การแบ่งมรดกตามสัดส่วน|การแบ่งมรดกตามสัดส่วน

การแบ่งมรดกตามสัดส่วน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การแบ่งมรดกตามสัดส่วน

ถ้าคนที่โสดเสียชีวิตไปกระทันหัน พินัยกรรมไม่มี ญาติๆที่เหลือ

บทความวันที่ 26 ม.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 36927 ครั้ง


การแบ่งมรดกตามสัดส่วน

          ถ้าคนที่โสดเสียชีวิตไปกระทันหัน พินัยกรรมไม่มี ญาติๆที่เหลือมีดังนี้ คือ 1 พี่สาวแท้ๆพ่อแม่เดียวกันของผู้เสียชีวิต 2 หลานๆ ที่เป็นลูกของพี่ชายผู้เสียชีวิต   อยากขอสอบถามว่าตามกฎหมายแล้ว มรดกของผู้เสียชีวิตจะต้องถูกแบ่งระหว่าง ทายาทข้อหนึ่งและสอง เท่าๆกันหรือไม่อย่างไรบ้างครับ
ขอบคุณครับ
 
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
         เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) ประกอบมาตรา 1630 , มาตรา 1633

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1629
ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา 1633 ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน ในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียวทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 157

น้ากับน้าเขยมี บช.ร่วมกัน อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียน ต่อมาน้าเขยเสียชีวิต น้าจะมีสิทธิ์ใน บช.ร่วมแต่เพียงผู้เดียวได้หรือไม่เพราะเป็นเงินฝากที่หาร่วมกันมา

โดยคุณ แอน กำมะหยี่ 7 ก.ย. 2560, 12:09

ความคิดเห็นที่ 156

พี่สาวไม่มีลูก พ่อกับแม่เสียชีวิตแล้ว มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ซึ่ง 1 ใน 5 เสียชีวิตแล้วแต่มีลูกสืบสกุล

 หลานจะได้รับมรดกไม๊ ขณะผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ไม่ได้ดูแลเลย แม้แต่ตอนไกล้ตายยังไม่มาดู ไม่มาร่วมงานศพ

โดยคุณ บุ้ง 23 ก.ค. 2560, 22:28

ตอบความคิดเห็นที่ 156

หลานและพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกคนมีสิทธิได้รับมรดกของพี่สาว โดยได้คนละส่วนเท่าๆกันตามปพพ. มาตรา 1639 ประกอบ 1629(3)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ส.ค. 2560, 14:27

ความคิดเห็นที่ 155

คุณแม่เสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ค่ะ ส่วนคุณพ่อยังมีชีวิตอยู่(คู่สมรสตามกฎหมาย) คุณแม่มีลูก3คน พี่ชายคนโตเสียชีวิตแล้ว โดยที่มีบุตร1คน อยากทราบว่าจะต้องแบ่งส่วนของมรดกอย่างไรค่ะ 
โดยคุณ chippychip 1 มิ.ย. 2560, 13:48

ความคิดเห็นที่ 154

 ที่ดินทรัพย์สินของปู่ย่าได้เสียเป็นเวลาสามสิบกว่าปีแล้วคร้าแล้วปู่ย่ามีลูกสี่คนเสียชีวิตหนึ่งพ่อเป็นพี่คนโตแต่ไม่รู้หนังสือสามารถเขียนชื่อได้( หนูสอนให้คร้า)พ่อมีลูกอยู่สองคนมีหนูกับน้องสาวตอนนี้พ่อหนูเสียแล้วคร้าตั้งแต่ปี2545 ตอนนั้นหนูได้ยี่สิบสี่ปีเหตุเพราะพ่อทุกข์ใจเรื่องที่ดินของปู่ย่าที่ไม่มีสิทธิ์อยู่อาศัยหรือรับสิทธิ์ในฐานะบุตรอีกคน แต่ที่ดินทรัพย์สินของปู่ย่าไม่ได้แบ่งให้ใครน้องชายคนสุดท้องของพ่อเป็นผู้ครบครองแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งให้ใครส่วนหนูก่อนเสียพ่อก็ขอร้องให้จัดการเรื่องนี้ให้ได้บอกตรงๆหนูจนปันยาคร้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหนเพราะต้องหาเช่ากินค่ำบ้านที่อยู่อาศัยก็แค่บ้านชั่วคลาวอยากถามว่าหนูจะต้องทำยังไงบางคร้ารบกวนช่วยเนะนำหนูด้วยคร้า

โดยคุณ นัส 31 ม.ค. 2560, 17:23

ตอบความคิดเห็นที่ 154

 กรณีตามปัญหา แนะนำให้ท่านโทรมาสอบถามทีมทนายคลายทุกข์ได้โดยตรงที่ เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 4 เม.ย. 2560, 11:41

ความคิดเห็นที่ 153

 กรณีตามปัญหา แนะนำให้ท่านโทรมาสอบถามทีมทนายคลายทุกข์ได้โดยตรงที่ เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 4 เม.ย. 2560, 11:41

ความคิดเห็นที่ 152

 พ่อหนูเสียชีวิตแล้ว แต่ย่ายังไม่เสีย ย่าแบ่งที่ดินให้ลูกๆคนอื่น ก่อนที่พ่อของหนูจะเสีย แต่ยังไม่ได้แบ่งให้พ่อของหนูหนูเป็นหลานของย่า มีสิทธิ์ได้ที่ดินเท่าๆกับลูกคนอื่นๆของย่ารึเปล่าค่ะ

โดยคุณ 23 ธ.ค. 2559, 08:00

ความคิดเห็นที่ 151

คุณแม่เสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม คุณแม่มีลูก 4 คน แต่พี่ชายคนหนึ่งยึดบ้านอยู่อาศัยมาเกิน 10 ปี ไม่ยอมย้ายออก ดิฉันและพี่น้องคนอื่นๆมีปัญหาทางด้านการเงินเลยต้องการให้มีการประเมินราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เพราะหากพี่ชายไม่ย้ายออก ก็ขอให้ชำระในส่วนของคนอื่นๆ ไม่ใช่ยึดครองไม่ยอมย้ายออก จนทำอะไรกับมรดกในส่วนนี้ไม่ได้ ไม่ทราบว่าจะทำได้ไหม และถ้าเขาทำไม่รับรู้ ไม่จ่าย ไม่ยอมย้ายออก ควรทำอย่างไรค่ะ

โดยคุณ งามตา 2 ธ.ค. 2559, 23:31

ตอบความคิดเห็นที่ 151

 แนะนำให้เข้าพบทนายความเพื่อดำเนินการฟ้องคดีหรือยื่นคำร้องขอตั้งท่านเป็นผู้จัดการมรดก และแบ่งทรัพย์สินครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 ธ.ค. 2559, 10:19

ความคิดเห็นที่ 150

 แนะนำให้เข้าพบทนายความเพื่อดำเนินการฟ้องคดีหรือยื่นคำร้องขอตั้งท่านเป็นผู้จัดการมรดก และแบ่งทรัพย์สินครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 ธ.ค. 2559, 10:19

ความคิดเห็นที่ 149

 สอบถามค่ะ ถ้ากรณีพ่อเสียชีวิต โดยที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ พ่อมีลูกสองคน แต่คนที่อยู่กับพ่อดูแลพ่อคือน้องสาว ส่วนผู้เป็นพี่ไม่ได้เลี้ยงดูและไม่ได้อยู่กับบิดาเลย หากพี่สาวมาไล่น้องสาวออกจากบ้าน และยึดทรัพย์สมบัติในบ้านทั้งหมด ทั้งๆที่เป็นสมบัติของพ่อและน้องสาวสร้างกันมา ตามกฎหมายได้หรือไม่ และแบบนี้ควรป้องกันหรือแก้ไขอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ 21 พ.ย. 2559, 22:26

ตอบความคิดเห็นที่ 149

 หากพ่อท่านเสียชีวิต มรดกจะตกเป็นของทายาทโดยธรรม  หากเป็นทายาทลำดับเดียวกัน จะได้ส่วนแบ่งเท่าๆกันครับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 1600 1629 1633  หากสงสัยแนะนำให้เข้าสอบถามทนายความครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 27 พ.ย. 2559, 14:32

ความคิดเห็นที่ 148

 หากพ่อท่านเสียชีวิต มรดกจะตกเป็นของทายาทโดยธรรม  หากเป็นทายาทลำดับเดียวกัน จะได้ส่วนแบ่งเท่าๆกันครับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 1600 1629 1633  หากสงสัยแนะนำให้เข้าสอบถามทนายความครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 27 พ.ย. 2559, 14:32

ความคิดเห็นที่ 147

 เรืองมีอยู่ว่า แม่ของสามีเสียชีวิตแต่ไม่มีพินัยกรรมที่ดินอยู่1แปลงเป็นชื่อแม่ แม่สามีมีลูก5คนลูกสาว3ลูกชาย2แต่ที่ดินแปลงนี้ซื้อตอนที่ลูกสาวแต่งงานมีครอบครัวไปหมดแล้วและคนที่ช่วยสร้างที่ดินแปลงนี้คือลูกชาย แบบนี้ลูกสาวจะมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินแปลงนี้มั้ยค่ะ

โดยคุณ ศศิธร บุญเรือง 1 พ.ย. 2559, 06:38

ความคิดเห็นที่ 146

 คือตอนนี้ยายอายุมากแล้ว แล้วมีที่ดินที่บ้านที่ยังไม่ได้แบ่งกันประมาณ 1-2 ไร่ ทีดินส่วนอื่นๆ ที่เป็นที่นาหรือสวนแบ่งกันหมดแล้วเหลือแต่ที่ดินที่บ้าน  ยายมีลูกอยู่ 4 คน 

น้าที่เป็นลูกคนเล็กของยายตอนนี้อาศัยอยู่บ้านยายเลี้ยงดูยายอยู่คนเดียว ลูกคนอื่นๆ ออกมาปลูกบ้านเองกันหมด น้าได้ติดหนี้หลายแสนบาท ได้เอาที่ดินของป้าไปจำนองไว้ โอนชื่อเป็นผู้รับจำนองแล้วส่งดอกถูกเดือนเป็นเวลา 5 ปี ถ้าไม่มีเงินต้นคืนก็จะโยนยึด (ทุกวันนี้น้าก็ไม่มีเงินส่งดอกให้เขา)

แล้วน้าก็ไปติดหนี้เพิ่มอีก 3 แสนบาท แล้วก็ทำแบบเดิม คือเอาที่บ้านไปจำนอง แล้วแม่หนูเขารู้ก็เลยช่วยน้าไปถ่ายที่ดินออกมาแล้วจ่ายเงินให้เขาไปแทนน้าแต่มีข้อแม้ว่าที่ดินที่จำนองต้องโอนเป็นชื่อแม่ (น้าไม่มีเงินส่งดอก ไม่เคยให้ดอกเลยเป็นเวลา 2-3 ปี) แม่บอกว่าถ้ามีเงินต้นมาคืนก็จะคืนที่ดินให้

น้ากับป้าทะเลาะกันต่างฝ่ายต่างก็อยากได้ที่ติดถนน น้าก็ไม่ยอมเพราะอ้างว่าตัวเองเป็นคนเลี้ยงดูยาย แล้วบอกว่าถ้าป้าไม่ยอมให้ "ที่ดินที่บ้านจะไม่มีใครได้เลย" เพราะตัวเองเป็นคนเลี้ยงดูยาย 

***ส่งสัยว่าน้ามีสิทธิอย่างนั้นจริงไหม ที่เลี้ยงดูยาย แล้วก็ถ้ามีสิทธิเงินของแม่จะได้คืนไหม แม่มีสิทธในที่ดินนั้นไหม (ที่ดินที่น้าเอามาจำนองแม่มีบ้านด้วย แล้วบ้านถือว่าเป็นของแม่ไหม)

***ที่ดินทั้งหมดที่บ้านเป็นผืนเดียวกัน ในโฉนด 1 แผ่น มีชื่อทุกคนเป็นเจ้าของที่ดิน มี น้า แม่ ป้า ยาย เวลาถ้าจะแบ่งรังวัดต้องไปกันให้ครบทุกคนใช่ไหมค่ะ หรือเอาเอกสารไปเฉยๆก็ได้ (แล้วถ้าเกิดยายเสียก่อนรังวัดที่ดิน จะสามารถทำรังวัดที่ดินที่หลังได้อีกไหมค่ะ)

+++++   ถ้ามีข้อแนะนำเพิ่มเติ่มช่วยบอกทีนะค่ะ เพราะสงสัยหลายอย่างมาก แต่ไม่รู้จะบรรยายให้ถูกหรือ ขอโทษด้วยนะค่ะ ถ้าไม่ค่อยเข้าใจ

โดยคุณ Kamonchanok 19 ต.ค. 2559, 10:01

ตอบความคิดเห็นที่ 146

 ท่านควรทำการพูดคุยกับพี่ชายของท่านให้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้แก่ท่านและน้องชายของท่านอีกคน

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 27 ต.ค. 2559, 11:32

ตอบความคิดเห็นที่ 146

 กรณีของท่าน หากจะอธิบายโดยละเอียดต้องใช้เวลา แนะนำให้เข้าพบทนายความดีกว่าครับ เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ทันทีและถูกต้อง ไม่โดนเอาเปรียบ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 ต.ค. 2559, 14:55

ความคิดเห็นที่ 145

 ท่านควรทำการพูดคุยกับพี่ชายของท่านให้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้แก่ท่านและน้องชายของท่านอีกคน

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 27 ต.ค. 2559, 11:32

ความคิดเห็นที่ 144

 กรณีของท่าน หากจะอธิบายโดยละเอียดต้องใช้เวลา แนะนำให้เข้าพบทนายความดีกว่าครับ เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ทันทีและถูกต้อง ไม่โดนเอาเปรียบ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 ต.ค. 2559, 14:55

ความคิดเห็นที่ 143

คือผมมีพี่น้อง4คนผมเป็นที่2และผมกับน้องๆทำงานยุต่างจังหวัดพอดีพ่อเสีย ปู่เลยอยากจะแบ่งมรดกส่วนที่เป็นของพ่อให้กับพวกผม4คน แต่วันนั้นผมกับน้องไม่สามารถลงไปรับโิอนได้เลยปรึกษากันว่าถ้าอย่างนั้นให้โอนติดชื่อพี่คนโตไปเลยถ้าขายยังไงค่อยมาแบ่งกันเพราะรักและเชื่อใจพี่ชายมาก แต่ผลสุดท้ายพี่ชายแอบขายโดยที่ไม่บอกไม่ปรึกษาเลยส่วนแบ่งก็ไม่ให้นัองๆเลย อยากถามว่าพวกผมมีสิทธ์ที่จะเรียกร้องอะไรได้ไหมครับ 

โดยคุณ วีรวัฒน์ 8 ต.ค. 2559, 16:20

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก