งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
การถอนชื่อผู้กู้ร่วม
ดิฉันมีปัญหาจะปรึกษาค่ะ คือดิฉันได้ซื้อบ้านไว้ ผ่อนมาประมาณ 10 ปี โดยมีผู้กู้ร่วมคือสามี โดยในโฉนดมีบันทึกสลักหลังเป็นเจ้าของร่วมกัน ดิฉันไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีลูกด้วยกัน 1 คน และปัจจุบันได้แยกทางกันแล้ว โดยสามีมีภรรยาใหม่ และการผ่อนบ้านทั้งหมดดิฉันก็ผ่อนมาคนเดียว สามีไม่ได้ช่วยเลย ดิฉันมีหลักฐานในการหักบัญชีธนาคารทุกเดือน
ตอนนี้ดิฉันต้องการให้สามีมาเซ็นต์ถอนชื่อออกจากการเป็นผู้กู้ร่วม ซึ่งสามีได้เซ็นต์ในเอกสารไว้ให้แล้ว เพราะตัวเขาเองก็รู้ตัวดีว่าไม่ได้มีส่วนช่วยในการผ่อนบ้าน แต่ทางธนาคารแจ้งว่าต้องมาเซ็นต์ยืนยันต่อหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคารเท่านั้น ดิฉันไม่สามารถจะติดต่อทางสามีได้ เพราะไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ไหน และนิสัยส่วนตัวของสามีเป็นคนเกเร ไม่ซื่อสัตย์เรื่องเงินทอง และเล่นการพนัน ดิฉันกลัวว่าจะมีปัญหาตามมา ดิฉันขอปรึกษาคือ
1. ดิฉันจะมีวิธีไหนบ้างคะที่จะเอาชื่อของสามีออกไปได้ เพราะกลัวว่าถ้าหากเขาเล่นการพนันอีก จะเกิดปัญหากับการมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านหรือเปล่า
2. สามีเคยโทรติดต่อมา โดยไม่ได้ทิ้งเบอร์ติดต่อกลับไว้ให้ว่าจะเข้ามาเอาของที่บ้าน (มีของส่วนตัวของสามีเหลืออยู่) ถ้าหากเขามาที่บ้านตอนกลางคืนหรือเวลาที่ดิฉันไม่สามารถนำตัวเขาไปเซ็นต์ที่ธนาคารได้ ดิฉันสามารถแจ้งตำรวจได้หรือเปล่าคะ เขาจะอ้างได้หรือเปล่าว่าเขาก็เป็นเจ้าของบ้านเหมือนกัน แต่เราแยกทางกันแล้ว 1 ปี พอดี (และแยกทางกันไม่ดีด้วย เพราะดิฉันก็เกือบจะถูกทำร้ายร่างกาย)
3. ไม่ทราบว่าดิฉันพอจะมีทางไหนที่จะปกป้องทรัพย์สินให้เป็นของลูกได้บ้างคะ มีบางคนบอกว่าถ้าดิฉันเสียชีวิตไป บ้านก็เป็นของสามีทั้งหมด ดิฉันสามารถทำพินัยกรรมเอาไว้ก่อนได้มั๊ย หรือมีวิธีอื่นที่จะทำได้บ้างหรือเปล่า
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
การที่คุณได้ซื้อบ้าน โดยมีผู้กู้ร่วมคือสามี โดยที่ในโฉนดได้มีบันทึกสลักหลังเป็นเจ้าของร่วมกัน ตามที่คุณกล่าวอ้างมานั้น โดยหลักตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีอิทธิพลครอบครอง เพราะฉะนั้นการที่คุณกับสามีมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดิน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า คุณกับสามี เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในบ้านนั้น ส่วนการที่คุณได้กล่าวอ้างว่า การผ่อนชำระบ้างทั้งหมด คุณผ่อนมาคนเดียว ซึ่งมีหลักฐานในการหักบัญชีของธนาคารทุกเดือน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยความเป็นเจ้าของบ้านที่ซื้อนั้น คุณก็ย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบถึงการผ่อนชำระราคาบ้านโดยลำพังของคุณต่อศาลได้ แม้กฎหมายจะสันนิษฐานว่า อดีตสามีคุณเป็นเจ้าของกรรมร่วมในบ้านหลังนั้นก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่บทสันนิษฐานเด็ดขาด ซึ่งสามารถนำสืบกันได้ ถึงความเป็นมาของความเป็นเจ้าของบ้านนั้นได้
หากคุณต้องการที่จะเอาชื่อของสามีออกไปจากโฉนดที่ดิน เพื่อป้องกันกรณีที่มีเจ้าหนี้ของสามีคุณ มายึดบ้านในฐานัที่สามีคุณเป็นเจ้าของเพื่อชำระหนี้ คุณชอบที่จะใช้สิทธิทางศาล ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนชื่อสามีคุณออกจากโฉนดได้
ส่วนการที่สามีคุณเขามีชื่อในโฉนดว่าเป็นเจ้าของร่วม ซึ่งตามกฎหมายสันนิษบานว่าสามีคุณเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ดังนี้ ตราบใดศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนซึ่งสามีคุณออกจากโฉนด เขาก็ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของบ้านร่วมอยู่ด้วยเขาจึงอ้างได้ว่าเขาเป็นเจ้าของบ้านเหมือนกัน
อนึ่ง การที่คุณจะปกป้องทรัพย์สินของคุณให้เป็นลูกนั้นคุณก็สามารถทำพินัยกรรมมอบให้ลูกของคุณแต่ผู้เดียวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 ว่าบุคคลจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ ตามสิทธิของตนอยู่แล้ว
ส่วนที่มีบางคนบอกว่า ถ้าคุณเสียชีวิตไป บ้านก็เป็นของสามีทั้งหมด ซึ่งเป็นคำบอกกล่าวที่ไม่ถูกต้อง แม้สามีคุณมีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของร่วม แต่ก็เป็นการสันนิษฐานของกฎหมาย
ซึ่งโดยหลักแล้ว หากไม่ได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เพิกถอนชื่อของสามีคุณออกจากโฉนด สามีคุณก็มีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเพียงกึ่งหนึ่งหรือครึ่งหนึ่ง ดังนั้นหากคุณเสียชีวิตไป ส่วนของคุณที่คุณมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่ง จึงตกทอดให้แก่ลูกของคุณ ซึ่งตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1) เป็นผู้สืบสันดาน และเป็นทายาทโดยธรรม ลูกคุณจึงมีสิทธิได้รับมรดกในบ้านครึ่งหนึ่งในส่วนที่เป็นของคุณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1377 ถ้าผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือทรัพย์สินต่อไปไซร้ การครอบครองย่อมสุดสิ้นลง
ถ้าเหตุอันมีสภาพเป็นเหตุชั่วคราวมีมาขัดขวางมิให้ผู้ครอบครองยึดถือทรัพย์สินไซร้ ท่านว่าการครอบครองไม่สุดสิ้นลง
มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
มาตรา 1646 บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้