รวมคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงาน/ย่นขยายระยะเวลาอุทธรณ์|รวมคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงาน/ย่นขยายระยะเวลาอุทธรณ์

รวมคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงาน/ย่นขยายระยะเวลาอุทธรณ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

รวมคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงาน/ย่นขยายระยะเวลาอุทธรณ์

ลูกจ้างหรือนายจ้างที่แพ้คดีในศาลอุทธรณ์ อาจจะมีนับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือคำแก้อุทธรณ์ผิดพลาดได้

บทความวันที่ 2 เม.ย. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11282 ครั้ง


 

รวมคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงาน/ย่นขยายระยะเวลาอุทธรณ์

 

ลูกจ้างหรือนายจ้างที่แพ้คดีในศาลอุทธรณ์  อาจจะมีนับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือคำแก้อุทธรณ์ผิดพลาดได้  เพราะศาลแรงงานมักจะใช้วิธีการปิดหมายและให้ถือว่า  มีผลทันทีที่รับหมาย  เช่น  กำหนดเวลาให้แก้อุทธรณ์ภายใน 7 วัน หรือ 15 วัน  เป็นต้น  ถึงแม้จะปิดหมาย  แต่ต้องยื่นคำแก้ภายในกำหนดเวลา  โดยไม่อาจนำ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 23  มาใช้บังคับ  เพราะ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522   มาตรา 26  มีการกำหนดใช้โดยเฉพาะ  ดังนั้น  ลูกจ้างหรือนายจ้างต้องระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเสียสิทธิ์ในการอุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ได้  แต่ถึงอย่างไร  ยังมีคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ยินยอมให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้  ถึงแม้จะเลยกำหนดระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนด

            ท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีแรงงานและต้องการทนายคดีแรงงาน  โทรหา อ.เดชา กิตติวิทยานันท์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรด้านแรงงาน  โทร.02-948-5700 , 081-912-5833

 

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการย่น-ขยาย ระยะเวลาในการอุทธรณ์/แก้อุทธรณ์/ การขอพิจารณาคดีใหม่  และอื่น ๆ ในคดีแรงงาน

 

1.  คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 29/2542

            การย่นหรือขยายระยะเวลาคดีแรงงาน  ต้องใช้มาตรา 26  ไม่อาจนำ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 23  มาบังคับใช้ได้

 

2.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542

            ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับ  การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันที  ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้  ให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป  ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า  การปิดคำบังคับให้มีผลทันที  จำเลยจึงไม่ทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับ  มีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในคำบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79  วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522  มาตรา 31  ที่กำหนดว่า  การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ  กำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาล  เห็นสมควรกำหนดให้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับ  ได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่  ภายใน 15 วัน  นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

 

3.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5326/2542

            แม้คำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ของโจทก์จะระบุว่า  มิได้ประสงค์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่ประสงค์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ก็ตาม  แต่ผลของการขอก็คือขออนุญาตอุทธรณ์เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่งเอง  ถือว่าคำร้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์

 

4.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5326-5327-2542

            แม้คำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ของโจทก์จะระบุว่า  มิได้ประสงค์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์  แต่ประสงค์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้ก็ตาม  แต่ผลของการขอก็คือขออนุญาตอุทธรณ์เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นเอง  ถือว่าคำร้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์

 

5.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543

            หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ 1  จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดอุทธรณ์แล้ว   จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้  กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย

 

6.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543

            ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาล  โดยให้มีผลทันทีแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522  มาตรา  25, 26  จึงต้องถือว่าเป็นได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว  เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัด  โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้

 

7.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8934/2543

            พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522  มาตรา 26  ได้บัญญัติเรื่องขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลแรงงานในการฟ้องคดีไว้เป็นการเฉพาะตัว  ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23  ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมได้, ศาลแรงงานกลางกำหนดไว้แล้วว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม  โดยไม่จำต้องมีพฤติการณ์พิเศษดังเช่นบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 

 

8.  พิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2545

            พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522  มาตรา 31  เป็นอำนาจของศาลซึ่งมีอยู่ทั่วไปที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ  และไม่อยู่ในบังคับแห่งบทกฎหมายว่าด้วยอายุความหรือการย่นหรือขยายระยะเวลา  ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 26

 

9. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2548

            แม้ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางในคดีนี้จะสิ้นสุดลงไปแล้ว  โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานได้ 

 

10. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057-3058/2548

            พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 26  มิได้กำหนดให้คู่ความต้องการยื่นคำร้องย่นหรือขยายระยะเวลาต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้  แม้ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางได้  ส่วนศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือไม่  ก็ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นหรือเหตุอันจำเป็นของจำเลยว่าจริงหรือไม่และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

 

11.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2549

            พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125  วรรคหนึ่ง  บัญญัติไว้ว่า  เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 และ ถ้านายจ้าง ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน  นับแต่วันทราบคำสั่ง  ซึ่งกำหนดเวลาให้นำคดีขึ้นสู่ศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี  มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ

 

12.  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2551

            จำเลยทราบถึงการขอถอนตัวจากการเป็นทนายความตั้งแต่ก่อนศาลแรงงานภาค 2  อ่านคำพิพากษา  จำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะจัดหาทนายความคนใหม่ได้เสียแต่เนิ่น ๆ  การที่จำเลยไม่รีบดำเนินการจึงเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง  ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานภาค 2  จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก