อายุความของผู้ค้ำประกัน|อายุความของผู้ค้ำประกัน

อายุความของผู้ค้ำประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อายุความของผู้ค้ำประกัน

คุณพ่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัทแห่งหนึ่งที่มีกับธนาคารเมื่อปี 2538

บทความวันที่ 22 ธ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 19663 ครั้ง


อายุความของผู้ค้ำประกัน

 

          คุณพ่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัทแห่งหนึ่งที่มีกับธนาคารเมื่อปี 2538 และบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ธนาคารได้  ในปี 2542 ต่อมาบริษัทดังกล่าวถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปเมื่อปี 2550 (คดีแดง) โดยคดีล้มละลายมีโจทก์เป็นบริษัทอีกแห่งหนึ่ง  มิใช่ธนาคาร แต่ได้รับคำชี้แจงว่า ธนาคารได้ยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์แต่ไม่พอชำระหนี้  ปัจจุบันธนาคารดังกล่าวมีจดหมายเชิญให้คุณพ่อเข้าไปเจรจาชำระหนี้ ผมมีคำถามดังนี้
           1. อายุความของผู้ค้ำประกันกรณีนี้เริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด
           2. คุณพ่อกำลังจะโอนบ้านให้ผม และเงินสดจำนวนหนึ่งให้ผมเพื่อเก็บเป็นเงินออมให้ลูกของผม จะมีปัญหาเรื่องการตามมายึดทรัพย์หรือไม่

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
           1. ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า หนี้ที่ค้ำประกันเป็นหนี้อะไร เพราะอายุความไม่เหมือนกัน และต้องดูด้วยว่าพ่อของคุณถูกฟ้องให้ล้มละลายด้วยหรือไม่ เพราะหากถูกฟ้องให้ล้มละลาย ตามกฎหมายก็มีหน้าที่จะต้องแจ้งทรัพย์สินและหนี้สินให้ จพท.ทราบ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 30
          2. ตามหลักกฎหมายแล้วน่าจะมีปัญหา เพราะการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของพ่อคุณ เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนที่เพื่อพ้นจากการบังคับคดีและทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และอาจมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 350

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 30
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ต้องปฏิบัติ ดั่งต่อไปนี้
         (1) ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้นลูกหนี้ ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคำชี้แจงตามแบบพิมพ์ว่า ได้มีหุ้นส่วนกับผู้ใดหรือไม่ ถ้ามีให้การระบุชื่อและตำบลที่อยู่ของห้าง หุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
          (2) ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้น ลูกหนี้ต้องไป สาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์ สินของลูกหนี้ตามแบบพิมพ์ แสดงเหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว สินทรัพย์และ หนี้สิน ชื่อตำบลที่อยู่ และอาชีพของเจ้าหนี้ทรัพย์สินที่ได้ให้เป็นประกัน แก่เจ้าหนี้และวันที่ได้ให้ทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นประกันรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน อันจะตกได้แก่ตนในภายหน้าทรัพย์สินของคู่สมรส ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคล อื่นซึ่งอยู่ในความยึดถือของตน
           ระยะเวลาตาม มาตรา นี้ เมื่อมีเหตุผลพิเศษ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาจขยายให้ได้ตามสมควร
          ถ้าลูกหนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถทำคำชี้แจงตาม มาตรา นี้ได้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ทำแทน หรือช่วยลูกหนี้ในการทำคำชี้แจงแล้วแต่กรณี และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจจ้างบุคคลอื่นเข้าช่วยตามที่เห็นจำเป็น โดยคิดหัก ค่าใช้จ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้

ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 350
ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระ หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 


 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8

แม่ดิฉันค้ำประกันซื้อผ่อนทีวีให้เพื่อนเมื่อปี2548ตอนนั้นแม่อยู่บ้านเช่าที่ปทุมจากนั้นก็ย้ายมาทำงานที่มีนบุรีโดยไม่ได้ติดต่อกับเพื่อนที่ทำงานเก่าอีกเลยจึงไม่รู้ว่าเขาส่งค่างวดหรือไม่จนวันที่28พฤศจิกายน2562มีกลุ่มคนตามมาทวงหนี้ที่บ้านบอกว่าแม่ค้ำประกันจำนวน18000บาทแต่มันผ่านมานานประมาณ13-14ปีแม่ก็จำไม่ค่อยได้แม่ถามถามว่าผ่านมาตั้งหลายปีทำมั้ยไม่เคยมีเอกสารอะไรแจ้งมาเลยเขาเลยบอกว่าส่งไปที่ห้องเช่าเก่าแต่ติดต่อไม่ได้แล้วทำไมไม่ส่งตามที่อยู่บัตรประชาชนเขาพยายามบีบบังคับให้หาหยิบยืมมาคืนเขาให้ได้ถ้าไม่ได้ก็ต้องไปโรงพักแม่จึงบอกว่าไปโรงพักก็ได้พอแม่จะไปเขากับไม่ยอมไปยืนยันแต่จะให้หาเงินมาให้บอกว่าให้เวลา1อาทิตย์จะมาเอาอยากถามว่ากรณีอย่างนี้เราต้องทำไงค่ะ

โดยคุณ ปวีณา ดาสันเทียะ 30 พ.ย. 2562, 05:54

ความคิดเห็นที่ 7

คำ้ประกันรถยนต์ให้พี่สาวแล้วเอารถคืนไปให้ไฟแนนซ์เอาไปขายถอดตลาดในปี57แต่มีจดหมายทวงหนี้มาหาผู้คำ้ให้ชำระให้200000อยากทราบว่าอายุความกีปีคับแล้วผมต้องใช้หนี้ให้ใหมคับขอบคัณคับ

โดยคุณ บุญฤทธิ์ แสงรอด 27 ก.ย. 2562, 13:15

ตอบความคิดเห็นที่ 7

กรณีฟ้องเรียกค่าขาดราคาอายุความ 10 ปีครับนับแต่วันเลิกสัญญา หากยังไม่พ้นกำหนดอายุความก็ต้องชำระหนี้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 18 ต.ค. 2562, 14:30

ความคิดเห็นที่ 6

เนืรองำด้ไปค้ำรถมอไซหั้นกับเพื่อนของเพื่อนอีกที

คนซื้อต้องจ่าย2490. เป็นเวลา36งวด

ส่งได้แค่6ค้าง30งวด

ทางบริษัทแจ้งมาตอนที่ค้าง30งวดแร้ว

สงสัยคะว่าทำไมก่อนหน้านี้ไม้แจ้งผู้ค้ำ

อย่างนี้ผู้ค้ำไม่รับผิดชอบได้ไมคะ


โดยคุณ รำพึง บัวบาน 6 มิ.ย. 2561, 21:57

ความคิดเห็นที่ 5

ดิฉันเป็นคนค้ำรถมอเตอร์ไซค์ เวลาผ่านไปเกือบ7ปีแล้ว โดนเจ้าหน้าที่โทรมาตามในปีที่6เป็นต้นมาค่ะ ดิฉันไม่ได้ติดต่ออะไรกลับเลย แต่ล่าสุดเจ้าหน้าที่โทรมาอีกแล้วบอกว่าถ้าไม่ติดต่อมาจะพาตำรวจกับผุ้ใหญ่บ้านมาตามที่ทำงาน ดิฉันควรทำอย่างไรดี เพราะเป็นแค่คนค้ำ คดีจะหมดอายุความเมื่อไหร่ แล้วกรณีแบบนี้ทำได้ด้วยหรอคะ ทำไมไม่มีหมายศาลเพื่อให้ไปเจรจา ที่ดิฉันไม่ติดต่อไปเพราะดิฉันกลัวเสียเปรียบจึงรอหมายศาลค่ะ ทำไมเค้าไม่คิดจะตามแบบนี้กับคนซื้อบ้าง รบกวนสอบถามด้วยค่ะ

โดยคุณ พัชรีญา 23 ม.ค. 2561, 14:29

ความคิดเห็นที่ 4

ผมโดนคดีค้ำปะกันรถยนษ์ครับ คนซื้อไม่ได้คือรถ ทีนี้ทางไฟแน่นเลยมาหักเงินเดือนผม30%ทุกเดือน มีทางแก่ใขยังงัยใหมครับ

โดยคุณ พงษ์ศักดิ์ 14 ต.ค. 2560, 00:07

ตอบความคิดเห็นที่ 4

กรณีตามปัญหา  การที่ไฟแนนซ์ทำการหักเงินเดือนของท่าน  เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา(ตัวท่าน) ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(ไฟแนนซ์) แต่ท่านไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(ไฟแนนซ์) จึงตั้งเรื่องบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัด(เงินเดือน)ของท่านตามกฎหมาย ตามปวิพ.มาตรา 274 274 ดังนั้น หากท่านไม่ต้องการให้ไฟแนนซ์หักเงินเดือน ก็ควรติดต่อไปยังไฟแนนซ์เพื่อทำการขอชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามเงื่อนไขที่ตกลงกันได้  และแจ้งให้ไฟแนนซ์ถอนการบังคับคดี (ถอนอายัดเงินเดือน)  ส่วนเรื่องผู้เช่าซื้อ (ลูกหนี้ชั้นต้น) เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องไปใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยตามกฎหมายต่อไป หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 26 พ.ย. 2560, 15:18

ความคิดเห็นที่ 3

 คำ้ประกันรถให้สามีแล้วเลิกกันสามีปล่อยรถโดนยึดชายถอดตลาดแล้วมีส่วนต่าง240000ดิฉันเป็นคนค้ำที่1ต้องทำอย่างไรทางไฟแนนส่งจม.มาทวงส่วนต่างแต่ไม่มีเงินทุกวันนี้ทำงานเงินเดือน7พันกว่าบาทเลี้ยงลูกคนเดียวขอคำปรึกสาหน่อยค่ะ

โดยคุณ พัชริน 10 ธ.ค. 2559, 13:03

ความคิดเห็นที่ 2

 ผมขอสอบถามครับผมได้ค้ำประกันคนเข้าทำงานในตำแหน่งการเงิน ต่อมาคนนี้ได้เอาเงิน บ. ไปและถูกดำเนินคดีและถูกคุมขัง และพ้นโทษออกมาจากนันก็มีหมายศาลถึงผู้คำประกันให้ร่วมใช้หนี้เป็นจำเลยที่ 2 จึงขอถามว่าเมื่อ จำเลยที่ 1 คือคนเอาเงินไป และได้ออกมาทำางาน ทำไม่ไม่ฟ้องเรียกร้องจำเลยที่ 1ก่อน ถ้าไม่ได้หรือหาตัวไม่เจอ ค่อยมาเรียกร้องกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน มันน่าจะยุติธรรมหรือไม่ครับ สำหรับผู้ค้ำประกันขอบคุณล่วงหน้าครับ

โดยคุณ สุชาติ 9 ก.ย. 2559, 17:22

ความคิดเห็นที่ 1

ผมอยากทราบว่า คดีค้ำประกันรถยนต์เมื่อรถถูกยึดและทำารขายทอดตลาดแล้ว ทางไฟแนน์ จะต้องฟ้องผู้ค้ำประกัน ภายในกี่ปี ครับ   ขอคุณมาก

โดยคุณ สุเทพ 18 ก.ค. 2553, 21:18

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก