หลักสูตรกฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานต้องรู้|หลักสูตรกฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานต้องรู้

หลักสูตรกฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานต้องรู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หลักสูตรกฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานต้องรู้

สัญญาจ้างแรงงาน

บทความวันที่ 11 ก.พ. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 27051 ครั้ง


หลักสูตรกฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานต้องรู้

 

          สำนักฝึกอบรมทนายคลายทุกข์จัดฝึกอบรมสัมมนาเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานหรือพนักงานต้องรู้  ปัจจุบันมีกรณีพิพาทแรงงานเกือบทุกวัน เช่น การออกใบเตือน  การเลิกจ้างพนักงานทั่วไป และพนักงานทดลองงาน การทุจริตของพนักงาน การกระทำละเมิดของลูกจ้าง  การฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน และสัญญาห้ามทำงานกับคู่แข่งทางการค้า  การเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน  หัวหน้างานจึงมีความจำเป็นจะต้องรู้กฎหมายแรงงาน  มิฉะนั้น  อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานมากมาย  ท่านใดสนใจเข้ารับการฝึกอบรม ทั้ง  Public และ inhouse  ท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่  คุณศุภานัน  02-9485700 หรือ ปรึกษาคดีแรงงานกับทนายคดีแรงงาน  ได้ที่เบอร์ดังกล่าวหรือส่งคำถามทางด้านกฎหมายแรงงานของท่านมาได้ที่ e-mail: [email protected]

สัญญาจ้างแรงงาน

 

ความหมายของจ้างแรงงาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575  บัญญัติว่า “อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้”

องค์ประกอบของสัญญาจ้างแรงงาน
o  นายจ้างตกลงจ้าง
o  ลูกจ้างตกลงรับทำงาน
o  ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน
o  สมัครใจ

ลักษณะสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน
o  เป็นสัญญาต่างตอบแทน
o  ทั้งลูกจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ต่อกัน กล่าวคือลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างหรือสินจ้างให้กับลูกจ้างในการทำงาน
o  พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5  กำหนดว่า ค่าจ้างต้องเป็นเงินเท่านั้น จะจ่ายเป็นสิ่งของอย่างอื่นไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
o  มาตรา 5  บัญญัติว่า “ค่าจ้าง หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้”
o  ลูกจ้างต้องทำงานภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของนายจ้าง จะทำงานโดยอิสระปราศจากการควบคุมบังคับบัญชาของนายจ้างไม่ได้  ถ้าลูกจ้างมีอิสระทำงานตามใจชอบไม่ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นสัญญาจ้างแรงงาน คำพิพากษาฎีกาที่ 2848/2525  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้”
o  คุณสมบัติของนายจ้างและลูกจ้างเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 บัญญัติว่า “นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย  ลูกจ้างจะให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนก็ได้เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย  ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดทำการฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้”

รูปแบบของสัญญาจ้างแรงงาน


รูปแบบของสัญญาจ้างแรงงาน
ควรทำเป็นหนังสือระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง เงื่อนไขการจ่ายค่าจ้าง ระยะเวลาในการทำงาน ค่าจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ เช่น โบนัสให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีข้อถกเถียงกันในอนาคต และสะดวกในการนำสืบหากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับคดีแรงงาน ทำให้การตกลงเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานเป็นไปด้วยความเรียกร้อย

ควรทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ
สาระสำคัญที่ควรมีในสัญญาจ้างแรงงาน
o  ชื่อนายจ้างและลูกจ้าง
o  วันที่เริ่มต้นการจ้าง
o  วันเริ่มต้นการจ้างครั้งก่อน ในกรณีตกลงนับระยะเวลาทำงานต่อเนื่องจากการทำงานครั้งก่อน
o  ตำแหน่ง หน้าที่ของลูกจ้าง
o  อัตราค่าจ้าง วิธีการคำนวณ และกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้าง
o  ข้อตกลงเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุด ค่าจ้างในวันหยุด รวมทั้งค่าทำงานในวันหยุดกรณีสัญญาจ้างสิ้นสุด
o  ข้อตกลงเกี่ยวกับการไร้ความสามารถเนื่องจากเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ รวมทั้งค่าจ้างในระหว่างลาป่วย
o  บำนาญและหลักเกณฑ์การจ่าย
o  ระยะเวลาบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกสัญญาจ้าง
o  ระยะเวลาจ้าง กรณีจ้างชั่วคราว หากจ้างมีกำหนดเวลาแน่นอนต้องระบุวันสิ้นสุดของสัญญาจ้าง
o  สถานที่ทำงาน
o  ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลโดยตรงต่อเงื่อนไขการจ้างและการทำงานของลูกจ้าง ในกรณีนายจ้างไม่ใช่คู่สัญญาของข้อตกลง

ทะเบียนลูกจ้าง (พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 112)
ข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงาน (ป.พ.พ.มาตรา 583)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงาน (สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแก้ไขโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไม่ได้  คำพิพากษาฎีกาที่ 6629/2541 , 7238-7239-2544 , 1921/2545 , 3456/2545 )

นายจ้าง ลูกจ้างและบุคคลที่ต้องร่วมรับผิดกับนายจ้าง
-  นายจ้าง (พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 5 , มาตรา 11/1 ) คำพิพากษาฎีกาที่ 1746-1951/2525  ป.พ.พ. มาตรา 70 , 821  ,823 , 1167
-  บุคคลที่ต้องร่วมรับผิดกับนายจ้าง (พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 5 , มาตรา 12 ) ป.พ.พ. มาตรา 226
-  ลูกจ้าง  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 ) คำพิพากษาฎีกาที่ 4471/2530 , 2970/2528  , 336/2525 , 3465/2524  ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ เดิม เดือนตุลาคม 2532  ยกเลิกลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว คงมีแต่ลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับปี พ.ศ. 2541 เท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกลูกจ้าง) 

การค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง
-  ความเป็นมาของการเรียกหรือรับหลักประกัน
-  ประเภทของการประกัน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 ) คำพิพากษาฎีกาที่ 6633-6638/2547  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 363
-  ข้อห้ามเรียกรับหลักประกัน  (หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ) 
-  ลักษณะหรือสภาพของงานที่เรียกหรือรับหลักประกันได้  (ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ข้อ 4)

-  หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกรับหลักประกัน (เป็นไปตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ข้อ 5. )
-  การคืนหลักประกันและความรับผิด  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 9 , มาตรา 10 , มาตรา 144 )  คำพิพากษาฎีกาที่ 8029/2544
-  อายุความฟ้องให้รับผิดตามหลักประกันการทำงาน (ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ) อายุความฟ้องร้อง 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจบังคับได้ตามสิทธิ

จ้างทดลองงาน
จ้างทดลองงาน หมายถึง ทดลองการปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด   เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถในการทำงาน  ถ้าพอใจผลงานนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานต่อ ถ้าผลงานไม่น่าพอใจ นายจ้างมีสิทธิเลิกลูกจ้างได้ในระหว่างทดลองงาน
เงื่อนไขและระยะเวลาทดลองงาน (คำพิพากษาฎีกาที่ 2480/2525  อาจตกลงก่อนเข้าทำงานหรือตกลงภายหลังเข้าทำงานก็ได้  เดิมเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  คำพิพากษาฎีกาที่ 2658/2526  ปัจจุบันต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 5249/2545  ครบกำหนดทดลองงาน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทดลองงานต่ออีกได้  ถ้าลูกจ้างไม่ผ่านการประเมินจะต้องโต้แย้งการประเมินหากไม่โต้แย้งถือว่าประเมินชอบแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 8682/2548
การคุ้มครองตามกฎหมาย  (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับที่ 21  ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2521  นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างทดลองงานต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 4530-4535/2543  ลูกจ้างทดลองงานและลูกจ้างทั่วไปได้รับความคุ้มครองเหมือนกับลูกจ้างทั่วไป  เช่น สิทธิในการลาป่วยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี, การหยุดประจำสัปดาห์ , การหยุดตามประเพณี , การหยุดพักผ่อนประจำปี , ค่าล่วงเวลาเป็นต้น

สิทธิหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง
ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง  เป็นคำสั่งที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของลูกจ้าง  ถ้าเป็นคำสั่งนอกเหนือจากการทำงานตามหน้าที่ลูกจ้างไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม  คำพิพากษาฎีกาที่ 3423/2524  , 2021/2525 , 2518/2527  , 4779/2531   คำสั่งของนายจ้างต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่พ้นวิสัย ไม่ขัดกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่และเป็นธรรม /  ลูกจ้างต้องทำงานด้วยตนเอง  ลูกจ้างต้องทำงานให้ปรากฎฝีมือตามที่ได้แสดงไว้ ป.พ.พ. มาตรา 578 / ลูกจ้างต้องไม่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร  ป.พ.พ. มาตรา 583  / ลูกจ้างต้องไม่กระทำความผิดร้ายแรง ป.พ.พ. มาตรา 583  / ลูกจ้างต้องไม่กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ป.พ.พ. มาตรา 583
 
สิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง
ป.พ.พ. มาตรา 575  นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างและต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 / นายจ้างมีสิทธิมอบงานให้ลูกจ้างทำ แต่เคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 2850/2525 วินิจฉัยว่าเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะไม่ส่งมอบงานให้แก่ลูกจ้างทำก็ได้ แต่นายจ้างยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างอยู่ ถ้าไม่จ่ายค่าจ้างถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้ว  / นายจ้างจะโอนสิทธิการเป็นนายจ้างให้บุคคลอื่นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง  ป.พ.พ. มาตรา 577  คำพิพากษาฎีกาที่ 1343/2526 /  นายจ้างโอนลูกจ้างไปยังอีกบริษัทหนึ่งแต่ลูกจ้างไม่ยินยอมและไม่ยอมไปทำงาน และไม่ไปรายงานตัวจะถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ได้  กรณีโอนลูกจ้างไปทำงานกับบุคคลอื่น หากไม่ตกลงกันไว้ ต้องนับอายุงานต่อเนื่อง คำพิพากษาฎีกาที่ 587-588/2530  /กิจการของนายจ้างที่มีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง นายจ้างคนใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 13  / นายจ้างต้องออกค่าเดินทางขากลับให้แก่ลูกจ้าง ป.พ.พ. มาตรา 586 /นายจ้างต้องออกหนังสือสำคัญแสดงการทำงานให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 585

อายุความฟ้องเรียกร้องสิทธิตามสัญญาจ้าง
เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30  กล่าวคือมีอายุความ 10 ปี

การใช้แรงงานหญิง
-  งานที่ห้ามไม่ให้ลูกจ้างหญิงทำ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 38 )
-  กำหนดเวลาที่ห้ามไม่ให้ลูกจ้างหญิงทำงาน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 40 )
-  การให้ความคุ้มครองลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ (พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 39 , มาตรา 39/1  , มาตรา 41  , มีสิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราว มาตรา 42 , ห้ามเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุตั้งครรภ์ มาตรา 43  ,ป.พ.พ. มาตรา 150   )
-  การคุ้มครองความเสมอภาคระหว่างลูกจ้างหญิงกับชาย  ( รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มาตรา 30  , พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 15 , 53 , 89 )
-  การคุ้มครองลูกจ้างหญิงจากการถูกล่วงเกินทางเพศ ( พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 16 , คำพิพากษาฎีกาที่ 1372/2545 นายจ้างชวนลูกจ้างหญิงไปเที่ยวเตร่ด้วยกันในเวลากลางคืน นอกเวลางาน ลูกจ้างหญิงไม่ไปจะกลั่นแกล้งและไม่ให้ผ่านการทดลองงานเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ)

การใช้แรงงานเด็ก
-  ห้ามรับเด็กอายุต่ำกว่า 15  เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 44 )
-  การรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 45 )
-  เวลาทำงานและเวลาพักของลูกจ้างที่เป็นเยาวชน (พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 46 , 47 , 48 )
-  ลักษณะงานและสถานที่ที่ห้ามไม่ให้ลูกจ้างที่เป็นเยาวชนทำ (กฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2541 )ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
-  การคุ้มครองการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่เป็นเยาวชน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 51)
-  การลาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้างที่เป็นเยาวชน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 52)

เวลาทำงานปกติและเวลาพัก
-  เวลาทำงานปกติ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 23 )
-  เวลาพัก (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 27)

วันหยุดและวันลา
1.วันหยุด
oวันหยุดประจำสัปดาห์ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 28)
oวันหยุดตามประเพณี (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 29)
oวันหยุดพักผ่อนประจำปี (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 30)
2.วันลา
oลาป่วย (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 32 )
oลาเพื่อทำหมัน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 33 )
oลาคลอด (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 41)
oลากิจ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 34)
oลารับราชการทหาร (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 35)
oลาเพื่อฝึกอบรม  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 36)
oลาเพื่อกิจการสหภาพแรงงาน (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 102)

ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด


1.ค่าจ้าง
oความหมายของค่าจ้าง  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 )
oค่าจ้างขั้นต่ำ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 78 , 79 , 80 ,  82 , 84 ) ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับล่าสุด)
oค่าจ้างในระหว่างปิดกิจการชั่วคราว ฎีกา 118/2525 , 1277-1278/2529  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 )
oค่าจ้างในระหว่างนัดหยุดงานและปิดงาน (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 , มาตรา 6  คำพิพากษาฎีกาที่ 1612/2530 , 2608-2610/2527 )
oค่าจ้างในวันหยุดและวันลา (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 56 )
oเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีพักงานระหว่างสอบสวนความผิด (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 116 )
oเงินที่นายจ้างต้องจ่ายระหว่างพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 105)
2.ค่าล่วงเวลา
oความหมาย  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 23 วรรคสอง)
oประเภทของค่าล่วงเวลา
oสิทธิของนายจ้างในการให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 24 )
oอัตราค่าล่วงเวลา  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 61, 63 , 74 )
oการคำนวณค่าล่วงเวลา   (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 68 )
oการตกลงเหมาค่าล่วงเวลารวมกับค่าจ้าง  (คำพิพากษาฎีกาที่ 3269-3270/2526 ) ประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 50
oลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 65 )
oอายุความฟ้องเรียกค่าล่วงเวลา (มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) คำพิพากษาฎีกาที่ 2073/2531 , 2754/2523 , 2923/2523
3.ค่าทำงานในวันหยุด
oความหมาย
oสิทธินายจ้างในการให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 25)
oอัตราค่าทำงานในวันหยุด (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 62)
oลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด  พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 65(1)
4.การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
oจ่ายโดยเสมอภาคให้แก่ลูกจ้างชายและหญิง (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 53)
oจ่ายด้วยเงินตราไทย (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 54)
oจ่าย ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 55)
oกำหนดเวลาจ่าย (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 70)
oความรับผิดในดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 9 )
oการหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 , 77 )
oอายุความฟ้องเรียกค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
การฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด รวมถึงค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (8)(9)

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง


1.ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
oนายจ้างที่มีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไปต้องมีข้อบังคับฯเป็นหนังสือ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 108 )
oการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 108 วรรคสองและวรรคสี่ และมาตรา  110 )
2.ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
oข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 )
oองค์ประกอบของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา 5 )
oประเภทของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
oข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดและไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง
oผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
oการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
oผลผูกพันของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

วินัยและการลงโทษทางวินัย
-ความหมายและวัตถุประสงค์
-ผู้มีอำนาจกำหนดวินัย (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 )
-วินัยและการลงโทษปรากฏในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 108)
-ประเภทของวินัย
-ขอบเขตของวินัย
-วินัยที่ดี
-สาเหตุของการฝ่าฝืนวินัย
-โทษทางวินัย
-ขั้นตอนการลงโทษทางวินัย

สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า


1.หลักเกณฑ์การบอกกล่าวล่วงหน้า (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 , 583  , พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 )
oการจ้างที่มีกำหนดเวลา เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างสิ้นสุดโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
oการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนเลิกจ้าง
2.ข้อยกเว้นไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 
ลูกจ้างจงในขัดคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง , ไม่นำพาต่อคำสั่งของนายจ้างเป็นอาจิณ , ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเวลานานอันสมควร , ทำผิดร้ายแรง ,กระทำการไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องและสุจริต , ทุจริต หรือกระทำผิดอาญา โดยเจตนาต่อนายจ้าง , จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง , ทำผิดซ้ำและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วยังฝ่าฝืนทำผิดอีกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือเตือน ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร , ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก )
3.ดอกเบี้ย การตกลงสละสิทธิและอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 , 224 , 582  (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17)

ค่าชดเชย
1.ความหมาย
2.หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 วรรคแรก)
oต้องมีการเลิกจ้าง
oลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไป
3.ข้อยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชย
4.อัตราค่าชดเชย
5.การตกลงยกเว้นหรือสละสิทธิเรียกค่าชดเชย ดอกเบี้ยและอายุความ
oการตกลงยกเว้นหรือสละสิทธิ์เรียกค่าชดเชย
oดอกเบี้ย
oอายุความฟ้องค่าชดเชย

ค่าชดเชยพิเศษ
-ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายสถานประกอบกิจการ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1927-2163/2526  , 1972-2102/2534 ) (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 120 )
-ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีแทนลูกจ้าง (พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 121 , 122 )
-อายุความฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยพิเศษ (ป.พ.พ. 193/30 มีอายุความ 10 ปี นับแต่อาจบังคับได้ตามสิทธิ)

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
1.หลักเกณฑ์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม (พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 )
2.กรณีถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
3.กรณีไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
4.เลิกจ้างเป็นธรรมทั้งในเนื้อหาและวิธีพิจารณา
5.ผลของการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
oกรณีให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงาน
oกรณีให้นายจ้างใช้ค่าเสียหาย
6.ข้อสังเกตเกี่ยวกับเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
oเลิกจ้างไม่เป็นธรรมกับค่าชดเชย
oไม่ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนฟ้อง
oเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
oอาจตกลงสละสิทธิเรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
oนายจ้างยกเหตุเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อต่อสู้คดีได้
oดอกเบี้ย
oอายุความฟ้องร้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

การกระทำอันไม่เป็นธรรม
1.หลักเกณฑ์การกระทำอันไม่เป็นธรรม
oการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 121
oการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 122
o การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 123
2. ผลของการกระทำอันเป็นไม่เป็นธรรม
o การดำเนินคดีส่วนแพ่ง
o การดำเนินคดีอาญา
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 7

ขอเรียนสอบถาม ท่าน อาจารย์ครับ ขอให้ท่านช่วยชี้แนะ การหักหรือปรับเงินลูกจ้าง ในกรณีที่สูบบุหรี่ จะในโรงงานก็ดี จะในออฟฟิคก็ดี ไม่ทราบว่า ทางบริษัทหรือโรงงานสามารถกระทำได้หรือไม่ครับ เพราะมาตรา 76 ตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน บอกว่าห้ามหัก แต่ ม 77 เป็นข้อยกเว้น แต่ใน พรบ ยาสูบ และ พรบ คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ บอกว่า คนมีอำนาจในการเปรียบเทียบปรับ คือ ตำรวจยศร้อยตรีขึ้นไป รบกวนท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะให้แก่กระผมด้วยครับ (ไม่เคยข้อตกลงไว้ในสัญญาจ้างงานว่า ให้หักเงิน)

โดยคุณ นัดกิจ 12 ก.พ. 2561, 09:07

ความคิดเห็นที่ 6

 การจ้างแรงงานเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี จำเป็น 18 ปี เต็ม วัน หรือเดือนมั้ยคับ

โดยคุณ สมพงศ์ 10 มี.ค. 2557, 12:32

ความคิดเห็นที่ 5

หากหัวหน้างาน บริษัท A ลงโทษทางวินัยโดยตรง เช่นออก จม เตือน หรือ ตัดเงิน หากทำผิด ต่อ นโยบายของ บริษัทA  กับลูกจ้างสัญญาจ้างแรงงาน(Hire of labor)ชองบริษัท B โดยตรง ไม่ผ่าน บริษัทต้นสังกัด(บริษัท B) ของลูกจ้างแรงงานนั้น ได้หรือไม่ครับ  (บริษัท B เป้นนายจ่้างที่ 1 บริษัท A เป็นนายจ้างที่ 2 ตาม ม 11/1)

โดยคุณ สมชัย ฑปภูผา 12 ธ.ค. 2556, 15:15

ความคิดเห็นที่ 4

ถ้าฝ่าฝืนมาตรา 32 จะมีบทลงโทษอย่างไรไม่ค่ะ ไม่มีบอกไว้ แสดงว่าทำตามก็ได้ ไม่ทำตาม พรบ.ก็ได้ แล้วแต่จะพิจารณา ใช่หรือไม่ อย่างเช่น ลาป่วยก็ให้ลาพักร้อน วันพักร้อนไม่มี ก็ให้ลาออกไปเลย อย่างนี้เป็นต้น ทั้งๆที่เราป่วยจริง นอนอยู่โรงพยาบาล นายจ้างก็อ้างว่างานเสียหาย ทั้งๆที่ลาป่วยผ่าตัดลำไส้ ลางานแค่ 4 วันทำการ ซึ่งถือว่าน้อยมาก ถูกบังคับให้ใช้พักร้อน วันลาพักร้อนก็นิดเดียว จะลาเรื่องเกี่ยวกับลูกเท่านนั้น หรือมีธุระ ไม่เคยจะได้ลาเพื่อพีกผ่อนจริงๆเลย 

เกิดมาเป็นลูกจ้างเขามันเศร้าใจ โดนกดขี่ทำร้าย ร่างกายก็ยังพอทน แต่จิตใจนี่สิ มันยากจะหาอะไรมาเยียวยา

โดยคุณ รุจาภา 2 ธ.ค. 2554, 11:55

ความคิดเห็นที่ 3

มีประโยชน์มากเลยครับ และอยากให้มีการจัดเสวนาด้วยจะทำให้เข้าใจในวิธีปฏิบัติมากยิ่งขึ้น

โดยคุณ samarn thomya 7 มี.ค. 2554, 11:00

ความคิดเห็นที่ 2

ดีมาเลยคับ

โดยคุณ 1 ก.พ. 2554, 14:57

ความคิดเห็นที่ 1

การกระทำอันไม่เป็นธรรม
1.หลักเกณฑ์การกระทำอันไม่เป็นธรรม
oการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 121
oการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 122
o การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 123
2. ผลของการกระทำอันเป็นไม่เป็นธรรม
o การดำเนินคดีส่วนแพ่ง
o การดำเนินคดีอาญา

อยากทราบรายละเอียดตรงส่วนนี้ ขอให้ข้อมูลด้วยค่ะ

โดยคุณ mind 11 ม.ค. 2554, 16:03

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก