คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 3|คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 3

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 3

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 3

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบังคับคดีมานำเสนอ

บทความวันที่ 6 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 13127 ครั้ง


 

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 3

 

            ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบังคับคดีมานำเสนอ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การร้องขัดทรัพย์  ผู้มีสิทธิร้องขัดทรัพย์  กำหนดเวลาร้องขัดทรัพย์  การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จำนอง

ร้องขัดทรัพย์ (มาตรา 288)

ต้องมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ฯ  ออกขายทอดตลาด

 

1.  ฎีกาที่ 6547/2538

            กรณีที่ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ต้องมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อนำออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น  การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบทรัพย์ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ตรี  ไม่ใช่การยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาด  จึงร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

 

2.  ฎีกาที่ 676/2546

            ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม  แม้จะมีการยึดทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน  ก็เป็นเพียงวิธีหนึ่งในการแบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง  ไม่ใช่การบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. จึงร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

 

ผู้มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

 

1.  ฎีกาที่ 399/2534 (ประชุมใหญ่)

            ผู้เช่าซื้อ  แม้จะยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียแล้ว  จึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

 

2.  ฎีกาที่ 1824/2493

            ผู้ได้รับสัมปทานป่าไม้  ร้องขัดทรัพย์ไม้ที่ถูกยึดจากป่าที่ได้รับสัมปทานได้

 

3.  ฎีกาที่ 1823/2493

            หน่วยงานของรัฐมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์ที่ตนดูแลรักษา

 

4.  ฎีกาที่ 28/2506

            เจ้าหนี้ผู้ครอบครองที่ดินประกันหนี้  ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินนั้น

 

5.  ฎีกาที่ 1561/2508

            ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์

 

6.  ฎีกาที่ 2220/2535

            จำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึด ผู้ร้องก็ไม่อาจกล่าวอ้างสิทธิใด ๆ  เพื่อขอให้ศาลปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามมาตรา 288 ได้

 

7.  ฎีกาที่ 2244/2536

            จำเลยลักเงินของผู้ร้องขัดทรัพย์ไปซื้อรถยนต์  ดังนั้น รถยนต์ไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

 

ผู้ที่ไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

 

8.  ฎีกาที่ 1449/2524        

            เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาในทรัพย์ที่ยึด  เท่ากับจำเลยยังมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย  ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

 

9.  ฎีกาที่ 3139/2537

            ถ้าผู้ร้องกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้วจะยึดที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองด้วยมิได้  ต้องกันที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองออกก่อน 

 

10.ฎีกาที่ 5266/2539

            ทรัพย์สินที่ยึดเป็นสินสมรสของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา  เท่ากับจำเลยเป็นเจ้าของอยู่ด้วย  ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

 

11. ฎีกาที่ 1413/2498

            ผู้รับจำนำร้องขัดทรัพย์ในทรัพย์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาจำนำไม่ได้  เพราะทรัพย์ที่จำนำเป็นของจำเลย  ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 288

 

12.ฎีกาที่ 2183/2519

            ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายทรัพย์สินจากจำเลย  ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

 

13.ฎีกาที่ 1078/2520

            ถ้าเป็นการทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในที่ดินมือเปล่ากันเอง  และผู้ซื้อได้เข้าครอบครองที่ดินแล้ว  ดังนี้แม้สัญญาซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ  เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ก็ถือว่าผู้ขายได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินให้ผู้ซื้อแล้วโดยการส่งมอบ  ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดิน  มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

 

14.ฎีกาที่ 794/2505

            ถ้าผู้ซื้อยังมิได้ครอบครองที่ดินมือเปล่าที่ซื้อ  ผู้ซื้อก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง  ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

 

15.ฎีกาที่ 151/2532

            ทรัพย์ที่ยึดไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินของผู้ร้อง  ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้ 

 

16. ฎีกาที่ 3570/2534

            ผู้ที่กล่าวอ้างว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด  จะต้องถูกโต้แย้งสิทธิตามมาตรา 55 ด้วย

 

17.ฎีกาที่ 1701/2524(ประชุมใหญ่)

            เมื่อปรากฏว่าทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา  แต่เป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์  โจทก์จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้  ศาลต้องถอนการยึดและคืนให้ผู้ร้องไป  ทั้งโจทก์จะอ้างสิทธิยึดหน่วงในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ด้วย

 

18.ฎีกาที่ 1645/2530

            แม้ได้ความว่าทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์จริง  แต่ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนออกนอกหน้าเป็นตัวการ  นำทรัพย์ดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้รับจำนอง  ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ให้เสื่อมสิทธิของผู้รับจำนองไม่ได้

 

19.ฎีกาที่ 1792/2530

            ในคดีฟ้องบังคับจำนอง  การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาด  ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึด  โดยใช้ชื่อจำเลยไว้ในโฉนดแทน  จะต้องตั้งประเด็นมาในคำร้องขัดทรัพย์ว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยไม่สุจริตด้วย

 

20.ฎีกาที่ 1185/2545

            ในคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับจำนองและนำยึดทรัพย์ที่จำนอง  ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่าทรัพยันั้นเป็นของผู้ร้อง  ผู้ร้องได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์  ผู้ร้องต้องตั้งประเด็นในคำร้องขัดทรัพย์ว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยไม่สุจริต  หากไม่กล่าวไว้ก็ไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำสืบได้  ศาลชั้นต้นยกคำร้องขัดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องไต่สวน

 

21.ฎีกาที่ 1817/2542

            ศาลยกคำร้องขัดทรัพย์เพราะไม่มีพยานมาสืบ  เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว  ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์อีก เป็นร้องซ้ำตามมาตรา 148

 

กำหนดเวลาร้องขัดทรัพย์

 

22. ฎีกาที่ 3030/2528

            กำหนดเวลาในการยื่นร้องขัดทรัพย์จะต้องยื่นคำร้องก่อนขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดนั้น  โดยต้องเป็นการขายทอดตลาดที่บริบูรณ์ด้วย  การประกาศให้มีการขายทอดตลาดแล้วมีการเลื่อนออกไป  ยังไม่ถือว่าเป็นการขายทอดตลาด  ผู้ร้องจึงยังมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

 

23.ฎีกาที่ 2243/2525

            ถ้ามีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดจนสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว  ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด  มีผลเท่ากับขอให้ศาลปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามมาตรา 288  จึงเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 288

 

เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการขายทอดตลาดไว้

 

24.ฎีกาที่ 1900/2541

            การที่ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานศาล  เพื่อส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี  เป็นการดำเนินการโดยชอบแล้ว  การที่เจ้าพนักงานศาลไม่ได้นำส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไป  จึงไม่ชอบ  ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้

 

การพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์เหมือนคดีธรรมดา

 

25.ฎีกาที่ 310/2523

สำหรับการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์  ศาลต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินนั้นเหมือนคดีธรรมดานั้น  ผู้ร้องขัดทรัพย์จึงมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์  ส่วนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  มีฐานะเสมือนเป็นจำเลย  ดังนี้  โจทก์เดิมจึงต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 15  วัน  นับแต่วันส่งหมายเรียก  ถ้าไม่ยื่นในกำหนดถือว่าโจทก์เดิมขาดนัดยื่นคำให้การ

 

26.ฎีกาที่ 514/2503

ถ้าศาลไม่ได้ส่งให้ส่งหมายเรียก  หรือกำหนดเวลาให้โจทก์ยื่นคำให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์  เพียงแต่นัดพร้อม  ดังนี้  โจทก์ยื่นคำให้การในวันนัดพร้อมได้

 

27.ฎีกาที่ 9594/2544

คำร้องขัดทรัพย์เปรียบเสมือนคำฟ้อง  คำร้องขัดทรัพย์จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ  ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม  ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง

 

ประเด็นในชั้นร้องขัดทรัพย์

 

28.ฎีกาที่  54/2525

ในชั้นร้องขัดทรัพย์มีว่า  ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่  ดังนี้  โจทก์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอน น.ส. 3 ไม่ได้ 

 

29.ฎีกาที่ 1400/2495

ในกรณีมีผู้ร้องขัดทรัพย์รายการ  ผู้ร้องขัดทรัพย์ด้วยกันจะขอให้ศาลวินิจฉัยว่าใครมีสิทธิในทรัพย์นั้นไม่ได้

 

30.ฎีกาที่ 546/2501

ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอ้างว่าหนี้ตามคำพิพากษาเกิดจากการสมยอมไม่ได้  เพราะไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยหรือไม่

 

31.ฎีกาที่ 1151-1152/2503

ทางฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยกข้อต่อสู้ได้ว่าผู้ร้องได้ทรัพย์มาโดยไม่สุจริต  เป็นการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้  โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้ไปฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลเป็นคดีใหม่  เพราะเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยหรือไม่

 

32.ฎีกาที่ 1227/2503

ในคดีร้องขัดทรัพย์  ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอ้างว่าหนี้ตามคำพิพากษาเกิดจากการสมยอมไม่ได้

 

33.ฎีกาที่ 2105/2542

การวางเงินเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์อาจได้รับเท่านั้น  ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องได้รับความเสียหายจริง ๆ  หรือความเสียหายยังไม่ปรากฏชัดแจ้งก็ตาม

 

34.ฎีกาที่ 7182-7183/2540

เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินแล้ว  ถ้ามีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขัดทรัพย์นั้นไม่มีมูล  ศาลอาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางประกันได้เลยโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อนก็ได้

 

 

การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จำนอง (มาตรา 289)

 

1.  ฎีกาที่ 2086/2497

            เจ้าหนี้จำนองขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 289 นี้  ไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

 

2.  ฎีกาที่ 3043/2528

            เจ้าหนี้จำนองต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด

 

3.  ฎีกาที่ 1779-1780/2509

            ผู้รับจำนองจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนขายทอดตลาดตาม มาตรา 289 นี้ก็ไม่ทำให้จำนองระงับสิ้นไป  เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองไม่ใช่เหตุทำให้การจำนองระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744  ทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา 287

 

4.  ฎีกาที่2698/2546

            การที่ผู้รับจำนองจะไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนองก่อนขายทอดตลาดการบังคับคดีดังกล่าวไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิจำนอง  ผู้รับจำนองอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287  ดังนั้น  ถ้าได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองไปโดยปลอดจำนอง  ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองก่อน

 

5.  ฎีกาที่ 2825/2527

            ในคดีที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองแต่ฟ้องบังคับในมูลหนี้สามัญซึ่งเป็นหนี้ประธาน  ในชั้นบังคับคดีโจทก์ก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ก่อนตามมาตรา 289

 

6. ฎีกาที่ 1767/2527

            การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนจากผู้ร้อง  เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนของโจทก์  มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้  ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้โดยอ้างสิทธิยึดหน่วงไม่ได้

 

7. ฎีกาที่ 5530/2539

            คดีก่อนโจทก์เคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286  ศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้  คำสั่งถึงที่สุดแล้ว  การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับจำนองจำเลยเป็นคดีนี้ เป็นฟ้องซ้ำ

 

8. ฎีกาที่ 2715/2545

            การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อน  เมื่อพิจารณาได้ความว่า  เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว  ศาลจะสั่งให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ตามบทบัญญัติไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก