เศรษฐกิจตกต่ำแนวโน้มพนักงานฝ่ายขายยักยอกทรัพย์สูงขึ้นคดีล้นศาล|เศรษฐกิจตกต่ำแนวโน้มพนักงานฝ่ายขายยักยอกทรัพย์สูงขึ้นคดีล้นศาล

เศรษฐกิจตกต่ำแนวโน้มพนักงานฝ่ายขายยักยอกทรัพย์สูงขึ้นคดีล้นศาล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เศรษฐกิจตกต่ำแนวโน้มพนักงานฝ่ายขายยักยอกทรัพย์สูงขึ้นคดีล้นศาล

ทนายคลายทุกข์ ขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับปัญหาการยักยอกทรัพย์ของพนักงานขาย

บทความวันที่ 20 ม.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3035 ครั้ง


เศรษฐกิจตกต่ำแนวโน้มพนักงานฝ่ายขายยักยอกทรัพย์สูงขึ้นคดีล้นศาล

 

          ทนายคลายทุกข์  ขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับปัญหาการยักยอกทรัพย์ของพนักงานขายของบริษัท  มีแนวโน้มสูงขึ้น  เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ   ผมในฐานะทนายความจำเป็นต้องเดินทางไปศาลเกือบทุกวัน  พบว่าในคดีศาลแขวงโดยเฉพาะคดีอาญา  ส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์  ตาม ป.อ. มาตรา 352  อันสืบเนื่องมาจากพนักงานยักยอกทรัพย์ทั้งสิ้น  ตัวอย่างของคดียักยอกทรัพย์ที่เกิดจากพนักงาน  มีดังนี้
           1.  เก็บเงินสดแล้วไม่นำส่งบริษัท  พนักงานฝ่ายขายเก็บเงินสดจากลูกค้าที่ตัวเองมีหน้าที่ขายและเก็บเงินแล้ว  ไม่นำส่งบริษัทและไม่รายงานบริษัท
           2.  อ้างว่าทำใบเสร็จรับเงินหาย  พนักงานฝ่ายขายเก็บเงินได้  แต่นำไปใช้ส่วนตัว  แต่รายงานบริษัทว่ายังเก็บเงินไม่ได้  เนื่องจากลูกค้ามีปัญหาทางการเงิน  เช่น  กิจการย่ำแย่  เก็บเงินจากลูกค้าของตนเองไม่ได้  มีหนี้สินเยอะ  กำลังหาเงินอยู่  เป็นต้น
           3.  แจ้งความใบเสร็จหายแต่นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว  พนักงานฝ่ายขายทำใบเสร็จรับเงินหาย  และไปแจ้งความตำรวจ  หลังจากนั้นนำสำเนาบันทึกประจำวันมาส่งมอบให้บริษัท  ซึ่งความเป็นจริงไม่ได้หาย  แต่นำใบเสร็จที่เบิกไปทั้งเล่มไปออกให้กับลูกค้าของบริษัท  ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
           4.  ทำใบเสร็จปลอม  พนักงานฝ่ายขายออกใบเสร็จรับเงินที่ตัวเองจัดทำขึ้นเองและนำไปออกให้กับลูกค้า  และนำเงินที่ได้จากการทุจริตไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว
          5.  ปัญหาด้านการเงินส่วนตัวของพนักงานขาย  ปัญหาส่วนตัวของพนักงานฝ่ายขาย เช่น  ปัญหาครอบครัว  ค่าเทอมบุตร  ค่าใช้จ่ายในครอบครัว  ค่าใช้จ่ายในการเช่าบ้าน  ค่าผ่อนรถ  ผ่อนบ้าน  บัตรเครดิต  บัตรเงินด่วน  หนี้นอกระบบ  ทำให้หมุนเงินไม่ทัน  เป็นต้นเหตุให้ยักยอกทรัพย์สินของบริษัท
           6.  ระบบงานหละหลวงมีช่องว่าง  บริษัทมีช่องว่าง  เปิดโอกาสให้พนักงานฝ่ายขายทุจริตได้ง่าย


แนวทางในการป้องกันพนักงานยักยอกทรัพย์ของเจ้าของกิจการ
          1.  ต้องออกข้อบังคับการทำงาน  ห้ามพนักงานรับเงินสดจากลูกค้าโดยเด็ดขาด  หากฝ่าฝืนถือว่าผิดวินัยร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 119  ต้องถูกไล่ออกสถานเดียว
         2.  พิมพ์ข้อความลงในใบเสร็จรับเงินว่า ห้ามชำระด้วยเงินสด หรือส่งมอบเงินให้พนักงานขาย  และให้โอนเงินเข้าบัญชีบริษัทเท่านั้น
         3.  พนักงานขายสินค้าและบริการ  ต้องเป็นบุคคลคนละคน  พนักงานขายสินค้าควรขายสินค้าอย่างเดียว  ส่วนการเก็บเงินจากลูกค้าเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีหรือการเงินต้องแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด  เพื่อป้องกันการชงเองกินเองโกงเองโดยคนคนเดียว
         4.  พนักงานบัญชีหรือการเงินต้องมีการสุ่มตรวจลูกค้าที่มีปัญหาทางการเงินสม่ำเสมอทุกสัปดาห์  หรือบางครั้งอาจต้องเดินทางไปเยี่ยมลูกค้าสม่ำเสมอ  โดยไม่แจ้งล่วงหน้า เพื่อป้องกันการทุจริต
         5.  ในกรณีมีการทำให้ใบเสร็จรับเงินหายของพนักงานฝ่ายขาย  ต้องทำหนังสือเวียนแจ้งลูกค้าทุกรายทราบ  เพื่อป้องกันการนำเอาใบเสร็จที่แจ้งหายไปใช้ในทางมิชอบ  และผู้บริหารต้องเดินทางไปตรวจสอบลูกค้าทุกรายของฝ่ายขายที่ทำใบเสร็จรับเงินหาย  เพื่อหาความจริง
        6.  ผู้บริหาร, เจ้าของกิจการ  ต้องเยี่ยมเยียนลูกค้าสม่ำเสมอ มิฉะนั้นลูกค้าของบริษัทจะกลายเป็นลูกค้าของพนักงานฝ่ายขาย  ฝ่ายขายมักนำสินค่าส่วนตัวมาขายพ่วงกับสินค้าบริษัท
        7.  ตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานฝ่ายขายอย่างสม่ำเสมอ  โดยการสืบจากเพื่อนร่วมงาน, ลูกค้า  เป็นต้น  โดยเฉพาะพฤติกรรมในการใช้จ่ายเงิน, หนี้สิน, การใช้ของราคาแพงหรือฟุ่มเฟือยเกินฐานะความเป็นอยู่  หรือเล่นการพนันหรือมีภรรยาหลายคน  ชอบทำผิดศีลธรรม  เป็นต้น  เพราะถ้าไม่มีระเบียบวินัยในการใช้เงิน  โอกาสทุจริตมีสูงมาก
 

ตัวบทกฎหมายลงโทษพนักงานยักยอกทรัพย์, ปลอมเอกสาร  บทลงโทษตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  มีดังนี้
ปลอมแปลงเอกสาร
ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 264  ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง   ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 265  ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 268  ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ
          ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว


ยักยอกทรัพย์
มาตรา352 
ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 

ไล่ลูกจ้างออกโดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 
มาตรา 119
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
  (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
  
  

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสารสิทธิ มิใช่ของราชการจะมีความผิดเหมือนของทางราชการหรือไม่และถ้าเรื่องไปถึงอัยการแล้วแต่ยังไม่ได้ตัวไปดำเนินคดีที่ศาลจะมีอายุความกี่ปี

ช่วยบอกด้วย

โดยคุณ กันยกร ราชแผน 30 มี.ค. 2556, 17:44

ความคิดเห็นที่ 2

 อยากทราบว่า คดีแบบนี้ ไม่ได้ปลอมเอกสาร แต่ไม่ได้นำเงินส่งบริษัท หลายครั้ง

จะุถูกดำเนินการอย่างไรบ้าง ตามกฏหมาย ศาลตัดสินตามครั้งที่กระทำหรืออย่างไร

และอยากทราบอายุความในการดำเนินคดีครับ ขอขอบพระคุณอย่างสูง

โดยคุณ ว่าที่ ร.ต. ชัชวาล ปึงโฆษิต 2 เม.ย. 2554, 13:17

ความคิดเห็นที่ 1

ความผิดอาญาต้องแจ้งความเสมอไปหรือไม่คะ

ถ้าเค้าผิด แล้วเราจับได้ว่ายักยอกแล้วไล่ออก โดยไม่ต้องแจ้งความได้หรือเปล่า

โดยคุณ Nana 29 มี.ค. 2554, 10:46

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก