การละเมิดที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย|การละเมิดที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย

การละเมิดที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การละเมิดที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย

นายเอกเป็นลูกจ้างพนักงานขับรถส่งสินค้า โดยมีนายชาด

บทความวันที่ 24 ธ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3216 ครั้ง


การละเมิดที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย

           นายเอกเป็นลูกจ้างพนักงานขับรถส่งสินค้า โดยมีนายชาด เป็นนายจ้าง วันหนึ่งนายชาด ได้ให้นายเอกขับรถไปส่งสินค้าที่ อ.สูงเนิน ในระหว่างขับรถไปส่งของ ขับไปรถไปถึงสากแยกปักธงชัย นายเอกเกิดท้องเสียจึงแวะเข้าห้องน้ำที่ปั้มแห่งหนึ่ง ในระหว่างนั้นนายเอกได้พบกับนายโท เพื่อนขอลตน ด้วยเกรงว่าจะส่งสินค้าไม่ทัน จึงได้ไหว้วานนายโทช่วยขับรถไปส่งแทนตน ในระหว่างที่นายโทขับรถนั้นได้ขับรถด้วยความประมาทไปชนท้ายรถยนต์ของนายฟ้าเสียหาย เป็นเงิน 30,000 บ. ให้ท่านวินิจฉัยว่า
          1.นายฟ้า จะเรียกให้นายเอก และนายชาด รับผิดร่วมกับนายโท ได้หรือไม่ จงอธิบาย
          2.หากนายโท ได้ทำสัญญาประณียอมความว่าตนจะรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแต่เพียงผู้เดียวเป็นเงิน 30,000 บ. โดยจะชำระภายในวันที่ 30 ส.ค. แต่เมื่อถึงกำหนดชำระนายโทได้ผิดนัด หากเป็นเช่นนี้ นายฟ้าจะฟ้องให้นายชาด ในฐานะนายจ้างร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้หรือไม่ จงอธิบาย

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          1.  การที่นายเอกได้ไหว้วานให้นายโทไปช่วยขับรถไปส่งของแทนตน  จึงเป็นกรณีที่นายเอกได้มอบหมายให้นายโทเป็นตัวแทนของตน  กระทำการส่งมอบ  ซึ่งเป็นกิจการของตนได้มอบหมาย  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427  นายเอก  จึงต้องร่วมกันรับผิดกับนายโทในผลแห่งละเมิดต่อนายฟ้า  แม้นายโทจะไม่ได้เป็นลูกจ้างของนายชาดก็ตาม  ซึ่งทำให้นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดกับนายโทในฐานะที่เป็นนายจ้างตาม ป.พ.พ.มาตรา 425  แต่การที่นายโทได้ขับรถส่งของแทนนายเอกจากการที่ถูกวานใช้  กรณีนี้ก็เป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ของนายชาด  จึงถือว่านายโทเป็นตัวแทนโดยปริยายของนายชาดซึ่งเป็นตัวการ  นายชาดจึงต้องร่วมรับผิดกับนายโทต่อนายฟ้า  ตาม ป.พ.พ.มาตรา 427  ด้วย
          2.  ส่วนการที่นายฟ้าตัวแทนปริยายผู้กระทำละเมิดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับนายฟ้าว่าตนยอมรับผิดทั้งหมด  ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 852  ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป  และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน  ดังนั้น  จึงทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นค่าเสียหาย 30,000 บาท  ตามมูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป  และทำให้นายชาดซึ่งเป็นตัวการโดยปริยาย  ซึ่งต้องผูกพันตามมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ละเมิด  หลุดพ้นจากความรับผิดไป  เพราะมูลหนี้ละเมิดเดิมนั้นได้ระงับสิ้นไปแล้วตามสัญญาประนีประยอมความ
          ส่วนนายโท ผู้ทำสัญญาประนีประนอมต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าว  เมื่อตนผิดสัญญาดังกล่าวเพราะเป็นมูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ตนได้ตกลงทำสัญญากับนายฟ้า  ดังนั้น  นายฟ้าจึงฟ้องให้นายชาดรับผิดไม่ได้อีกต่อไป  แต่ฟ้องนายโทให้รับผิดตามสัญญาประนีประนอมนั้นได้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 425
  นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น

มาตรา 427  บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม

มาตรา 852  ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก