ 16 พฤษภาคม 2553

พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ 16 พฤษภาคม 2553

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ 16 พฤษภาคม 2553

ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวดีสำหรับผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ เนื่องจากวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ราชกิจจานุเบกษา

บทความวันที่ 17 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 41141 ครั้ง


พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ 16 พฤษภาคม 2553

          ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวดีสำหรับผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ เนื่องจากวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปีที่ 60 วันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2553 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศล และเพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป
          พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หรือวันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2553
         สำหรับ นิยามความหมายสำคัญตาม พระราชกฤษฎีกา ประกอบด้วย
          - “ผู้ต้องกักขัง” หมายความว่า ผู้ต้องโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลถึงที่สุดก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ
          -“ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ” หมายความว่า ผู้ต้องโทษปรับ ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่า ปรับ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยผู้นั้นได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาล และมิได้กระทำผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด
         - “ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเป็นผู้ได้รับการพัก การลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร หรือได้รับการลดวัน ต้องโทษจำคุกตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษหรือ การลดวันต้องโทษจำคุกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
        -“นักโทษเด็ดขาด” หมายความว่า ผู้ซึ่งในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นนักโทษเด็ดขาด ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ หรือนักโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร
        - “กำหนดโทษ” หมายความว่า กำหนดโทษที่ศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึง ที่สุด หรือกำหนดโทษตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษหรือกำหนดโทษ ดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น
        -“ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก” หมายความว่า ต้องโทษเพราะถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี โดยมิได้ถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทำความผิดอีก
          ทั้งนี้ ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ต้องมีตัวอยู่ใน ความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่พระ ราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือ นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ
          มาตรา 5 ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง (2) ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ (3) ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ
          กรณีผู้ต้องกักขัง ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขัง แทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษ ปล่อยตัวไปในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี
          มาตรา 6 กำหนดว่า นักโทษเด็ดขาดดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป
          (1) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษ ที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่รวมกันไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราช กฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
           (2) ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
           (ก) เป็นคนพิการโดยตาบอดทั้งสองข้าง มือหรือเท้าด้วนทั้งสองข้าง หรือเป็นบุคคลซึ่ง แพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นคน ทุพพลภาพมีลักษณะอันเห็นได้ชัด
           (ข) เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) หรือโรคจิต ซึ่งทางราชการได้ทำการรักษามาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนในวันที่พระราชกฤษฎีกา นี้ ใช้บังคับ และแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่ สามารถจะรักษาในเรือนจำให้หายได้ และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้ว ถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ เว้นแต่เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่ สามารถจะรักษาในเรือนจำให้หายได้
          (ค) เป็นหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ
          (ง) เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัว ของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป
          (จ) เป็นผู้ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และมีอายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการ ทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ หรือ
          (ฉ) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้ รับต่อไปเหลืออยู่รวมกันไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ
          มาตรา 7 นักโทษเด็ดขาดซึ่งมิได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปตามมาตรา 6 ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ลดโทษ ดังต่อไปนี้
         (1) ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ให้ลดลงเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
         (2) ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุกห้าสิบปี แล้วให้ลดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมาย ว่าด้วยเรือนจำทหาร
          ดังต่อไปนี้ ชั้นเยี่ยม 1 ใน 4 ชั้นดีมาก 1 ใน 5 ชั้นดี 1 ใน 6 ชั้นกลาง 1 ใน 7 โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นนั้น
          (3) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ตาม (2)
          (4) ผู้ต้องโทษจำคุกเพราะความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ไม่ว่าจะมีความผิดอื่นร่วมด้วย หรือไม่ ให้ลดโทษจากกำหนดโทษลง 2 ใน 3 เฉพาะความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท


รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 (ฉบับเต็ม)คลิกที่นี่
 
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 325

 แฟนหนูเป็นทีบีจะได้อภัยไหม

โดยคุณ น้องนน 29 ธ.ค. 2559, 14:06

ความคิดเห็นที่ 324

 ผมขอรบกวนถามคับ แฟนผมถูกจับคดีล่อซื้อยาบ้า จำนวน 3 เม็ด ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว 2 ปี ตอนนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธน์ เนื่ิองจากแฟนผมเป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย ต้องเข้ารับการฟอกเลือดอย่างสม่ำเสมออาทิตย์ล่ะ 2 ครั้งตลอดชีวิต โดยทางโรงพยาบาลออกใบรับรองแพทย์ให้เพื่อใช้ในการอุทรณ์ ขอถามว่าในกรณีนี้ศาลอุทรณ์จะพิจารณายังใงคับ ตอนนี้แฟนผมยุในเรือนจำได้ประมาณสามเดือนแล้ว 

โดยคุณ ต้น 19 พ.ย. 2559, 19:31

ตอบความคิดเห็นที่ 324

 กรณีตามปัญหา หากความเห็นของแพทย์เห็นสมควรให้นำตัวออกมารักษาที่โรงพยาบาล แนะนำให้นำนำเรื่องดังกล่าวขออนุญาตต่อเรือนจำที่ถูกจำคุกอยู่เพื่อทำการรักษาต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 27 พ.ย. 2559, 13:47

ความคิดเห็นที่ 323

 กรณีตามปัญหา หากความเห็นของแพทย์เห็นสมควรให้นำตัวออกมารักษาที่โรงพยาบาล แนะนำให้นำนำเรื่องดังกล่าวขออนุญาตต่อเรือนจำที่ถูกจำคุกอยู่เพื่อทำการรักษาต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 27 พ.ย. 2559, 13:47

ความคิดเห็นที่ 322

 สอบเรื่องน้องชายศาลตัดสินจำคุก 3 เดือน นับแต่เดือน พ.ค.56 ตอนนี้ขอประกันตัวเพื่อสู้คดี แต่ถ้าไม่สู้คดี จะขอถอนตัวควรจะยอมติดคุกเพื่อให้ทันการอภัยโทษในเดือนสิงหาคม ควรจะถอรปะกันในเดือนใดดี

โดยคุณ su 24 พ.ค. 2556, 09:40

ตอบความคิดเห็นที่ 322

จำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องโทษที่จะได้รับการอภัยโทษจะต้องเป็นผู้ต้องโทษคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หากพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว ไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา คดีก็เป็นที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณี รายละเอียดสอบถามเจ้าหน้าที่เรือนจำเกี่ยวกับสิทธิการได้รับอภัยโทษ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 พ.ค. 2556, 09:46

ความคิดเห็นที่ 321

จำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องโทษที่จะได้รับการอภัยโทษจะต้องเป็นผู้ต้องโทษคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หากพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว ไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา คดีก็เป็นที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณี รายละเอียดสอบถามเจ้าหน้าที่เรือนจำเกี่ยวกับสิทธิการได้รับอภัยโทษ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 พ.ค. 2556, 09:46

ความคิดเห็นที่ 320

 รบกวนสอบถามคะ พอดีเพื่อนโดนคดียาเสพติด พยามจำหน่าย เพื่อจำหน่าย และจำหน่าย ไอซ์ 0.6 กรัม โดนไป 3 กระทงรวมแล้ว 12ปี รับสารภาพเหลือ 6 ปี ศาดตัดสินไปแล้ว อยากทราบว่าสามารถอื่นยื่นอุทร หรือทำอะไรได้บ้างหั้ยโทษน้อยลงกว่า 6 ปีได้มั้ย พอจะมีวีธีช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง 

โดยคุณ ตั๊ก 28 ส.ค. 2555, 22:20

ตอบความคิดเห็นที่ 320

จำเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อลดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 4 ก.ย. 2555, 10:36

ความคิดเห็นที่ 319

จำเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อลดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 4 ก.ย. 2555, 10:36

ความคิดเห็นที่ 318

รบกวนถามหน่อยครับ
ผมโดนศาลตัดสินคดีมียาเสพติดไว้ในครอบครองปี ๕๓ เสียค่าปรับไปแล้ว รอลงอาญาสองปี

ตอนนี้ว่าจะไปสอบนายสิบทหาร   แต่ติดเงื่อนไขข้อนึง คือต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกศาลตัดสินคดีอาญา

หากสิ้นสุดการลงอาญาฯ หรือได้รับอภัยโทษ  ผมจะมีสิทธ์สอบมั้ยครับ

หรือมีสิทธิ์รับราชการทหารมั้ย  รบกวนตอบด้วยนะครับ  ขอบพระคุณอย่างสูง

โดยคุณ kritsana wongmontree (สมาชิก) 22 ส.ค. 2555, 21:25

ตอบความคิดเห็นที่ 318

ท่านมีสิทธิ์สอบและเข้ารับราชการทหารได้ แต่ท่านควรสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติกับคณะกรรมการดำเนินการสอบโดยตรง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 ก.ย. 2555, 16:05

ความคิดเห็นที่ 317

ท่านมีสิทธิ์สอบและเข้ารับราชการทหารได้ แต่ท่านควรสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติกับคณะกรรมการดำเนินการสอบโดยตรง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 ก.ย. 2555, 16:05

ความคิดเห็นที่ 316

ขอถามท่านผู้รู้หน่อยครับ  ปี55นี้ บุตรติดคุกมา 6เดือน กับ ยี่สิบกว่าวัน คดึ ปีปากกา จะได้อภัยฯใหมครับ  ยังไม่มีเวลาไปเยี่ยม ขอรบกวนหน่อยนะครับ ร้อนจัยมาก ไปมาที ใช้เงินหลายร้อย มะค่อยจะมีสตางค์นะครับ

โดยคุณ นิดน้อย 21 ส.ค. 2555, 00:23

ความคิดเห็นที่ 315

แฟนหนู โทษ จำคุก คดี มีกัญชาไว้ครอบครอง โทษจำคุก 8 เดือน ตอนนี้คดีสิ้นสุดแล้ว ติดมาแล้ว 3 เดือน อยากทราบว่าจะมีอภัยไม่ค่ะ

โดยคุณ เปิ้ล 7 ส.ค. 2555, 19:05

ตอบความคิดเห็นที่ 315

ให้สอบถามจากทางเรือนจำว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการพระราชทานหรือไม่

โดยคุณ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์  16 ส.ค. 2555, 10:44

ความคิดเห็นที่ 314

ให้สอบถามจากทางเรือนจำว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการพระราชทานหรือไม่

โดยคุณ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์  16 ส.ค. 2555, 10:44

ความคิดเห็นที่ 313

 แฟนหนูติดคดีลักทรัพย์ตอนนี้ติดมาแล้ว 9 เดืือนอยากทราบว่า วันที่ 12 สิงหาคมนี้จะมีอภัยโทษมั๊ยคะ

ถ้ามีแล้วแฟนหนูจะพ้นโทษไหมคะช่วยให้คำตอบหนูที

โดยคุณ อรพินท์ ทองภูบาล 3 ส.ค. 2555, 21:53

ความคิดเห็นที่ 312

 ผมทำงานที่เรือนจำ  ฝ่ายทัณฑปฎิบัติ  ตำแหน่งหัวหน้างานทัณฑปฎิบัติ ซึ่งมีหน้าที่ทำการลดโทษผู้ต้องขังตามพระราชกฤษฎีกา  ทำพักโทษ  ทำวันลดวันต้องโทษ ทำจ่ายนอก,งานสาธารณะ สามารถให้คำตอบได้ครับ

โดยคุณ นายดำรงค์ เลิศคอนสาร 1 ส.ค. 2555, 09:15

ตอบความคิดเห็นที่ 312

 อยากทราบว่าน้องชายตัดสิน15ปีคดีรุโทรมติดมาได้สักพักแล้วมีชั้นแล้วเป็นชั้นดีจะได้รับอภัยไหมค่ะปีนี้แล้วจะได้ประมานเท่าไรค่ะขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ วุ้น 8 ม.ค. 2559, 10:17

ตอบความคิดเห็นที่ 312

 พี่ชายติดคดียาเสพติดคะ  มีไว้เพื่อครอบครอง 19 เม็ด  ตอนนี้ฝากขัง  รอศาลพิจารณาคดีอยู่คะ  เป็นนักโทษใหม่ ไม่เคยต้องคดีใดมาก่อน  อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการขอยื่นอุทรธ์อภัยโทษหาผู้ต้องขังรับสารภาพคะ  ต้องติดต่อที่ไหน  ทำอย่างไรบ้างคะ  ดิฉันหวังว่าจะได้รับคำแนะนำดีๆจากคุณนะคะ

                                                                  ด้วยความเคารพ

                                                                      ขอบคุณนะคะ

โดยคุณ thidarat 8 ก.พ. 2560, 21:51

ความคิดเห็นที่ 311

 อยากทราบว่าน้องชายตัดสิน15ปีคดีรุโทรมติดมาได้สักพักแล้วมีชั้นแล้วเป็นชั้นดีจะได้รับอภัยไหมค่ะปีนี้แล้วจะได้ประมานเท่าไรค่ะขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ วุ้น 8 ม.ค. 2559, 10:17

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก