ทำงานเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด|ทำงานเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

ทำงานเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทำงานเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

ผมทำงานอยู่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันจดทะเบียนเป็นบริษัท

บทความวันที่ 13 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 43478 ครั้ง


ทำงานเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

        ผมทำงานอยู่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันจดทะเบียนเป็นบริษัท ผมกับเพื่อนพนักงานอีกประมาณ 70 คน ถูกบริษัทให้ทำงานวันละ 9 ชั่วโมง โดยบริษัทอ้างว่าให้พัก 1 ชั่วโมง (แต่ความเป็นจริงไม่ได้พัก ให้แค่เวลาทานข้าวกลางวันเท่านั้น)
ตัวอย่าง
         -  เข้าทำงาน 08.00 น. เลิกงาน 17.00 น.
         -  เข้าทำงาน 09.00 น. เลิกงาน 18.00 น.
         -  เข้าทำงาน 12.00 น. เลิกงาน 21.00 น.
         -  เข้าทำงาน 16.00 น. เลิกงาน 01.00 น.
          ถ้าบริษัททำแบบนี้ นายจ้างมีความผิด ตาม พรบ.ค้มครองแรงงานหรือไม่ แล้วผมต้องร้องเรียนกับใครได้บ้างครับ

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
         ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว  ได้กำหนดให้นายจ้างต้องประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ  โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง  และในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมงติดต่อกัน  นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงได้  แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง  ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541  มาตรา 23,27
          เพราะฉะนั้น  หากบริษัทให้ท่านกับพนักงานทำงานวันละ 9 ชั่วโมง  โดยบริษัทอ้างว่าให้พัก 1 ชั่วโมง  ท่านกับเพื่อนร่วมงานจึงมีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานดังกล่าว  ที่จะมีเวลาพักได้ในวันทำงานไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง  เป็นเวลาพักของลูกจ้าง  และหากท่านหรือพนักงานไม่ได้พักครบตามกำหนดเวลา  ท่านกับพนักงานอื่น  ย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากนายจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ  ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 61  ดังนั้น  ท่านจึงมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องเรียกค่าล่วงเวลากับบริษัทต่อศาลแรงงานได้ตามกฎหมาย
          หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการให้ทนายความช่วยดำเนินคดีแทนท่าน  แนะนำให้เข้ามาที่สำนักงานทนายคลายทุกข์  หรือโทร.02-9485700  โดยรวบรวมเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาที่ท่านพอจะรวบรวมได้เข้ามาปรึกษาทนายความเพื่อดำเนินคดีต่อไป

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 23
  ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน
ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันได้ เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง

มาตรา 27  ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงได้ แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาพักระหว่างการทำงานตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่น ถ้าข้อตกลงนั้นเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง ให้ข้อตกลงนั้นใช้บังคับได้
เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน เว้นแต่เวลาพักที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกินสองชั่วโมง ให้นับเวลาที่เกินสองชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานปกติ
ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่ายี่สิบนาทีก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสี่มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะ หรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน

มาตรา 61  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 174

ในกรณีผมทำงานเข้าออฟฟิต สแกนนิ้วตั้งแต่6 โมงเช้า เลิกบ่าย3 ช่วงเวลานี้รวมเวลาพัก1ชม. แต่งานที่ผมทำเป็นงานต่อเนื่อง เป็นงานเช็คสต๊อกสินค้า แต่แล้วงานไม่เสร็จ จึงทำให้เกิดการมีการทำงานล่วงเวลาเกิดขึ้น จนถึง5โมงเย็น  โดยที่ไม่ได้ลงเบรค30นาทีก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา เหตุการ์ณแบบนี้บริษัทจะคิดโอทีให้พนักงานอย่างไหร่ ครับ


โดยคุณ สมชาย 14 พ.ค. 2563, 23:41

ความคิดเห็นที่ 173

รบกวนสอบถามค่ะ  บริษัทจัดให้พนักงานไปสัมนาท่องเที่ยวประจำปีต่างจังหวัด 2 วัน ซึ่งตรงกับวันทำงาน แต่บริษัทให้พนักงานทำงานล่วงเวลาชดเชยทุกวัน วันละ 2 ชม.(โดยไม่จ่ายค่า OT ) จนครบ 16 ชม. บริษัททำแบบนี้ผิดหรือไม่ พนักงานต้องปฏิบัติอย่างไร ถ้าพนักงานไม่ยินยอมปฏิบัติตามพนักงานจะมีความผิดหรือไม่ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ พรรณี โนจากุล 29 ส.ค. 2562, 10:00

ความคิดเห็นที่ 172

พอดีแฟนทำงานอยู่โรงงานแห่งหนึ่ง โรงงานพยายามจะบีบ

พนักงานเก่าออก โดยวิธีต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะเป็นหักเงินโบนัส

จากโบนัสปีละ60000-70000เหลือ6000 ให้พนักงานที่นอน

ห้องพยาบาลเขียนใบลาป่วย เพื่อจะหักเงินหักโบนัส ไม่จ่าย

โบนัสพนักงาน ไม่ให้ทำโอที รับชาวต่างชาติมาทำงานเพิ่มเรื่อยๆ เพื่อที่จะบีบคนเก่าออก แฟนของดิฉันถูกใช้งานหนักมาก ทำทุกวิถีทางเพื่อจะให้ออก เพราะอายุงาน เงินเดือนของแฟนดิฉันถ้าถูกจ้างออกก้อได้เยอะพอสมควร และคนเก่าๆอีกหลายๆคน ต้องเจอชะตาแบบนี้ แฟนของดิฉันถูกใช้งานไม่ตรงกับตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายเลย ตอนนี้ไม่มีใครสามารถช่วยพนักงานเก่าๆโรงงานนี้ได้เลย อยู่กันตามยถากรรม แต่ละคนอายุก็เยอะแล้ว จะไปทำงานอะไรกัน ฝากพิจารณาหน่อยนะคะ ว่าแฟนของดิฉันควรทำยังไง

โดยคุณ พัด 20 มิ.ย. 2562, 20:10

ความคิดเห็นที่ 171

สวัสดีค่ะ เป็นพนักงาน รร. แห่งหนึ่งค่ะ ทางผู้บริหารให้เข้างาน 07.00 เลิกงาน 16.00 
ซึ่งรวมๆแล้วเวลาทำงานเท่ากับ 9 ชม. ไม่ได้เงินเพิ่มด้วย ได้เท่าที่ทำแค่ 8 ชม. ไม่ได้เบรกไม่ได้พัก ข้าวก็ต้องแอบทานอยู่หลังเคาท์เตอร์ 
เพราะพนักงานที่อยู่ส่วนนี้มีคนเดียว แต่ทางฝ่ายบุคคลบอกให้ตอกบัตรเวลาพักด้วย แบบนี้เราไม่ได้พักจำเป็นต้องตอกด้วยหรอคะ 
และคาล่วงเวลาก็ได้เพียง 1 เท่าไม่ใช่ 1.5 ด้วยค่ะ
ดังนั่้นวันไหนที่ทำล่วงเวลาคือต้องทำ 12 ชม.เต็มเลย แบบนี้มันผิดกฎหมายอะไรมั้ยคะ อยากทราบจริงๆค่ะ

โดยคุณ พนักงานคนหนึ่ง 7 มิ.ย. 2562, 11:30

ความคิดเห็นที่ 170

เรียนช่างแอร์กับโรงเรียนแห่งหนึ่งและโรงเรียนได้ส่งไปฝึกงานกับบริษัทหนึ่ง โดยตกลงกันว่าค่าแรงทางโรงเรียนเป็นคนจ่ายเงินเดือน แต่ทางบริษัทที่ฝึกงานให้ทำงานเกินเวลามากเข้างาน 8.00 เลิกงานไม่เป็นเวลาแต่ดึกทุกวันตีเป็นว่าเลิกงานเกิน 4ทุ่มทุกวัน เพราะถึงบ้านเที่ยงคืนกว่าๆทุกวัน แต่ตอนเลิกงานไม่ได้ตอกบัตรออกตอกบัตรเข้าอย่างเดียวเพราะกลับไปที่บริษัทเค้าปิดแล้วแบบนี้เอาเปรีบยเกินจะทำอย่างไรดี ควรแจ้งทางโรงเรียนให้เค้ารับทราบไหม 

โดยคุณ ทาริกา 30 เม.ย. 2562, 15:25

ความคิดเห็นที่ 169

พอดีหัวหน้าที่ทำงาน (ตำแหน่งผม จ้างเหมาบริการ ของหน่วยงานรัฐ) อ้างว่าเค้ามีสิทธิ์ใช้งานจ้างเหมาได้วันละ 12 ชม โดยที่ไม่ผิด แกว่าไม่มีกฏหมายไหนกำหนดว่าต้องแค่ 8 ชม แกว่าไปหามาเลย แกจะให้พวกผมทำเป็นปกติวัน 12 ชม โดยไม่มีเงินค่าล่วงเวลาให้ครับ ไปหาอ่านกฏหมายก็ไม่ค่อยเข้าใจ เลยมาปรึกษาดูครับ รบกวนด้วยครับ

โดยคุณ เด็กจ้างเหมาของรัฐ 31 มี.ค. 2562, 17:50

ความคิดเห็นที่ 168

สอบถามหน่อยค่ะ

 พอดีแฟนทำงานเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์

 ทำงาน 08.00-17.00 น.แร้วถ้าแฟนทำงานล่วงเวลาหลังจากเวลาที่เลิกงานแร้วแฟนควรได้รับ ot 

รึป่าวค่ะ เพราะแฟนทำงานล่วงเวลามาตลอดแต่ไม่เคยได้รับเงินค่าทำงานล่วงเวลาเลย

แบบนี้นายจ้างทำผิดกฎหมายรึป่าวค่ะ

โดยคุณ ฉัตรปวีณ์ ใจดี 23 มี.ค. 2562, 00:31

ความคิดเห็นที่ 167

สอบถามค่ะ หนูทำงานโรงงานแห่งหนึ่งเข้างาน

08.20น. เบรกตอน11.00น ครึ่งชม.ที่ทำงานมีot.ทุกวัน ปกติต้องเลิกงาน17.20น แต่เนื่องจากมีot.ทุกวัน3ชม.หลังเลิกงานโรงงานจึงให้เบรกครึ่งชม.ตอน17.00นแต่ไม่ได้หยุดเครื่องโดยที่เปลื่ยนกันเบรก คือกรณีตอนแรกนายจ้างมีการให้เซนot.30นาทีก่อนเข้างานแล้วก้อคิดเงินให้เรา3.5ชม มาตลอด จนมาเดือนนี้ตัดวิกวันที่30เงินออก15ของทุกเดือน มายกเลิกot.กะทันหัน ก่อนวันเงินเดือนออกเพียงแค่6วัน ถือว่าเป็นความผิดไหมค่ะ ที่ทำงานตารางกะเปนแบบนี้ค่ะ เข้าเช้า4วันหยุด1วันและวนไปเข้าดึก2วันหยุด1วัน

แต่ถ้าวันไหนที่วันทำงานวนไปเจอกับวันนัตขัต ก้อจะทำการเปลี่ยนตารางกะให้วันนัตขัต เปนวันหยุดขอพนักงานทันที รึว่าต่อให้วันทำงานตรงกับวันนัตขัตและโรงงานยกเลิกกะการทำงานเองแต่ก้อจ่ายเพียง330บาทต่อวันเท่านั้นถือว่าพนักงานโดยเอาเปรียบไหมค่ะ


โดยคุณ ภัทรา 8 ส.ค. 2561, 20:25

ตอบความคิดเห็นที่ 167

สามารถร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ได้เลยค่ะ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 5 ก.ย. 2561, 14:28

ความคิดเห็นที่ 166

เราทำงานอยู่แบงค์แห่งหนึ่ง ในเขตระยองค่ะ แบงค์เปิด 8.30 น แน่นอนเราต้องไปก่อน 8.00 น มีใบเซ็นชื่อเข้างานแต่ไม่มีใบเซ็นชื่อกลับ เลิกงานเกือบทุ่มทุกวัน บางทีทำงานนอกเวลาเสาร์อาทิตย์ โอทีไม่มี เบี้ยเลี้ยงระหว่างวันนอกเวลางานไม่มี เวลาพักไม่ถึง ชั่วโมง แบบนี้ทำอย่างไรได้บ้างเราเป็นผู้น้อยทั้งเป้าทั้งผลงานเราก็ต้องทำ แถมต้องมานั่งทำงานนอกเวลาโอทีก็ไม่มีให้



โดยคุณ กนกวรรณ สุวะศรี 24 พ.ค. 2561, 20:24

ตอบความคิดเห็นที่ 166

ถ้าให้เดา เป็นแบงค์สีชมพูใช่มั้ยครับ T-T

โดยคุณ JOEY 13 มิ.ย. 2561, 10:05

ความคิดเห็นที่ 165

ปรึกษาค่ะ

ทำงานเป็นพยาบาล รพ.รัฐ 

หัวหน้าจัดวันทำงานเดือนหนึ่ง 26 วัน หยุดแค่ 4 วัน และใน 26 วันนั้น 50% ทำงาน 16 ชม.ต่อวัน

อย่างนี้ พอจะร้องเรียนใครได้บ้างไหมคะ

โดยคุณ Yuhai 21 มี.ค. 2561, 19:51

ความคิดเห็นที่ 164

สวัสดีครับ
รบกวนปรึกษาครับ ตอนนี้ที่ทำงานผมเปลี่ยนเวลาเข้างาน จาก 8 ชั่วโมง เป็น 12ชั่วโมงครึ่ง โดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 24 ชั่วโมง หลัง8ชั่วโมงยังเป็นชั่วโมงทำงานปกติ ไม่ใช้ล่วงเวลา และ วันหยุดราชกาล จะบังขับเป็น ค่าล่วงเวลา ซึ่งทางผมต้องการเป้นวันหยุดราชกาล ตามปกติ ทั้งหมด นายจ้างไม่เคยเข้ามาคุยเพื่อตกลง กับลูกจ้างแม้แต่ครั้งเดียวครับ เรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลางาน จะพอมีทาง เรียกร้องอะไรได้บ้างครับ

ขอบคุณครับ
โดยคุณ piyanat 30 ธ.ค. 2560, 10:26

ตอบความคิดเห็นที่ 164

ทำงานในร้านอาหาร เข้างาน 12.00 น. เลิกงาน 00.00 โดยประมาณ มีเวลาพักคือทานข้าวเวลา 17.00น.-17.30น. ไม่มีหลักฐาน การเข้าออกงาน แต่มีใบสมัครงานฝ่ายบุลคลเป็นคนเก็บเอกสาร และมีแค่เพียงรูปถ่ายตอนทำงาน กับภาพที่อยู่ในกล้องวงจรของทางร้านอาหาร แบบนี้ ทำอะไรได้บ้าง จะได้อะไรบ้าง จะเสียอะไรบ้าง รบกวนหน่อยค่ะ 

โดยคุณ Nuchjalee 15 ม.ค. 2561, 18:07

ความคิดเห็นที่ 163

เป็นข้าราชการครู ผู้บริหารบังคับให้ไปดูงานภาคใต้ บ้านตนเองช่วงมรสุม แล้วให้มาสอนชดเชย เสาร์ อาทิตย์ ทำงาน ติดต่อกัน 11 วัน แบบนี้ เหนื่อยล้ามาก นักเรียนก็มาไม่ครบ เสียเวลา แบบนี้ถือว่าถูกไหม ส่วน ผอ ไม่อยู่โรงเรียน เลย เสาร์อาทิตย์ไม่ค้องพูดถึง

โดยคุณ ปรีชา 16 ธ.ค. 2560, 14:15

ความคิดเห็นที่ 162

ผททำงานวันละ 11ชั่วโมงครับ เค้าขอให้ช่วยอยู่ต่อได้เงินด้วยแต่ผมไม่ต้องการผมต้องการเลิกตามปกติครับแบบนี้เรียกร้องยังไงได้บ้างทผมทำงานเซเว่นครับ เป็น นศษฝึกงาน
โดยคุณ อชิตะ 9 ธ.ค. 2560, 17:47

ตอบความคิดเห็นที่ 162

1.เวลาในการทำงาน ในวันหนึ่ง จะต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง ทั้งนี้ตาม มาตรา 23 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 

2.ในส่วนของการที่นายจ้างขอให้ทำงานต่อ ในช่วงที่เกินเวลาทำงานปกติที่กำหนดไว้ ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา ซึ่งโดยหลักแล้ว นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆไป แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ตามมาตรา 24 

3.หากท่านเห็นว่านายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้อง ท่านสามารถร้องเรียนได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในท้องที่ที่ท่านทำงานได้ครับ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 26 ม.ค. 2561, 14:30

ความคิดเห็นที่ 161

ทุกวันนี้ทำงานวันละ8ชั่วโมง30นาทีเข้างาน8.30น.ออก18.00น.ทำงานเกินวันละครึ่งชั่วโมงแบบนี้ผิดกฎหมายแรงงานไหมคับแล้วเรียกร้อนไรได้บ้างคับ

โดยคุณ อนุวัฒน์ 7 ธ.ค. 2560, 15:28

ความคิดเห็นที่ 160

ทำงานห้าง โดยปกติแล้วเข้าทำงาน 9 โมงเช้า ถึง2 ทุ่ม แต่จะมีช่วงเช็สต๊อก คือต้องกลับดึก คือแบบว่าขอช่วยพนักงาน โดยไม่ได้ับ เงินทำงานค่าลวงเวลา ณ ตรองนี้ มีสิทธิ์เรียกร้องได้ไหม 

เลิก งาน ตี 2 

โดยคุณ believe 27 ก.ย. 2560, 12:32

ตอบความคิดเห็นที่ 160

ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครั่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 หากนายจ้างไม่จ่าย สามารถร้องเรียนไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือโทรสายด่วนเพื่อผู้ใช้แรงงาน 1546 ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 17 ต.ค. 2560, 14:22

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก