หนังสือเลิกจ้าง/พรบ.คุ้มครองแรงงาน|หนังสือเลิกจ้าง/พรบ.คุ้มครองแรงงาน

หนังสือเลิกจ้าง/พรบ.คุ้มครองแรงงาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หนังสือเลิกจ้าง/พรบ.คุ้มครองแรงงาน

เพื่อนเราทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่มีสาขาที่ต่างจังหวัด

บทความวันที่ 17 ธ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 20578 ครั้ง


หนังสือเลิกจ้าง/พรบ.คุ้มครองแรงงาน

 

          เพื่อนเราทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่มีสาขาที่ต่างจังหวัด  ซึ่งเพื่อนเราได้ประจำอยู่ทีสาขาต่างจังหวัด ซึ่งทำงานมาหลายปีแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ทางบริษัทได้รับจดหมายปิดผนึกถึงผู้บริหารระดับสูงว่าเพื่อนเรา ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่ทำงานมาตั้งหลายปี ถึง 2 ฉบับ แต่ทางบริษัทบอกว่าข้อความในจดหมายทั้ง 2 ฉบับไม่มีความหมายสำหรับบริษัท แต่จดหมายมีอีกฉบับ ซึ่งส่งไปถึงผู้บริหารระดับสูงอีก ว่า เพื่อนเราได้ทำผิดกฎของบริษัทพร้อมทั้งแนบหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเราคิดว่า เพื่อนเราโดนกลั่นแกล้งจากผู้บริหารที่ไม่ต้องการให้เพื่อนเราทำงานที่บริษัท จึงพยายามที่หาหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการผิดระเบียบของบริษัทฯ แล้วแกล้งทำเป็นส่งจดหมายไปถึงผู้บริหาร เพื่อจะได้ทำให้ถูกกฏหมายจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย พอบริษัททราบก็มีหนังสือเลิกจ้าง มา โดยแจ้งข้อหาเลิกจ้าง ว่า ผิดระเบียบของบริษัทอย่างแรง บริษัทไม่จ่ายค่าชดเชยตาม มาตรา 119 ข้อ 4 โดยที่ไม่มีการสอบสวนหรือ ให้โอกาสเพื่อนเราได้ชี้แจง อยากปรึกษาว่า เพื่อนเราจะทำอย่างไรได้บ้าง

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          หากคุณเห็นว่า  การที่บริษัทได้เลิกจ้างเพื่อนของคุณ  โดยแจ้งข้อหาเลิกจ้าง ว่า "ผิดระเบียบของบริษัทอย่างร้ายแรง"  และบริษัทไม่จ่ายค่าชดเชยให้" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) นั้น  เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม  เพื่อนของคุณก็ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  ที่จะฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทซึ่งเป็นนายจ้าง รับเพื่อนของคุณเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง หรือให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหายให้ได้  และเพื่อนของคุณก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องขอเอาค่าประกันคืนจากบริษัทได้  หากศาลแรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่า  บริษัทนายจ้างได้เลิกจ้างเพื่อของคุณโดยไม่เป็นธรรม  ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
มาตรา 49 
การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541
มาตรา 119
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่ง  กรณีใด ดังต่อไปนี้
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 13

กระผมทำงานระดับผู้ช่วยหัวหน้างานได้รับหนังสือตักเตือนคนละฉบับกับพนักงาน..กรณีทำชิ้นงานเสียหายซึ่งผมเป็นinspector.เเต่มีความเสียหายเกิดขึ้นอีอเเต่.สาเหตุไม่ซ้ำกัน.จะได้ค่าชดเชยหรือเปล่าครับ
โดยคุณ มานพ นันทะสาร 3 ก.ค. 2562, 11:13

ตอบความคิดเห็นที่ 13

กรณีที่เราจะไม่ได้รับค่าชดเชยในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างเราต้องเป็นกรณีตาม มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

         (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

         (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

         (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

         (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

        หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

         (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

         (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ซึ่งกรณีดังกล่าวหากเป็นการประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนายจ้างเลิกจ้างได้เลยโดยไม่จำต้องมีหนังสือเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนตาม (3)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 12 ก.ค. 2562, 14:02

ความคิดเห็นที่ 12

ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันบริเวณหอพักพนักงาน ภายในบริเวณบริษัทฯ นอกเวลาทำงาน โดยใช้มีดยาวฟันจนได้รับบาดเจ็บสาหัส พักรักษาตัวเกิน 20 วัน โดยผู้ถูกฟันไม่มีอาวุธ นุ่งผ้าเช็คตัวมาสอบถามว่า ด่าใครว่าหมาหมู่ หน้าห้องพักของผู้ฟัน ขอสอบถามว่า คนฟันเลิกจ้างได้หรือไม่     

โดยคุณ เมธัส 5 พ.ย. 2559, 15:31

ตอบความคิดเห็นที่ 12

 หากมีการทำร้ายร่างกายนายจ้าง ก็จะเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 295,297 ย่อมเป็นการที่ลูกจ้างกระทำความผิดอาญาต่อนายจ้างซึ่งเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(1)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 18 พ.ย. 2559, 16:36

ความคิดเห็นที่ 11

 หากมีการทำร้ายร่างกายนายจ้าง ก็จะเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 295,297 ย่อมเป็นการที่ลูกจ้างกระทำความผิดอาญาต่อนายจ้างซึ่งเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(1)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 18 พ.ย. 2559, 16:36

ความคิดเห็นที่ 10

พนักงานที่ทำงานคนหนึ่งมักจะมาทำงานสาย ป่วย บ่อยครั้งมาก และมักจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างาน ทำงานมามากกว่า10ปี เป็นที่เอือมระอา พอมีหนังสือเตือนก็จะระวังตัว แต่พอสักระยะหนึ่งก็จะกลับไปทำพฤติกรรมเดิมอีก แต่ทางที่ทำงานเป็นหน่วยย่อย ฝ่ายบุคคลไม่มี ต้องรวบรวมเอกสารส่งไปสำนักงานใหญ่เพื่อดำเนินการ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ใส่ใจดำเนินการต่อ  

ตอนนี้อยากจะเสนอเลิกจ้างโดยจ่ายเงินค่าทดแทนให้ เนื่องจากมีพฤติกรรมนี้เป็นอาจิณ จะทำได้ไหม ต้องดำเนินขั้นตอนอย่างไร ฝ่ายลูกจ้างจะเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มได้หรือไม่ 

เรียนรบกวนด้วยครับ

โดยคุณ นายภานุวัธน์ พิมพิเสน 16 เม.ย. 2558, 09:00

ตอบความคิดเห็นที่ 10

กรณีการเลิกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว โดยลูกจ้างได้กระทำผิดภายในกำหนดเวลาที่หนังสือเตือนมีผลบังคับตามมาตรา 119 (4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าว

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 20 พ.ค. 2558, 14:25

ความคิดเห็นที่ 9

กรณีการเลิกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว โดยลูกจ้างได้กระทำผิดภายในกำหนดเวลาที่หนังสือเตือนมีผลบังคับตามมาตรา 119 (4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าว

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 20 พ.ค. 2558, 14:25

ความคิดเห็นที่ 8

เนื่องจากบริษัท น้ำท่วมทำให้ต้องย้ายมาทำงานที่ชลบุรีชั่วคราว  แต่บริษัทต้องหยุดทำงานของบางแผนกลง  เช่นแผนกขนส่ง  ไม่ทราบว่าบริษัทต้องทำหนังสือแจ้งพนักงานรับทราบ และต้องจ่ายเงินชดเชย 75% ใช่หรือไม่

รบกวนช่วยตอบด้วยและขอตัวอย่างหนังสือด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

แอน

โดยคุณ แอน 8 พ.ย. 2554, 08:51

ความคิดเห็นที่ 7

เพื่อคนหนึ่งทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งเป็นเวลา 6 ปีกว่าแล้ว ในตำแหน่งผู้จัดการ มาปัจจุบันมีการเปลี่ยนหัวหน้าใหม่และเพื่อนคนนี้โดนหัวหน้าใหม่กลั่นแกล้ง กดขี่ และปลดออกจากตำแหน่งผู้จัดการ ให้มาเป็นผู้ชำนาญการ และขู่ว่าจะเอาออกจากงาน ขอถามดังนี้

1. การปลดออกจากตำแหน่งผู้จัดการ มาเป็นผู้ชำนาญการ สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่

2. หากมีการเลิกจ้างและบริษัทจ่ายชดเชยให้ตามกฎหมาย สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หรืไม่ และเรียกได้เท่าไร (อายุงานเหลืออีก 10 ปี จะเกษียณ)

3. หากบริษัทบีบให้ไปทำงานที่โรงงานอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งไม่สามารถไปได้ จะสามารถฟ้องร้องอะไรได้บ้าง

โดยคุณ Kla 2 ก.ย. 2553, 11:20

ตอบความคิดเห็นที่ 7

1. เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ซึ่งหากนายจ้างปลดเพื่อนออกจากงานตำแหน่งผู้จัดการ มาเป็นผู้ชำนาญการ เพื่อย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20
2. เมื่อบริษัทเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายแล้ว หากลูกจ้างเห็นว่าบริษัทเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างได้ โดยศาลจะคำนึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและและเงินค่าชดเชนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา ตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49
3. กรณีที่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ณ สถานที่ทำงานของนายจ้างแห่งอื่น ลูกจ้างย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง และมีสิทธิเรียกค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 13 ก.ย. 2553, 17:03

ความคิดเห็นที่ 6

1. เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ซึ่งหากนายจ้างปลดเพื่อนออกจากงานตำแหน่งผู้จัดการ มาเป็นผู้ชำนาญการ เพื่อย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20
2. เมื่อบริษัทเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายแล้ว หากลูกจ้างเห็นว่าบริษัทเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างได้ โดยศาลจะคำนึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและและเงินค่าชดเชนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา ตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49
3. กรณีที่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ณ สถานที่ทำงานของนายจ้างแห่งอื่น ลูกจ้างย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง และมีสิทธิเรียกค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 13 ก.ย. 2553, 17:03

ความคิดเห็นที่ 5

เลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่นอกจากเงินชดเชยที่ได้รับแล้ว

ผมทำงานกับบริษัทฯชาวต่างชาติที่มีผู้บริหารเป็นคนไทย ทำงานมีหน้าที่ดูแลลูกค้าทางด้านการสั่งซื้อและเทคนิคที่โรงงานลูกค้าเป็นหลัก ทำงานมาได้ประมาณ 1 ปี 5 เดือน บริษัทฯ บอกเลิกจ้างโดยเข้ามาบอกก่อนเลิกงาน 30 นาที จากนั้นให้เซ็นชื่อในสัญญาเลิกจ้าง เหตุผลการเลิกจ้าง คือ เนื่องจากบริษัทขาดทุน ต้องลดจำนวนพนักงานลง เพื่อคงพนักงานส่วนใหญ่ไว้ โดยจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายครบถ้วน ซึ่งผมลงรายมือชื่อในหนังสือเลิกจ้าง และเช็คที่บริษัทฯสั่งจ่าย ได้มีการเจรจาต่อรองเรื่องค่าเสียหายเพิ่มเติมแต่ผู้บริหารคนไทยบอกว่าถ้าต้องการก็ไปฟ้องร้องเอาเอง ซึ่งผมได้เดินทางไปพบนิติกรเพื่อขอคำปรึกษาที่ศาลแรงงานแล้วบอกว่าได้ลงนามในเอกสารเลิกจ้างไปแล้ว นิติกรบอกว่าไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องได้ ถึงจะไม่ลงนามถ้ามาฟ้องร้องก็คงจะได้ไม่เกิน 1-2 เดือนของค่าจ้างสุดท้าย แต่ในความเป็นจริงบริษัทฯ ไม่ได้มีการขาดทุนสะสมอย่างที่กล่าวอ้างในเอกสารเลิกจ้าง เป็นเพียงมีกำไรลดลงเนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายเดิม แต่ในส่วนที่ผมรับผิดชอบมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2553 เป็นจำนวน ~150% ของยอดสั่งซื้อของลูกค้าที่ผมดูแลอยู่เมื่อปี 2552 นอกจากนั้นบริษัทฯ ได้มีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นอีกหลายอัตรา โดยให้พนักงานที่เข้ามาเรียนรู้งานกับผม (~ 1ปี) ดูแลลูกค้าแทนผม และให้พนักงานใหม่ดูลูกค้ารายอื่นแทนคนที่มาเรียนรู้งานกับผม ดูเหมือนว่าวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วว่าจะเลิกจ้าง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาลูกค้ารายนี้ได้มีการสั่งสินค้าจากบริษัทฯ อื่นด้วย แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ลูกค้าได้สั่งซื้อจากบริษัทฯ ผม 100% อยากได้รับคำแนะนำในข้อคำถามต่อไปนี้

1. ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่

2. ในกรณีที่ลงนามในหนังสือเลิกจ้าง จะสามารถฟ้องร้องได้หรือไม่ เพราะนิติกรที่ศาลแรงงานบอกว่าฟ้องร้องไม่ได้ เนื่องจากในหนังสือเลิกจ้างกำหนดว่าจะไม่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม แต่ผมดูไม่รอบครอบเองก่อนเซ็นชื่อ เพราะบริษัทฯ เข้ามาแจ้งด่วนก่อนเลิกงาน

3. สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมได้หรือไม่ เพราะถ้าเรื่องสามารถฟ้องร้องที่ศาลแรงงาน จะสามารถขอดูงบกำไร-ขาดทุนของบริษัทฯ ว่าเป็นตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ หรือถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าเหตุผลในการเลิกจ้างเป็นเท็จตามที่กล่าวอ้าง

4. เนื่องจากผลตอบแทนรายเดือนของผม บริษัทฯสามารถจ้างพนักงานเพิ่มเติมได้อีกหลายคนถ้าเลิกจ้างผม (3-4 คน) และบริษัทฯ ได้มีการว่าจ้างพนักงานในส่วนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วยอย่างน้อย 2 - 3 ตำแหน่ง
 

โดยคุณ วาริช 5 ก.ค. 2553, 03:09

ความคิดเห็นที่ 4

ขอให้แจ้งทาง e-nisil

โดยคุณ แก้ว 11 พ.ค. 2553, 18:24

ความคิดเห็นที่ 3

 มีคำถามที่ 

เพื่อนไม่เป็นโรดไต  หยุดอาทิตย์ละ2วัน ละลาหยุดอีกต่างหาก หัวหน้างานต้องการให้เขาออกเนื่องจากทำงานให้ไม่เต็มทีึ่

เพื่อนต้องการเงินชดเชดก่อนออกจะำได้ไหนค่ะ

โดยคุณ แก้ว 11 พ.ค. 2553, 18:22

ความคิดเห็นที่ 2

ขอแบบฟอร์มนายจ้างเลิกจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง  ที่สามารถใส่เหตุผลในการเลกจ้างด้วยนะค่ะ

โดยคุณ ฟ้า 24 มี.ค. 2553, 15:58

ตอบความคิดเห็นที่ 2

- ไม่มีแบบฟอร์มต้องให้ทนายความหรือนายจ้างร่างขึ้นมาเองค่ะ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 มี.ค. 2553, 10:03

ความคิดเห็นที่ 1

- ไม่มีแบบฟอร์มต้องให้ทนายความหรือนายจ้างร่างขึ้นมาเองค่ะ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 มี.ค. 2553, 10:03

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก