คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 4|คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 4

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 4

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 4

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบังคับคดีมานำเสนอ

บทความวันที่ 6 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10942 ครั้ง


 

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 4

 

            ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบังคับคดีมานำเสนอ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การขอเฉลี่ยทรัพย์  กำหนดเวลาขอเฉลี่ยทรัพย์  การงดการบังคับคดี  การถอนการบังคับคดี

 

การขอเฉลี่ยทรัพย์ (มาตรา 290)

ห้ามอายัดหรืออายัดทรัพย์ (มาตรา 290  วรรคหนึ่ง)

 

1.  ฎีกาที่ 283/2527

            เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว  ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก

 

2.  ฎีกาที่ 676/2518

            แม้จะเป็นการอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษา  ถ้าต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ในคดีนั้นชนะคดี  และโจทก์ได้ขอให้ศาลเรียกเงินที่ขออายัดไว้ชั่วคราวเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์  โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่ขออายัดในภายหลัง 

 

3.  ฎีกาที่ 1324/2503(ประชุมใหญ่)

            ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะขอเฉลี่ยได้  จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มีการยึดและอายัดไว้ด้วย  หากเป็นเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์  เจ้าหนี้อื่นจะขอเฉลี่ยไม่ได้

 

4.  ฎีกาที่ 516/2499

            เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้แล้ว  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทันที  แม้ศาลยังไม่ออกหมายบังคับคดีหรือยังไม่ครบกำหนดเวลาในคำบังคับก็ตาม

 

5.  ฎีกา 698/2518

            เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ได้บังคับคดี  ก็ขอเฉลี่ยหนี้ได้

 

6.  ฎีกาที่ 816/2543

            การร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง  จึงต้องร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 10 ปี  นับแต่วันมีคำพิพากษา

 

7.  ฎีกาที่ 4105/2533

            เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  แม้จำเลยยังไม่ได้ผิดนัดตามสัญญายอม  ก็มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดไว้ได้

 

8.  ฎีกาที่ 742/2505

            เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของภริยาจำเลยจะขอเฉลี่ยในคดีที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ไม่ได้  แม้ทรัพย์ที่ยึดจะมีชื่อภรรยาจำเลยเป็นเจ้าของก็ตาม  เพราะภริยาจำเลยไม่ได้เป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย

 

9.  ฎีกาที่ 553/2510

            การที่ศาลสั่งปรับนายประกันในคดีอาญา  ถือว่าแผ่นดินเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นขอเฉลี่ยตามมาตรา 290 ได้

 

10.ฎีกาที่ 2629/2525

            ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยึดทรัพย์ไว้เป็นเจ้าหนี้จำนอง  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะเข้าไปเฉลี่ยโดยตรงไม่ได้  เพราะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน  แต่ศาลฎีกาก็นำมาตรา 290  มาบังคับใช้โดยอนุโลม  โดยให้ผู้ขอเฉลี่ยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่เหลือจากเงินที่เหลือจากการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนองแล้ว

 

11.ฎีกาที่ 3027/2530

            กรณีที่มีการรวมพิจารณาพิพากษาคดีหลายสำนวนเข้าด้วยกันนั้น  หาดมีการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยเพียงบางสำนวน  โจทก์สำนวนอื่นก็ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 290  ด้วยเช่นกัน

 

ผู้ขอเฉลี่ยไม่สามารถเอาชำระจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

 

12.ฎีกาที่ 1706/2547

            ข้อโต้แย้งตามมาตรา 290 วรรคสองนี้  เป็นข้อโต้แย้งของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน  ลูกหนี้ตามคำพิพากษา  ไม่ว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือไม่  จึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นโต้แย้ง

 

13.ฎีกาที่ 1161/2515

            ถ้าทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ขอเฉลี่ยได้โดยสิ้นเชิง  หรือมีเพียงชำระหนี้ได้บางส่วน  ผู้ขอก็มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้  ไม่ต้องด้วยข้อหาตามมาตรา 290 วรรคสอง

 

14.ฎีกาที่ 176/2494

            ในกรณีที่ผู้ขอเฉลี่ยมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นหลายคน  การพิจารณาว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษายังไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ขอสามารถเอาชำระได้หรือไม่นั้น  คงพิจารณาเฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึดหรืออายัดเท่านั้น

 

15.ฎีกาที่ 1623/2537

            การพิจารณาว่าผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ  ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในขณะที่ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น

 

16.ฎีกาที่ 1221/2510

            การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังมีทรัพย์สินอื่นแม้จะมีราคาพอชำระหนี้ของผู้ขอเฉลี่ยได้ก็ตาม  แต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจยึดได้ตามกฎหมาย  ถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ขอเฉลี่ยไม่สามารถเอาชำระหนี้  จึงขอเฉลี่ยได้

 

17.ฎีกาที่ 1619/2527

            ถ้าทรัพย์สินอื่นที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังมีอยู่นั้นติดจำนองธนาคารอยู่  ถือว่าเป็นทรัพย์ที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้

 

18.ฎีกาที่ 875/2503

            การที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินแต่ได้โอนให้บุคคลอื่นอันเป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตา 237  แม้จะร้องอาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ก็ตาม  ก็มิใช่หน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ยต้องไปฟ้องขอเพิกถอนเสียก่อน  เมื่อลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก  ผู้ร้องก็มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยได้

 

19.ฎีกาที่ 172//2538

            แม้ผู้ร้องขอเฉลี่ยมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีทรัพย์สินอื่นพอที่จะบังคับชำระหนี้ได้ก็ตาม  แต่ในการบรรยายในคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่จำต้องบรรยายว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินของจำเลย  เพราะเป็นข้อเท็จจริงทีนำสืบในชั้นพิจารณาได้

 

20.ฎีกาที่ 9574/2544

            ข้ออ้างที่ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินที่ผู้ร้องสามารถเอาชำระหนี้ได้  เป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน  จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ได้

 

การคัดด้านว่าหนี้ที่ขอเฉลี่ยเกิดจากการสมยอม

 

21.ฎีกาที่ 670/2503

            โจทก์มีสิทธิคัดด้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอนำมาเฉลี่ยนั้นเกิดจากการสมยอม  โดยโจทก์ไม่ต้องไปฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเป็นคดีใหม่

 

22.ฎีกาที่ 3280/2534

            เมื่อฟังได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องนำมาขอเฉลี่ยเกิดจากการสมยอม  ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยได้

 

กำหนดเวลาขอเฉลี่ย (มาตรา 290 วรรคสี่ถึงวรรคหก)

 

23.ฎีกาที่ 1161/2515

            กำหนดเวลายื่นขอเฉลี่ยหนี้ในการยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นต้องยื่นในกำหนด 14 วัน  นับแต่วันขายทอดตลาด  แต่จะยื่นก่อนขายทอดตลาดก็ได้

 

24.ฎีกาที่ 464/2524(ประชุมใหญ่)

            ในกรณีมีการยึดทรัพย์หลายอย่างในคราวเดียวกัน  ทำให้ต้องมีการขายทอดตลาดหลายครั้ง  ดังนี้  ผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยในกำหนดเวลา  14 วันนับวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด

 

25.ฎีกาที่ 2189/2534

            ถ้ามีการขายทอดตลาดไปแล้วบางรายการ  ต่อมาโจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์ในส่วนที่เหลือ  ถือว่าการขายทอดตลาดเสร็จสิ้นลงในวันที่ขอถอนการยึดนั้น  ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในกำหนด 14 วัน  นับแต่วันดังกล่าว

 

กรณีอายัดทรัพย์สิน (มาตรา 290 วรรคสี่)

 

26. ฎีกาที่ 1157/2544

            การยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในกรณีอายัดทรัพย์สินตามอนุมาตรานี้  จะต้องพิจารณาประกอบมาตรา 290 วรรคหนึ่ง  ดังนั้นจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีคือศาลที่พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นตามมาตรา 302 นั่นเอง  ถ้าศาลชั้นต้นที่พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีได้มอบให้ศาลชั้นต้นอื่นบังคับคดีแทน  ผู้ขอเฉลี่ยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี  และระยะเวลา 14 วัน  จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลที่บังคับคดีแทนส่งเงินที่ได้จากการอายัดมายังศาลชั้นต้นที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี

 

27.ฎีกาที่ 5832/2531

            คำว่า อายัด  ตามมาตรา 290  หมายถึง  การอายัดหลังพิพากษาไม่รวมถึงการอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาด้วย  ดังนั้น  การที่บุคคลภายนอกส่งเงินตามหมายอายัดชั่วคราว  ก็ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องร้องขอเฉลี่ยภายใน 14 วันนับแต่วันที่ส่งเงิน

 

28.ฎีกาที่ 3075/2535

            กรณีที่บุคคลภายนอกยังไม่ได้ส่งเงินมาตามหมายอายัดชั่วคราว  ก่อนศาลพิพากษา  แต่ได้ส่งเงินมาภายหลังศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้ว  ซึ่งถือว่าคำสั่งอายัดชั่วคราวมีผลต่อไปตามมาตรา 260(2)  มีผลเท่ากับพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ ตามมาตรา 290  วรรคหนึ่ง  ดังนั้น  จึงต้องยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ส่งเงิน

 

29.ฎีกาที่ 271/2534

ผู้ขอเฉลี่ยยื่นคำขอก่อนส่งเงินที่อายัดได้

 

การเข้าสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึด( มาตรา 290 วรรคแปด)

 

30.ฎีกาที่ 4096/2539

            แม้ผู้ขอเฉลี่ยจะยื่นคำร้องภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีแล้วก็ตาม  ผู้ร้องก็เข้าสวมสิทธิบังคับคดีต่อไปได้  โดยไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต

 

การงดการบังคับคดี (มาตรา 292)

งดการบังคับคดีเพราะมีการขอพิจารณาคดีใหม่(มาตรา 292(1))

1. ฎีกาที่ 324/2503

            ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่  ศาลก็อาจงดการบังคับคดีตามมาตรา 199 เบญจ(มาตรา 209เดิม)  ได้  แม้ศาลยังไม่ได้อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ก็ตาม

 

2.  ฎีกาที่ 1318/2536

            ถ้าศาลสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ในชั้นตรวจฟ้องก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดี

 

การงดการบังคับคดีตามคำสั่งศาล(มาตรา 292(2))

3. ฎีกาที่ 9100/2544

            การงดการบังคับคดีตามมาตรา 292(2) เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งได้เมื่อเห็นสมควร

 

4.  ฎีกาที่ 3143/2532

            ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยกเอาข้อตกลงนอกศาลซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังโต้แย้งอยู่มาเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ได้

 

5.  ฎีกาที่ 171/2513

            การสั่งงดการบังคับคดี  ศาลอาจสั่งโดยชัดแจ้งหรือสั่งโดยปริยายก็ได้

 

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้งดการบังคับคดี (มาตรา 292(3))

 

6.  ฎีกาที่ 6360/2534

            การงดการบังคับคดี  คือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนตกลงงดการบังคับคดีไว้ในเวลาที่กำหนด  หรือภายในเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง  โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

 

7.  ฎีกาที่ 3807/2546

            เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจขอให้งดการบังคับคดี  โดยมีเงื่อนไขให้จำเลยผ่อนชำระหนี้  ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ถือว่าผิดเงื่อนไข  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอให้บังคับต่อไปได้

 

8.  ฎีกาที่ 950/2515

            การขอให้งดการบังคับคดี  หมายถึง  ให้งดการบังคับคดีที่ยังไม่ได้กระทำเท่านั้น  จะให้งดการบังคับคดีที่ได้ปฏิบัติมาแล้วไม่ได้

 

9.  ฎีกาที่  2769/2539

            ศาลที่ได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทน  ไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดี

 

10.ฎีกาที่ 447-448/2492

            คำสั่งงดการบังคับคดีตามมาตรา 293  เป็นที่สุด  ดังนั้น  จึงต้องดูให้ดีว่าศาลสั่งโดยใช้อำนาจจากมาตราไหน

 

ลูกหนี้ของดการบังคับคดี (มาตรา 293)

 

11.ฎีกาที่ 1166/2492

            ผู้มีสิทธิของดการบังคับคดีตามมาตรานี้มีเฉพาะลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น  บุคคลอื่นไม่มีสิทธิ

 

12.ฎีกาที่ 1970/2534

            หลักเกณฑ์การงดการบังคับคดีตามมาตรานี้  คือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นต่อศาลเดียวกัน  ซึ่งถ้าตนเป็นฝ่ายชนะจะสามารถหักกลบลบหนี้กันได้  แสดงว่าหนี้ที่อ้างว่าสามารถนำมาหักกลบลบกันได้  ต้องได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก