เรื่องน่ารู้ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ|เรื่องน่ารู้ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ

เรื่องน่ารู้ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เรื่องน่ารู้ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ

ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 96 ได้กำหนดให้สถานประกอบการที่มี

บทความวันที่ 28 ม.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 89600 ครั้ง


คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ


หลักการ
          ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 96 ได้กำหนดให้สถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปจะต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ 1 คน มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน
           กรณีที่นายจ้างมีสำนักงานสาขา หรือหน่วยงานที่ตั้งอยู่ต่างหากและมีพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปก็จะต้องมีคณะกรรมการสวัสดิการ 1 คณะ ในหน่วยงานหรือสาขานั้นๆด้วย
          หากสถานประกอบการใดที่มีคณะกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์อยู่แล้ว คณะกรรมการลูกจ้างทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการ
                   

การเลือกตั้งคณะกรรมการฯ

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
 พนักงานทุกคน ทุกระดับ

ขั้นตอนในการดำเนินการเลือกตั้ง
1.  นายจ้างแต่งตั้ง “คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง” โดยแต่งตั้งจากพนักงานที่ไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน เพื่อเป็นผู้ดำเนินการเลือกตั้ง
2.  คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง กำหนดวัน เวลา และสถานีในการเลือกตั้งกรรมการสวัสดิการ ตลอดจนกำหนดระยะเวลาในการรับสมัครผู้ที่จะสมัครตั้งต่อนายจ้าง และเจ้าพนักงานแรงงาน
3.  นายจ้างประกาศการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันก่อนวันเลือกตั้ง

หน้าที่ของนายจ้าง
1.  จัดทำแผงหรือป้ายสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งประกาศหาเสียงภายในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 2 แห่ง
2.  จัดทำบัญชีรายชื่อลูกจ้างทุกคนในสถานประกอบการนั้น จำนวน 2 ชุด ชุดหนึ่งมอบให้แก่คณะกรรมการดำเนินการเลือกเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 3 วัน ส่วนอีกชุดหนึ่งปิดประกาศไว้ให้ลูกจ้างตรวจดูรายชื่อก่อนการเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 3 วัน
3.  จัดอุกรณ์ที่ต้องใช้ในการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งร้องขอ
4.  ปิดประกาศรายชื่อและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสวัสดิ์การในสถานประกอบการโดยเปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างทราบ ณ ที่ทำการของนายจ้างที่มีคณะกรรมการฯดังกล่าว
           เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ ให้บริษัทปิดประกาศรายชื่อภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง การประกาศจะต้องปิดไว้อย่างน้อย 15 วัน
 

หน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง
1.  จัดเตรียมใบสมัคร ซึ่งจะต้องมีข้อความอย่างน้อยดังนี่
-  ชื่อตัว ชื่อสกุล
-  วันเดือนปีเกิด หรืออายุ
-  ตำแหน่งหรือหน้าที่ที่ปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ และระยะเวลาการทำงานในสถานประกอบกิจการ
-  ลายมือชื่อ
2.  รับสมัคร ตรวจสอบความถูกต้องของใบสมัคร กำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเรียงตามลำดับใบสมัคร
3.  จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับใช้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยร้องขอจากบริษัท
-  บัตรเลือกตั้งซึ่งมีหมายเลขประจำตัวผู้สมัครทุกคน
-  หีบลงคะแนนเลือกตั้ง
-  เครื่องเขียน
-  กระดานหรืออุปกรณ์อื่นใดที่ใช้ในการนับคะแนนเสียง ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะให้บุคคลอื่นเห็นได้ชัดในขณะนับคะแนนเสียง
4.  กำหนดระยะเวลาในการลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมงติดต่อกัน กรณีทำงานกะ หรือลักษณะงานอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถมาลงคะแนนเสียงพร้อมกันในระยะหนึ่งได้ ให้จัดลงคะแนนแยกกัน หรือระยะเวลาอื่นที่จะทำให้พนักงานสะดวกสามารถลงคะแนนเสียงได้ทุกคน
5.  จัดทำประกาศรายชื่อและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้ ณ สถานที่ทำการเลือกตั้ง
6 .  ดำเนินการเลือกตั้ง
7.  แจ้งผลการเลือกตั้งต่อบริษัทและพนักงานตรวจแรงงานจังหวัดปทุมธานี ภายใน 10 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

วิธีการดำเนินการเลือกตั้ง
1.  คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งเปิดหีบบัตรเลือกดั้งต่อบุคคลอื่นที่อยู่ในบริเวณที่เลือกตั้ง เพื่อแสดงว่าไม่มีบัตรเลือกตั้ง หรือสิ่งใดๆในหีบบัตรเลือกตั้ง แล้วจึงผนึกหีบเลือกตั้ง แล้วจึงผนึกหีบเลือกตั้งต่อหน้าบุคคลอื่นที่อยู่ ณ ที่นั่น
2.  มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งรับบัตร และลงคะแนนเสียงโดยวิธีกากบาทหรือทำเครื่องหมายเลือกที่หมายเลขประจำตัวของผู้สมัครที่ต้องการเลือกไม่เกินกว่าจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ แล้วจึงพับบัตรมอบให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง
-  กรณีผู้ลงคะแนนใช้สิทธิเลือกโดยการกากบาทหรือทำเครื่องหมายเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าบัตรลงคะแนนเสียงนั้นเป็นบัตรเสีย ไม่ให้นับคะแนนเสียงในบัตรนั้น
3.  เมื่อสิ้นสุดเวลาการเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งดังกล่าวด้วยวาจาว่าพ้นกำหนดการลงคะแนนเสียงแล้ว และจะได้ดำเนินการนับคะแนนเสียงต่อไป
4.  การนับคะแนนเสียงให้เปิดหีบและเริ่มรับคะแนนโดยการเปิดบัตรเลือกตั้งคราวละหนึ่งบัตร แสดงให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นโดยทั่วกัน แล้วขานคะแนนเสียง เพื่อให้คณะกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่บันทึกคะแนนเสียงเอาไว้จนหมดบัตรเลือกตั้ง
5.  ให้รวมคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนตามลำดับจากมากที่สุดตามลำดับจนครบจำนวนที่กำหนด กรณีที่ลำดับสุดท้ายมีคะแนนเสียงกัน ซึ่งจะมีผลทำให้จำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมากกว่าจำนวนที่กำหนด ให้คณะกรรมการดำเนินการจับฉลากระหว่างผู้ได้คะแนนเสียงที่ได้เท่ากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้คณะกรรมการฯที่ต้องการ
 
บทบาทหน้าที่ของนายจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการ
1.  จัดสวัสดิการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2.  จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
3.  ปิดประกาศการจัดสวัสดิการตามข้อตกลงกับพนักงานในที่เปิดเผย
4.  จัดให้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการสวัสดิการอย่างน้อยสามเดือนต่อหนึ่งครั้ง หรือเมื่อคณะกรรมการ สวัสดิการเกินกึ่งหนึ่งร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการ
1.  ร่วมหารือกับบริษัทเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
2 . ให้คำปรึกษาหารือและเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง
3.  ควบคุมดูแลการจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง
4.  เสนอข้อคิดเห็นและแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน

วาระของคณะกรรมการสวัสดิการ
คราวละ 2 ปี

การพ้นตำแหน่งกรณีอื่นๆที่มิใช่การพ้นตามวาระ
1.  ตาย
2.  ลาออก
3.  เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
4.  ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทหรือลหุโทษ

หมายเหตุ
1.  กรณีที่มีตำแหน่งว่างที่ไม่ใช่การออกตามวาระ จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง  โดยมีระเบียบวิธีการเลือกตั้งเช่นเดียวกับการเลือกตั้งปกติ
2.  วาระของคณะกรรมการที่เลือกตั้งแทนคณะกรรมการที่พ้นตำแหน่งก่อนวาระ จะมีเพียงเท่าที่กรรมการเดิมเหลืออยู่
3.  กรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการน้อยกว่าที่กำหนด หรือมีจำนวนพอดีกับที่กำหนด บริษัทยังคงต้องดำเนินการให้มีการเลือกตั้งตามปกติ จะแต่งตั้งหรือให้ผู้สมัครเป็นคณะกรรมการโดยไม่มีการเลือกตั้งไม่ได้
4.  กรณีที่ไม่มีผู้สมัคร หรือมีผู้สมัครน้อยกว่าจำนวนที่กำหนด บริษัทอาจเลื่อนกำหนดวันเลือกตั้งออกไปและประชาสัมพันธ์ให้พนักงานมาสมัคร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.one-stophr.com/knowledgeHR/show_new.php?id=47

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 37


โดยคุณ papae 24 ก.ค. 2562, 10:39

ความคิดเห็นที่ 36

กรณีที่ไม่มีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งกรรมการสวัสดิการ สามารถใช้วิธีการให้แต่ละหน่วยงานส่งตัวแทนมาเพื่อเป็นผู้สมัครกรรมการสวัสดิการได้หรือไม่ครับ และถ้าได้สามารถให้ตัวแทนสมัครกรรมการสวัสดิการเป็นผู้ลงคะแนนเลือกประธานกรรมการสวัสดิการได้หรือไม่ครับ (ประกาศรับสมัครเกือบ 2 เดือนแล้วครับ)

โดยคุณ ไพฑูรย์ ศรีรุ่งเรือง 15 ก.ค. 2562, 16:21

ตอบความคิดเห็นที่ 36

รบกวนติดต่อ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 9 ส.ค. 2562, 11:53

ความคิดเห็นที่ 35

อยากทราบว่า คปอ และ จป   กี่ปีทำครั้งคะ  
รบกวนผู้รู้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
โดยคุณ รัตติกาล 20 ธ.ค. 2561, 15:55

ตอบความคิดเห็นที่ 35

รบกวนให้ข้อมูลและปรึกษาได้ที่เบอร์ 02-948-5700 ค่ะ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 ธ.ค. 2561, 16:25

ความคิดเห็นที่ 34

คณะกรรมการฯ เมื่อครบวาระ 2 ปี สามารถลงเลือกตั้งในวาระใหม่ได้หรือไม่ค่ะ

โดยคุณ น้ำ 2 มิ.ย. 2561, 09:47

ตอบความคิดเห็นที่ 34

ได้ครับ
โดยคุณ ทิชากร 14 พ.ย. 2561, 09:31

ความคิดเห็นที่ 33

ขอบอนุญาตอบถามค่ะ สถานประกอบการมีลูกจ้าง 700 คน ต้องมีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการกี่คนคะ

โดยคุณ wi 30 มี.ค. 2561, 08:51

ตอบความคิดเห็นที่ 33

5 คน จากการเลือกตั้งครับ

โดยคุณ ทิชากร 14 พ.ย. 2561, 09:32

ความคิดเห็นที่ 32

ขออนุญาตรบกวนสอบถามว่า คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ จำเป็นต้องมี กรรมการฝ่ายนายจ้าง หรือไม่ อย่างไรครับ มีกฎหมายกำหนดหรือไม่ อย่างไร ครับ

โดยคุณ มรุต หมุดเพ็ชร์ 6 มี.ค. 2561, 11:58

ความคิดเห็นที่ 31

 การลงโทษของคนที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการสามารถลงโทษไดเลยไหมหรือจะต้องของศาลถึงจะลวโทษได้คับ

โดยคุณ กิตติวัฒน์ 5 พ.ย. 2559, 10:23

ความคิดเห็นที่ 30

 ในกรณีหมดวาระการเป็นกรรมการ ขั้นตอนการเลือกใหม่ ต้องดำเนินการ หลังหมดวาระ หรือ เดือนสุดท้ายก่อนหมดวาระคะ

โดยคุณ take care 13 ก.พ. 2559, 10:52

ความคิดเห็นที่ 29

 ในกรณีหมดวาระการเป็นกรรมการ ขั้นตอนการเลือกใหม่ ต้องดำเนินการ หลังหมดวาระ หรือ เดือนสุดท้ายก่อนหมดวาระคะ

โดยคุณ take care 13 ก.พ. 2559, 10:51

ความคิดเห็นที่ 28

 สอบถามหน่อยนะคะ

หากถึงกำหนดการประชุมตามวาระแต่ไม่มีเรื่องที่จะนำเข้าที่ประชุมเรายังต้องประชุมหรือไม่

โดยคุณ จา 16 ก.ย. 2558, 16:11

ความคิดเห็นที่ 27

ถ้าเราอบรม จป บริหารมาแล้ว เราต้องแจ้งต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองฯ ภายในกี่วันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ nilneat 10 มิ.ย. 2558, 17:21

ความคิดเห็นที่ 26

 อยากสอบถามว่า คณะกรรมการฝ่ายลูกจ้าง ที่จะแต่งตั้งต้องมีกี่คนคะ 5 คนขึ้นไปหรือเปล่า

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ เจิน 11 ต.ค. 2556, 11:13

ความคิดเห็นที่ 25

ข้อความในวรรคแรกของหลักการ  อ่านดูแล้ว รู้สึกทะแม่ง ๆ ครับ  ลองทบทวนอีกครั้งครับ

โดยคุณ เอก อิศรา 4 ต.ค. 2556, 16:02

ความคิดเห็นที่ 24

สำหรับดิฉันถือว่ามีประโยชน์มาก ได้ความรู้ในสิ่งที่เรายังม่รู้ ดีมากๆๆค่ะ

โดยคุณ อรุณ พัฒนราช 16 ก.ค. 2556, 10:56

ความคิดเห็นที่ 23

ผมสงสัยว่าที่บอกว่ารักษาการแทนเนียครับ ไม่มีระยะเวลากำหนดเหรอครับ หรือว่ารักษาการแทนจนครบกำหนดอายุคปอ.คือ 2ปี

ทีผมสงสัยเพราะว่าถ้าบริษัทใช้อ้างกับกรมฯเมื่อมาตรวจว่ามีผู้รักษาการแทนอยู่ บริษัทก็อ้างเรื่อยๆไปล่ะครับเพื่อเลี่ยงความผิด

ผมขอยกตัวอย่างสัก1ตย.นะครับ

ถ้าใน คปอ. มีจป.ว ออกไป แล้วพอดีว่ามีกรมมาตรวจบริษัทก็จะอ้างว่ามีจป.หัวหน้าหรือเทคนิคฯรักษาการอยู่ครับกำลังหาจป.วคนใหม่อยู่ (ตอนนั้นมีพนักงาน100คนพอดีแต่ปกติมี180คนหรือมากกว่า)

แล้วบริษัท(เจ้าเล่ห์)ก็อ้างว่าว่าหาจป.ว ไม่ได้ๆๆ แต่ก็มีจป.หัวหน้างานหรือเทคนิค ดูแลอยู่ๆๆ....

แล้วกฎหมายที่ออกมา ที่กำหนดว่าต้องส่งแบบรายงาน จป.ว ทุกๆ3เดือน และหน้าที่อื่นๆที่กฎหมายให้จป.ว รับผิดชอบ จะมีประโยชน์อะไรครับ ถ้าบริษัทเจ้าเล่ห์อ้างว่าพยายามหาอยู่แต่ในความเป็นจริงแล้วบริษัทไม่อยากจ้างแพงมากกว่า(เพราะผมสังเกตุดูในเวฟ job ต่างๆ บางบริษัทประกาศหาจป.ว เป็นปีๆยังหาไม่ได้งงจังว่าจงใจหาไม่ได้หรือบริษัทแย่จนไม่มีใครสนใจมากกว่า)....

ผู้รู้ท่านใดรู้ว่าตามกฎหมายให้บริษัทหาจป.ในระดับต่างๆได้กี่วันก็ลงบอกด้วยนะครับ ถ้มีกฎหมายอ้างอิงด้วก็จะเป็นการดีครับ

โดยคุณ นุ 18 มิ.ย. 2556, 12:35

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก