ค้ำประกันบ้าน|ค้ำประกันบ้าน

ค้ำประกันบ้าน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค้ำประกันบ้าน

ค้ำประกันให้คนเพื่อนสนิท ต่อมาเค้าไม่ผ่อน ตอนนี้ธนาคารโอนหนี้ให้ บสก.

บทความวันที่ 15 มี.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2312 ครั้ง


ค้ำประกันบ้าน

           ค้ำประกันให้คนเพื่อนสนิท   ต่อมาเค้าไม่ผ่อน ตอนนี้ธนาคารโอนหนี้ให้ บสก. มีหนังสือทวง  เราให้ไปชำระหนี้  ถ้าเค้าไม่จ่ายแล้ว  เราจะโดนฟ้องยึดบ้านหรือทรัพย์สินไหมคะ เค้าบอกว่าเอาที่แม่เค้าไปค้ำไว้  เราไม่ต้องเดือดร้อนจะให้บสก.  ยึดที่แม่เค้าแล้วไปซื้อคืนทีหลัง

คำแนะนำทนายคลายทุกข์ 
         การที่คุณทำสัญญาค้ำประกันให้เพื่อนซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคาร ซึ่งหลักการค้ำประกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680  คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้ค้ำประกัน  ผูกพันต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง  เพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
          ซึ่งเมื่อเพื่อนของคุณซึ่งเป็นลูกหนี้เขาไม่ผ่อน  และตาม ป.พ.พ. มาตรา 686  ได้กำหนดไว้ว่า  เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด  ธนาคารเจ้าหนี้โดย บ.ส.ก.ผู้รับโอนหนี้  ชอบที่จะเรียกให้ผุ้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น
        หาก บสก. มีหนังสือทางถามได้คุณไปชำระหนี้ แทนในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน   ในกรณีที่เพื่อนผิดนัดไม่ชำระหนี้  ถ้าคุณได้ใช้หนี้แทนเพื่อน  คุณย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากเพื่อนคุณซึ่งเป็นลูกหนี้ เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยหรือเพื่อการที่ต้องสูญหาย หรือ เสียหายไปอย่างใด ๆ  เพราะการค้ำประกันนั้น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693  แต่ถ้าหาก บสก.ฟ้องคุณในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ในเมื่อเพื่อนคุณซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น  หากคุณไม่ได้ตกลงยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้  คุณย่อมมีสิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้โดย บสก.   ไปเรียกให้เพื่อนของคุณชำระหนี้ก่อนได้ หรือ หากธนาคทารเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน  เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ  ธนาคารเจ้าหนี้โดย บสก. จะต้องให้ชำระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 688, 690  เพราะฉะนั้น  หากคุณโดนฟ้อง  คุณย่อมมีสิทธิเกี่ยงต่อเจ้าหนี้ดังกล่าวได้ตามกฎหมาย  เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สิน หรือบ้านของคุณเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ทันที

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
          อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

          มาตรา 686  ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น

         มาตรา 688  เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้  ผู้ค้ำประกันจะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต

         มาตรา 690 ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชำระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน

         มาตรา 693  ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น
        อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

กรณีผมค้ำจักรยายยนต์ ใหเมียเพื่อน เป็นคนค้ำคนที่ 2 คนที่ 1คือพี่ชายเมียเพื่อน ต่อมาเค้าแยกทาง กันเมียเพื่อน เอารถไปขาย แล้วไม่ส่งงวดไฟแนนทื ผมควรจะทำอย่างไร

โดยคุณ มงกุฏ วอแพง 22 ก.ย. 2553, 11:10

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก